ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปลาคาร์ดินัล


ปลาคาร์ดินัลเตตร้า หรือ ปลาคาร์ดินัล (อังกฤษ: Cardinal, ชื่อวิทยาศาสตร์: Paracheirodon axelrodi) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาคาราซินของอันดับปลาคาราซิน มันเป็นสัตว์ประจำถิ่นทางเหนือของแม่น้ำโอริโนโคและแม่น้ำนิโกรของอเมริกาใต้

เมื่อโตเต็มที่จะยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ลักษณะของปลาคาร์ดินัลจะมีเส้นเหลือบสีน้ำเงินสดใสอันลักษณะประจำปลาในสกุล Paracheirodon ซึ่งเป็นปลาที่มีเส้นแบ่งด้านข้าง ร่างกายส่วนร่างเส้นนี้จะเป็นสีแดงสดดังนั้นจึงได้ชื่อว่า คาร์ดินัลเตตร้า คาร์ดินัลมองดูคล้ายญาติสนิทคือ ปลานีออนเตตร้า ซึ่งมักทำให้สับสนกันเป็นประจำ อย่างไรก็ตามสีแดงของปลานีออนจะมีแค่ครึ่งหนึ่งของลำตัวและเส้นสีน้ำเงินจะเปล่งประกายน้อยกว่า

ลักษณะสะท้อนแสงของปลาชนิดนี้และปลานีออนเป็นสีทางโครงสร้างเกิดจากการสะท้อนแสงภายในผลึกguanineซึ่งพัฒนามาจากเซลล์พิเศษที่เรียกว่าiridocytesในชั้นใต้ผิวหนัง สีน้ำเงินที่มองเห็นนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับมุมที่มองถ้ามองจากล่างขึ้นบนกลายเป็นสีน้ำเงินเข้มจนกระทั่งเป็นสีคราม อย่างไรก็ตามถ้าเปลี่ยนมามองจากข้างบนตัวปลาสีก็จะกลายเป็นสีเขียว

ปลาคาร์ดินัลเป็นปลาตู้ที่คนนิยมอย่างมากแต่ว่าแพร่หลายน้อยกว่าปลานีออนเพราะว่าจนเมื่อไม่นานมานี้มันเป็นการยากที่จะเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน นักเพาะพันธุ์หลายรายก็สามารถที่จะเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว แต่ก็มีประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งในการตัดสินใจว่าเราควรซื้อปลาคาร์ดินัลที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงหรือปลาที่ครีบขาด ๆ จากการจับจากธรรมชาติ โดยปกตินักเลี้ยงปลามักซื้อปลาเพาะแต่นักวิชาการชาวบราซิลเชื่อว่านักสะสมปลาควรที่จะสนับสนุนการจับปลาคาร์ดินัลของลุ่มน้ำอเมซอนต่อไป เพราะนับตั้งแต่คนหลายพันในท้องถิ่นถูกจ้างให้จับปลาเพื่ออุตสาหกรรมปลาตู้ มันมีข้อบ่งชี้ว่าถ้าชาวประมงเหล่านั้นสูญเสียวิถีชีวิตของพวกเขาในการจับปลาคาร์ดินัลและปลาเขตร้อนอื่นๆ พวกเขาอาจกลับไปตั้งหน้าตั้งตาตัดไม้ทำลายป่าต่อ

ปลาเป็นสัตว์จำพวกที่รอบปีมีผลกับมันด้วยและช่วงชีวิตของมันจะมีเพียงแค่ปีเดียวในธรรมชาติ แต่ในที่เลี้ยงมันจะมีชีวิตอยู่ได้ถึงเจ็ดปี อุตสาหกรรมทั้งหมดที่บาร์เซลอสบนฝั่งของแม่น้ำริโอเนรโกของบราซิลที่ซึ่งชาวบ้านจับปลาสำหรับอุตสาหกรรมปลาตู้ การจับปลาคาร์ดินัลนั้นถูกประเมิณราคาไว้สูงมากโดยชาวบ้านที่สวมบทบาทเป็นผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม มันอาจกล่าวได้ว่าพวกชาวบ้านจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่มีความเป็นไปได้ที่จะทำลายธรรมชาติ เช่นการตัดไม้ทำลายป่าเพราะว่าพวกเขาสามารถเลี้ยงชีพอยู่ได้ด้วยการประมง บางทีระหว่างที่พวกเขาจับจากแหล่งกำเนิด คาร์ดินัลมีแนวโน้มว่าจะเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการจับ ในธรรมชาติปลาเหล่านี้อาศัยอยู่ในน้ำอ่อนสุดๆ มีความเป็นกรดแต่ดูเหมือนมันก็จะทนทานกับน้ำที่มีภาวะกระด้าง เป็นด่าง สิ่งที่ต้องกังวลที่สุดก็คือน้ำในตู้ที่มีมลพิษ(รวมทั้งน้ำที่มีไนเตรทในระดับสูง) พวกมันพอใจน้ำที่อุ่นสักหน่อย และยอมรับกับอาหารแห้งส่วนใหญ่ได้เร็วมาก ปลาคาร์ดินัลเพาะมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเข้ากับน้ำกระด้างได้ดีกว่าปลาคาร์ดินัลที่จับจากธรรมชาติ

P. axelrodi มักถูกเรียกว่าปลานีออนแดงอีกด้วย Cheirodon axelrodi (ชื่อดั้งเดิม)และ Hyphessobrycon cardinalisเป็นชื่อเรียกที่เลิกใช้ไปแล้ว ชื่อสามัญของมัน(คาร์ดินัลเตตร้า)มาจากการที่สีแดงแวววาวของมันชวนให้นึกถึงเสื้อคลุมยาวของพระคาร์ดินัลส่วนชื่อรองของมันตั้งให้เป็นเกียรติแก่นักสัตววิทยา Herbert R. Axelrod


การดูแลตู้ปลา

แหล่งกำเนิดของเจ้าคาร์ดินัลถูกเรียกว่าแม่น้ำแบล็ควอเตอร์ที่ซึ่งคุณสมบัติทางเคมีมีลักษณะเฉพาะทั้งการเป็นกรดและด่าง มีแร่ธาตุต่ำ มีกรดhumic แต่มันก็เป็นสายพันธุ์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพในที่เลี้ยงได้ค่อนข้างมากแม้ว่าความอ่อน ความเป็นกรดของน้ำ คุณสมบัติทางเคมีจะคลาดเคลื่อนจากแหล่งกำเนิดของมันอย่างมากซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการเพาะพันธุ์และความสมบูรณ์ จุดอุณหภูมิที่ปลาต้องการประมาณ21-28 องศาเซลเซียส และตู้ปลาก็ควรที่จะมีเครื่องกรองน้ำที่ดีเพื่อที่จะแยกของเสียออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องกรองสารอินทรีย์ที่ได้รับการยอมรับซึ่งควบคุมไนไตร ไนเตรทได้ก็จะให้ผลที่ดีกว่า และถ้าผู้เลี้ยงตั้งใจที่จะเพาะพันธุ์ก็ควรที่จะทำให้คุณสมบัติของน้ำในตู้เหมือนกับที่อยู่ตามธรรมชาติของมัน ซึ่งเครื่องกรองที่กรองผ่านหินพีทก็จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

เนื่องจากเป็นปลาที่รวมกลุ่มกันอยู่ในที่ตื้น จึงควรเลี้ยงมันไว้อย่างน้อยหกตัวขึ้นไปในตู้ อย่างไรก็ตามในธรรมชาติมันมักจะรวมกลุ่มกับปลานีออนญาติสนิทของมันดังนั้นก็สามารถเลี้ยงรวมสองชนิดนี้รวมกันได้ ตู้ที่มีน้ำวนจะกระตุ้นพฤติกรรมฝูงของมันและจะดีกว่าถ้าเลี้ยงเป็นฝูงใหญ่(ด้วยการจัดการพื้นที่และกระแสน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ)เพราะเวลามันว่ายกันเป็นฝูง ๆ คุณจะรู้สึกได้ถึงความน่าประทับใจและสวยงามอย่างประหลาด ปลาหลายชนิดได้รับอาหารสำเร็จรูปแต่ถ้าคุณจะเพาะปลาพันธุ์นี้ก็ควรให้อาหารสดบ้างอย่างเช่นไรน้ำ

ของตบแต่งตู้ก็เป็นสิ่งที่จะต้องให้ความใส่ใจ ต้นไม้น้ำจะทำหน้าที่ได้ราวกับเป็นเครื่องกรองสารอินทรีย์บวกกับการจัดการไนเตรตในตู้ การจัดสิ่งแวดล้อมให้คล้ายคลึงอย่างน้อยส่วนหนึ่งของที่อยู่ตามธรรมชาติของมันก็ทำได้ง่าย ๆ เช่นปลูกต้น Cabombaมักจะเป็นต้นไม้ที่ถูกเลือกหรือต้นอื่นอย่างเช่นต้น Amazon Swordplants และต้น Vallisneriaก็เป็นตัวเลือกที่ดีพอ ๆ กันในการจัดที่อยู่ให้เจ้าคาร์ดินัล ต้นไม้ลอยน้ำจะให้ร่มซึ่งเป็นสิ่งที่ปลาชนิดนี้ชอบซึ่งมันเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กันด้วยซึ่งปัจจุบันเป็นสิ่งที่ถูกปกปิดอยู่ ระบบนิเวศน์ที่สนับสนุนการเพาะพันธุ์ควรมีbogwoodจำนวนหนึ่ง ต้นไม้น้ำพอสมควร พื้นตู้จัดให้เป็นสีดำและแสงอ่อน ๆ ผ่านพวกไม้ลอยน้ำ กับพวกปลาขวานบินสักห้าตัวขึ้นไป คาร์ดินัลสิบห้าตัวขึ้นไปปลาออตโตและปลาแพะ(สองตัวต่อน้ำสิบแกลลอน)

ปลาคาร์ดินัลมีสีและลักษณะทางกายภาพแตกต่างกันเล็กน้อย แบบสีทองและเหลืองอมเงินอยู่ในแม่น้ำริโอเนโกรซึ่งสีน้ำเงินในริ้วทางยาวจะจางกว่า รูปแบบปกติจาก แม่น้ำริโอเนโกรสีน้ำเงินจะขยายไปจนถึงครีบหลังในขณะที่รูปแบบของแม่น้ำโอริโนโคเส้นสีน้ำเงินจะกินที่ไปจนถึงด้านหลังของครีบหลัง บางทีปลาจากแม่น้ำโอริโนโคอาจจะเป็นชนิดย่อยของปลาชนิดนี้

การเพาะพันธุ์

ในธรรมชาติปลาคาร์ดินัลจะว่ายทวนน้ำเป็นฝูงจำนวนมากไปที่ผสมพันธุ์ซึ่งบดบังด้วยป่าฝน ซึ่งจะถูกคลุมเป็นร่มเงาอย่างหนาแน่นจากต้นไม้ ดังนั้นจึงไม่มีแสงอาทิตย์มาถึงพวกมัน ที่นี่ปลาจะวางไข่เป็นกลุ่มใหญ่ ในตู้การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งก็พอสำหรับการผสมแต่การเพาะพันธุ์ไม่ได้ต้องการเพียงแค่น้ำซึ่งค่าต่าง ๆ ของน้ำตรงกับที่กล่าวมาด้านบน ตู้สำหรับการเพาะพันธุ์ยังต้องการร่มเงาอย่างมากเพื่อจำลองสภาพแสงน้อยของที่วางไข่ของมัน เมื่อปลาพร้อมที่จะวางไข่ตัวตัวผู้ซึ่งตัวจะเล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่งก็จะไล่ตามตัวเมียเข้าไปในดงไม้น้ำ ส่วนตัวเมียซึ่งตัวใหญ่กว่าและมีไข่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ก็ยอมให้ตัวผู้ว่ายอยู่ข้าง ๆ และทั้งตัวผู้และตัวเมียก็จะผสมพันธุ์กัน

นอกจากความต้องการอย่างเข้มงวดในเรื่องของค่าน้ำแล้ว อีกหนึ่งในปัญหาหลักที่ทำให้การเพาะพันธุ์ประสบผลสำเร็จน้อยลงคือตัวของไข่เอง ไข่ของปลาคาร์ดินัลไวต่อแสงมากและจะไม่ฟักถ้าสัมผัสกับแสง เพราะฉะนั้นหลังจากวางไข่ควรย้ายปลาออกจากตู้แล้วคลุมตู้ไว้เพื่อให้ไข่ได้พัฒนาในสภาพแวดล้อมที่ต้องการ

การอนุบาล

ถ้าไข่สมบูรณ์และถูกเก็บไว้ในที่มืด อุณหภูมิประมาณ 28 องศาเซลเซียส ก็จะฟักภายในเวลาประมาณสามวัน ลูกปลาจะว่ายน้ำได้แต่ยังคงแพ้แสงอย่างน้อยเจ็ดวันหลังการฟัก หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ เปิดที่คลุมเพื่อให้ปลาได้ชินกับแสง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปกรณ์ที่จำเป็น ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม

อุปกรณ์ที่จำเป็น  ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม การเลี้ยงปลาตู้นั้น        มีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อย่างมาก  อีกทั้งในปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ ในการเลี้ยงปลาตู้ให้เลือกหลากชนิด  ดังนั้นเราจึงควรไตร่ตรองและคิดให้ดีว่าอุปกรณ์ชิ้นใดจำเป็น  หรือไม่ต่อการเลี้ยงปลาตู้  การใส่อุปกรณ์หรือสิ่งประดับมากมายลงในตู้นั้นนับว่าเป็นอันตรายต่อปลาอย่างยิ่ง  เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรเน้นถึงความสวยงามในเรื่องของการประดับตู้ปลามากกว่าการมีชีวิตอยู่ของปลา  อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงควรพิจารณาก็คือ  การดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ  ให้มีประสิทธิภาพ  และ  มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน  ทั้งนี้ก็เพื่อดำรงชีวิตอยู่ของปลาที่น่ารักของเรานั่นเอง       1.  ตู้ปลา     ก่อนที่เราจะเลือกซื้อตู้ปลานั้น  เราต้องคำนึงถึงชนิดและขนาดของปลาที่จะเลี้ยงว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใด  ถ้าจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดเล็กได้  แต่ถ้าจะเลือกเลี้ยงปลาที่มีลำตัวยาวอย่างเช่นปลาอะโรวาน่าต้องใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้ปลาว่ายน้ำได้สะดวก      เมื่อซื้อตู้ปลาตามขนา

โรคของปลาสวยงาม จุดขาว

โรคจุดขาว เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับปลาสวยงามของคุณง่าย เรามารู้จักกันดีกว่า  เกิดจากปรสิตชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Ichthyophthirius multifiliis ปรสิตชนิดนี้อยู่ในกลุ่ม ciliated protozoan คือมีขนรอบๆเซลล์ของมัน เราจะเรียกชื่อโรคที่เกิดจากเชื้อตัวนี้สั้นๆ ง่ายๆว่า อิ๊ค (Ich, Ick) หรือ โรคจุดขาว (white spot disease) นั่นเองครับ เชื้ออิ๊คนี่ มีขนาดประมาณ 0.5-1 มม. เลยทีเดียว ซึ่งเป็นขนาดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าชัดเจนครับ ซึ่งระยะดังกล่าวที่มองเห็นได้นี่ เป็นระยะโตเต็มวัยของเชื้ออิ๊ค ซึ่งจะพบอยู่บนร่างกายของปลาแทบทุกส่วนเลยครับ เมื่อเราส่องกล้องดูเชื้ออิ๊ค ลักษณะเด่นที่จะระบุตัวเชื้อได้ ก็คือ เชื้อมีลักษณะกลม มีขนขนาดเล็กรอบๆเซลล์ และมีนิวเคลียส โค้งงอเป็นรูปเกือกม้า  ระยะของเชื้อมีอยู่ 3 ระยะ  1.เชื้ออิ๊คในระยะโตเต็มวัยเราเรียกว่า  Trophont  นี้จะแทรกเข้าไปอาศัยอยู่ในระหว่างชั้นเนื้อเยื่อของปลาเคราะห์ร้ายทั้งในบริเวณผิวหนัง ครีบ เหงือก ดวงตา ฯลฯ จนโตเต็มที่ ระยะเวลาที่เชื้ออิ๊คจะเกาะอยู่บนตัวปลา กินเวลาตั้งแต่ 4-40 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับอุณหภูมิน้ำ ยิ่งอุณหภูมิน้ำสูง มีแนวโน้มว่า เชื้อจะเจริญเติ

ปลาอินทรีเน็ต

อินซิกนิส ตะเพียนหางสวยจากลุ่มน้ำอะเมซอน เมื่อวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา หลายคนคงจะไปเที่ยวต่างจังหวัด จูงมือลูกๆหลานๆหรือบางคนอาจจะเกี่ยวก้อยคนรู้ใจเดินเล่นรับลมหนาวอยู่บนยอดดอย นอนดูดาวแล้วนับถอยหลังเริ่มต้นปีใหม่กันกระหนุงกระหนิง คิดแล้วผมก็อดที่จะอิจฉาไม่ได้ เพราะไม่มีโอกาสได้ทำแบบที่กล่าวมาเลยสักอย่าง วันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมาผมทำตัวเป็นกบจำศีลอยู่กับบ้านไม่อยากออกไปไหน ใครมาชวนก็ไม่ไป ไม่อยากจะบอกว่าเงินไม่มี(ฮา) แต่ก็ใช่ผมจะไม่หาที่เที่ยวเอาเลยในช่วงวันหยุดยาวๆแบบนี้ เพราะผมไปเดินเล่นที่ตลาดธนบุรีหรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า “สนามหลวง2” ไปในครั้งนี้ผมเองก็ได้ปลาติดไม้ติดมือกลับมาบ้านหลายตัวอยู่เหมือนกัน รวมถึงตู้ปลาอีกหนึ่งชุด เดินเล่นไปเรื่อยๆสบายๆเพราะว่าวันหยุดยาวๆแบบนี้ร้านค้าส่วนใหญ่จะปิดและคนมาเดินก็น้อย ไม่เบียดเสียดนี่ล่ะสวรรค์ของผม ผมเดินมาหยุดอยู่ที่ร้านขายปลาร้านหนึ่ง และกำลังเลือกซื้อปลาหมอสีตัวน้อยๆและปลาหมูลายเฆมและหมูอินโด ขณะนั้นเองหูผมก็ได้ยินเสียงลูกค้าท่านหนึ่งที่มากับภรรยาและทารกน้อย(ทารกน้อยจริงๆเพราะอายุไม่น่าจะเกินสามเดือน

ปลาสวยงาม ที่น่าเลี้ยง

ปลาสวยงาม  ที่น่าเลี้ยง  ปลาที่มีลำตัวยาวไม่เกิน  5  เซนติเมตร ปลานีออนดำ  (BLACK  NEON  TETRA)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  3  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวสีน้ำตาล  บริเวณข้างลำตัวมีแถบลายสีขาวเรืองแสง  และมีพื้นดำคาดตามลำตัวจากใต้แผ่นเหงือกยาวจรดโคนหาง  ขอบตาด้านบนสีแดง           -  ปลาตัวผู้จะมีขนาดเล็กและเพรียวกว่าตัวเมีย  และมีสีสันสดใสกว่า           -  นีออนดำเป็นปลารักสงบ  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง  ตื่นตกใจง่าย           -  ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงใหญ่  หรืออาจเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันเพื่อจะได้ไม่ถูกปลาอื่นทำร้าย ชอบอยู่ในน้ำที่ใสสะอาด  และมีพุ่มไม้น้ำหรือสาหร่ายให้แหวกว่าย           -  ชอบกินอาหารสดมากกว่าอาหารสำเร็จรูป  แต่อาหารสำเร็จรูปก็ใช้เลี้ยงได้เช่นกัน           -  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่  วางไข่ครั้งละประมาณ  200  ฟอง  ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ  1  วัน           ปลาหางนกยูง  (MILLIONS  FISH)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  4-6  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลอม

ปลารัมมี่โนส

รัมมี่โนส คนที่ตั้งชื่อปลาตัวเล็กๆหน้าตาคล้ายปลาซิวชนิดนี้ว่า “รัมมี่โนส เตตร้า” หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “รัมมี่โนส” นั้น นอกจากจะช่างคิดแล้ว ยังต้องเป็นคนรวยอารมณ์ขันแน่ๆ ทำไมน่ะหรือ? หากมองเผินๆ ปลาอย่างรัมมี่โนสดูเป็นปลาที่ไม่มีอะไรน่าสนใจ ยิ่งถ้าใครได้เห็นตอนที่เพิ่งใส่พวกมันลงไปในตู้ใหม่ๆคงต้องส่ายหัวกันทุกราย เพราะนอกจากจะไร้สีสันจนถึงขั้นจืดสนิทแล้ว ยังไม่มีจุดเด่นเอาเสียเลย แต่ถ้าลองปล่อยให้พวกมันใช้เวลาปรับตัวในตู้อีกสักหน่อย คนที่เคยเห็นในตอนแรกอาจต้องร้องด้วยความประหลาดใจว่า นี่หรือคือปลาที่ฉันเคยเห็น เพราะนอกจากส่วนหน้าที่แดงเด่นขึ้นมาผิดหูผิดตาเป็นสีเชอร์รี่สดแล้ว หางยังมีลายสีขาวสลับดำให้ดูเก๋ไก๋ไปอีกแบบ ยิ่งถ้าได้อยู่ในตู้ที่เต็มไปด้วยพรรณไม้น้ำสีเขียวชอุ่ม สีของปลาชนิดนี้ก็จะยิ่งตัดกันมากขึ้นอีกหลายเท่า ทำให้คนที่นิยมเลี้ยงพรรณไม้น้ำทั้งหลายต่างนิยมนำปลาชนิดนี้ไปเลี้ยงเพื่อเพิ่มสีสันให้กับตู้ไม้น้ำใบงามของตน ถึงแม้ปลาชนิดนี้จะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแม่น้ำเนโกรและเมตา ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของมหานทีอย่างอะเมซอนที่เข้าถึงได้ยาก แต่ปลาจำนวนมากก็ถูกรวบรวมจากธรรมชาต