ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปลาปอมปาดัวร์

ปลาปอมปาดัวร์ (Pompadour) หรือที่เรียกกันว่า Discus เป็นปลาในตระกูล Cichlid เป็นปลาที่น่าสนใจของนักเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเนื่องจากมีราคาดี สามารถส่งขายต่างประเทศได้ ตลาดรับซื้อลูกปลามีไม่จำกัด นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีสภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสมในการเพาะพันธุ์ และอาหารของปลาจากธรรมชาติ เช่น ลูกน้ำ หนอนแดง ไข่กุ้ง ก็หาได้ง่ายและมีราคาไม่แพงนัก องค์ประกอบเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาของลูกปลา เป็นสิ่งกระตุ้นทำให้มีผู้สนใจทดลองเพาะเลี้ยงกันมาก แต่โดยมากมักไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ประการที่สำคัญคือ การดูแลเอาใจใส่ มักมีคำกล่าวในหมู่นักเพาะเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์เสมอว่า การเพาะเลี้ยงปลาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับดวง ผู้เพาะเลี้ยงปลามือใหม่หรือมือสมัครเล่นมักประสบความสำเร็จระยะแรก ๆ แต่ถ้าขยายกิจการให้ใหญ่มากขึ้นมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควรหรืออาจประสบกับการขาดทุนถึงกับขายตู้ปลาไปเลยก็ได้ ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าผู้ทดลองเลี้ยงในระยะแรกซึ่งมีพ่อแม่ปลาเพียง 2-3 คู่ มักจะดูแลเอาใจใส่ด้วยตนเองเป็นอย่างดีและทั่วถึงแต่เมื่อขยายกิจการทำให้การดูแลไม่ทั่วถึงหรือให้ผู้อื่นทำแทนซึ่งขาดความระมัดระวังโดยเฉพาะเรื่องความสะอาด เนื่องจากปลาปอมปาดัวร์จัดเป็นปลาที่ต้องการความสะอาดมาก นักเพาะเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์จึงไม่นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้โดยใช้เครื่องกรองน้ำในตู้เหมือนปลาชนิดอื่นๆ แต่จะใช้วิธีการถ่ายน้ำเก่าออกแล้วเติมน้ำใหม่โดยไม่เสียดายค่าน้ำ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ปลาเจริญเติบโตได้รวดเร็วและเพาะพันธุ์ได้ผลผลิตที่คุ้มค่ากับการลงทุน

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์จัดได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญประการแรกในการเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์ ในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
ไม่ควรซื้อพ่อแม่ปลาจากร้านปลาสวยงามทั่ว ๆ ไป เนื่องจากปลาที่ซื้ออาจจะเป็นปลาแก่ที่ไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วหรือมีประสิทธิภาพในการเพาะพันธุ์ต่ำ ซึ่งโดยมากจะเป็นปลาที่ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์คัดออกแล้วขายให้แก่ร้านปลาสวยงามทั่ว ๆ ไป ควรซื้อปลาจากฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์ที่ไว้ใจได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์แล้ว
ปลาที่เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่ไม่ได้ผ่านการเร่งหรือย้อมสี เพราะฮอร์โมนที่ใช้ในการย้อมสีอาจจะมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ของปลาได้
ไม่ควรซื้อปลาขนาดใหญ่ มาเลี้ยงเพราะไม่สามารถทราบอายุที่แน่นอนและสุขภาพปลาได้ ควรซื้อปลาขนาดที่เรียกว่าขนาดเหรียญบาทซึ่งมีอายุประมาณ 1-2 เดือน มาเลี้ยงเพื่อทราบถึงชีววิทยาปลา แต่ไม่ควรซื้อปลาจากครอกเดียวกัน หรือเลือดชิดเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการเพาะพันธุ์ต่ำ เปอร์เซ็นต์การรอดต่ำ ได้ลูกปลาน้อย และลูกปลาที่ได้อาจจะพิการหรือไม่สมบูรณ์ ควรเลือกซื้อลูกปลาที่ได้จากพ่อแม่ที่มีสีสันสดใสและลวดลายชัดเจนไม่เลอะเลือน
ลูกปลาที่ซื้อควรมีลักษณะกลม บริเวณตั้งแต่จะงอยปากถึงครีบหลังควรโค้งงอ ไม่ลาดชันเป็นเส้นตรง กระโดงครีบหลังสูงและไม่หักลู่ สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน ไม่ควรเป็นสีดำหรือสีทึบ ครีบก้นยาวและลึก ครีบทุกครีบสมบูรณ์ไม่แตกหรือแหว่ง พยายามสังเกตดูลักษณะของปลาให้มีสุขภาพสมบูรณ์ ว่ายน้ำว่องไว ไม่ตกใจหรือกลัวคน มีลักษณะเชื่อง มีการตื่นตัวในการกินอาหารอยู่เสมอ ไม่เซื่องซึม ไม่เป็นโรคโดยเฉพาะไม่เลือกซื้อลูกปลาจากครอกที่มีตัวใดตัวหนึ่งแยกหลบมุมอยู่ต่างหากหรือตัวดำเพราะจะทำให้ปลาที่เลือกมาแม้จะมีสุขภาพดีแต่ก็อาจจะเป็นโรคได้ภายใน 2-3 วัน และพยายามสังเกตตาของปลา ซึ่งถ้าเป็นปลาแกร็นแล้วตาจะโปนและวงขอบตาจะมีสีดำ สีลำตัวค่อนข้างทึบออกเป็นสีเทาดำ ปลาเหล่านี้เมื่อนำมาเลี้ยงแม้ว่าจะอยู่ในสภาพดีและอาหารสมบูรณ์เพียงใดก็จะไม่โต

วิธีเพาะพันธุ์
เมื่อพ่อแม่ปลาเจริญเติบโตพร้อมที่จะผสมพันธุ์และวางไข่ได้ให้นำโดมสำหรับปลาวางไข่มาใส่ไว้ในตู้เพื่อเป็นการฝึกไม่ให้ปลาวางไข่ที่อื่นซึ่งในการเพาะพันธุ์นี้ควรคำนึงถึง
ตู้ปลา ควรวางตู้ปลาชิดและขนานกับผนังห้อง ไม่ควรวางตู้ขวางออกมาเพราะจะทำให้ปลาตกใจหรือตื่นคนง่าย ตู้ที่นิยมทำการเพาะเลี้ยง คือ ตู้ขนาด 30x20x20 นิ้ว โดยทาสีฟ้าหรือเขียวอ่อน 3 ด้าน
แสงสว่าง ในขณะทำการเพาะไม่ควรให้แสงสว่างมากควรให้แสงสว่างแต่พอควร และในบริเวณที่เพาะไม่ควรมีคนพลุกพล่านนอกจากผู้ทำการเพาะเลี้ยง ควรระมัดระวังเกี่ยวกับคนเดินผ่านตู้เพราะทำให้ปลาตกใจได้
ห้องเพาะพันธุ์ปลา ควรจะเป็นห้องที่แยกออกจากห้องเลี้ยงปลาเพราะแสงสว่างและช่วงเวลาการเปลี่ยนน้ำมักจะไม่ตรงกันจะทำให้รบกวนปลามาก ในฤดูร้อน ห้องเพาะควรมีการระบายอากาศบ้างเล็กน้อย ส่วนในฤดูหนาวควรปิดห้องเพื่อควบคุมให้มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้อยที่สุดและโดยที่ห้องเพาะส่วนใหญ่จะปิดมิดชิดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้อยจึงไม่นิยมใช้ฮีทเตอร์ในระหว่างการเพาะพันธุ์
การวางโดม ควรวางคนละมุมกับหัวพ่นฟองอากาศเพื่อป้องกันปลาตกใจและวางโดมให้ชิดผนังตู้ด้านหนึ่งเพื่อป้องกันมิให้ปลาติดหลังโดมและไม่ควรเปิดฟองอากาศให้แรงนัก
ในระหว่างการเพาะพันธุ์ ตัวเมียจะเห็นส่วนท้องอูมชัดเจน ก่อนปลาวางไข่ 3-4 วัน ปลาจะมีอาการสั่นทั้งตัวผู้และตัวเมีย ในวันที่ปลาวางไข่จะสามารถสังเกตได้โดยดูอาการทั้งตัวผู้และตัวเมียจะไม่ยอมออกห่างจากโดมและช่วยกันแทะเล็มโดมเพื่อทำความสะอาดตลอดเวลา จากนั้นตัวเมียจะวางไข่บนโดมครั้งละ 15-30 ฟอง แล้วตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อลงบนไข่แม่ปลาจะใช้เวลาในการวางไข่ประมาณ 2 ชั่วโมง วางไข่ 100-300 ฟอง ไข่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร สีเทาอมเหลือง ในบางครั้งไข่อาจจะมีสีเหลืองอมแดงเนื่องจากปลาปอมปาดัวร์ในประเทศไทยเลี้ยงด้วยไข่กุ้งทำให้มีผลต่อสีของไข่ หลังจากปลาผสมพันธุ์และวางไข่แล้วจึงใส่ยาปฏิชีวนะได้แก่ Tetracyclin อัตราส่วน 2 เม็ดต่อ 1 ตู้ ในระยะนี้ตัวผู้และตัวเมียจะว่ายวนเวียนโบกพัดน้ำไปยังไข่เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนและไม่ให้สิ่งสกปรกตกลงบนไข่ จากนั้นนำตะแกรงตาถี่ขนาดช่องตาครึ่งเซนติเมตรมาครอบลงบนโดมให้มีระยะห่างระหว่างโดมและตะแกรงประมาณ 2-3 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาย้ายไข่หรือถ้าปลาตกใจอาจจะกินไข่ได้ พร้อมกับนำตะแกรงขนาดช่องตา 1 นิ้ว กั้นแยกตัวผู้ออกจากตัวเมียและไข่ เพื่อป้องกันปลาผสมกันและวางไข่อีก ซึ่งถ้าปลาวางไข่อีกจะกินไข่ที่วางไว้ก่อนแล้วออกหมดและป้องกันการกัดกันเพราะแย่งกันเลี้ยงลูก การแยกกันนี้จะต้องแยกให้ตัวเมียอยู่ใกล้กับไข่เพราะจะทำให้ทั้งตัวเมียและตัวผู้ช่วยกันเลี้ยงลูก แต่ถ้าแยกให้ตัวเมียอยู่ด้านนอกและตัวผู้อยู่ด้านในตัวเมียจะไม่คุ้นกับลูกจะกินลูกของตัวเอง แต่ทั้งนี้การแยกต้องให้ทั้งตัวผู้และตัวเมียสามารถมองเห็นไข่ที่วางติดโดมไว้ได้เพื่อจะได้ไม่กินลูกปลา

วิธีอนุบาลลูกปลา
หลังจากแม่ปลาวางไข่ 3 วัน ลูกปลาจะฟักเป็นตัวแต่จะยังอยู่ในบริเวณเปลือกไข่ จะเห็นส่วนหางเต้นไปมา ส่วนหัวจะเป็นจุดสีดำ ในระยะนี้ลูกปลาจะไม่กินอาหารเพราะมีถุงไข่ (yolk sac) อยู่ในบริเวณท้องหลังจากนั้นอีก 3 วัน คือวันที่ 6 หลังจากเมื่อปลาวางไข่ ลูกปลาจะเริ่มว่ายน้ำมาเกาะเพื่อกินเมือกบริเวณลำตัวพ่อแม่ปลา สีของลำตัวของพ่อแม่ปลาจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นจนเกือบดำ พ่อแม่ปลาจะพยายามอมลูกปลาแล้วพ่นไปที่โดม ระยะนี้เป็นระยะที่สำคัญมาก ถ้าพ่อแม่ปลาตกใจจะกินลูกปลาเข้าไปเลย และควรระมัดระวังการให้อาหารพ่อแม่ปลา อย่าให้อาหารมากเพราะจะทำให้น้ำเสียเนื่องจากจะไม่มีการเปลี่ยนน้ำในระยะนี้
ในวันที่ 7 มีการถ่ายน้ำพร้อมกับดูดตะกอนออก ควรระมัดระวังลูกปลาจะติดไปในระหว่างดูดตะกอน ให้เหลือน้ำอยู่ประมาณครึ่งตู้เท่านั้น
ในวันที่ 8 ค่อย ๆ ดูดตะกอนและเริ่มเติมน้ำโดยใช้สายยางเล็ก ๆ หยดน้ำลงไปคล้ายกับการให้น้ำเกลือเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด โดยถ้าถ่ายน้ำตอนเช้าจะต้องเติมน้ำโดยใช้เวลา 8-10 ชั่วโมง จึงจะได้ระดับครึ่งตู้เท่ากับเมื่อวันที่ 7 (การเปลี่ยนน้ำควรเติมน้ำเท่ากับปริมาณน้ำที่มีอยู่เดิม) และเปลี่ยนน้ำเช่นนี้ต่อไปทุกวัน
ในวันที่ 13 ลูกปลาเริ่มว่ายน้ำไปมาอย่างอิสระบ้างแต่ยังกินเมือกของพ่อแม่ปลาเป็นอาหารอยู่ สามารถให้อาหารเสริมได้ คือ อาร์ทีเมียที่เพาะใหม่ ๆ หรือลูกของไรแดง
การแยกลูกไรแดงออกจากไรแดงตัวโต สามารถทำได้โดยใช้กระชอนตาถี่ที่ลูกไรสามารถลอดออกมาได้ไปช้อนไรแดงแล้วแกว่งในกะละมังที่มีน้ำอยู่ ลูกไรแดงจะหลุดออกมาอยู่ในกะละมัง แต่ไรแดงตัวโตไม่สามารถลอดออกมาได้ จากนั้นจึงใช้กระชอนตาถี่ที่เล็กกว่าขนาดลูกไรไปช้อนมาอีกทีก็จะได้แต่เฉพาะลูกไรแดงขึ้นมา การให้ลูกไรแดงควรระมัดระวังไรชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายไรแดงแต่มีเปลือกแข็งคล้ายแมลงเพราะถ้าลูกปลากินเข้าไปจะทำให้ตายได้
ในวันที่ 17 สามารถแยกแม่ปลาออกจากลูกปลาได้ในระยะนี้ และลูกปลาขนาดนี้ซึ่งเรียกว่าระยะแกะออกจากแม่หรือขนาดเม็ดแตงโมขายได้ในราคาตัวละ 7-8 บาท หรือจะเลี้ยงต่อไปจนอายุ 1 เดือน จนถึงขนาดเหรียญบาทซึ่งมีราคาตัวละ 20-30 บาท ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการของตลาด ในระยะนี้ควรหัดให้ลูกปลากินไข่กุ้งเพื่อเป็นการเร่งสีซึ่งจะทำให้ปลามีสีแดงขึ้นและขายได้ง่ายขึ้น
พ่อแม่ปลาที่แยกออกจากลูกปลาในระยะที่ลูกปลามีอายุ 17 วันนั้นจะผสมพันธุ์และวางไข่ได้อีกโดยใช้เวลาพักตัวประมาณ 1 อาทิตย์ ในระยะพักตัวนี้ควรให้อาหารเสริมจำพวกวิตามิน E, K หรือวิตามินรวม เนื่องจากในระยะเลี้ยงลูกปลาเราต้องใส่ยาปฏิชีวนะตลอดเวลาเพื่อป้องกันโรคทำให้ปลาขาดวิตามิน E, K ซึ่งอาจทำให้ปลาตัวผู้นี้มีโอกาสเป็นหมันอย่างถาวร และตัวเมียเป็นหมันชั่วคราวได้ โดยใส่วิตามิน E, K หรือวิตามินรวมลงไปในอาหารและแช่ทิ้งไว้ก่อนให้ประมาณ 20 นาที
ในบางครั้งเมื่อเพาะปลาจะประสบกับปัญหาไข่เสียไม่ฟักเป็นตัวซึ่งมีสาเหตุอาจเนื่องจากตัวผู้มีน้ำเชื้อไม่ดีเพราะเพาะพันธุ์ถี่เกินไป หรือเพราะน้ำมีคลอรีน ผู้เพาะเลี้ยงปลาบางรายจึงมีปลาตัวผู้หลายตัวไว้สับเปลี่ยนกัน แต่ถ้าสับเปลี่ยนตัวผู้แล้วไข่ยังเสียติดต่อกัน 4-5 ครั้ง หรือเมื่อตัวเมียวางไข่แล้วไข่หลุดออกจากโดมก็ควรพักพ่อแม่ปลาอย่างน้อย 1 เดือน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปกรณ์ที่จำเป็น ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม

อุปกรณ์ที่จำเป็น  ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม การเลี้ยงปลาตู้นั้น        มีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อย่างมาก  อีกทั้งในปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ ในการเลี้ยงปลาตู้ให้เลือกหลากชนิด  ดังนั้นเราจึงควรไตร่ตรองและคิดให้ดีว่าอุปกรณ์ชิ้นใดจำเป็น  หรือไม่ต่อการเลี้ยงปลาตู้  การใส่อุปกรณ์หรือสิ่งประดับมากมายลงในตู้นั้นนับว่าเป็นอันตรายต่อปลาอย่างยิ่ง  เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรเน้นถึงความสวยงามในเรื่องของการประดับตู้ปลามากกว่าการมีชีวิตอยู่ของปลา  อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงควรพิจารณาก็คือ  การดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ  ให้มีประสิทธิภาพ  และ  มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน  ทั้งนี้ก็เพื่อดำรงชีวิตอยู่ของปลาที่น่ารักของเรานั่นเอง       1.  ตู้ปลา     ก่อนที่เราจะเลือกซื้อตู้ปลานั้น  เราต้องคำนึงถึงชนิดและขนาดของปลาที่จะเลี้ยงว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใด  ถ้าจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดเล็กได้  แต่ถ้าจะเลือกเลี้ยงปลาที่มีลำตัวยาวอย่างเช่นปลาอะโรวาน่าต้องใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้ปลาว่ายน้ำได้สะดวก      เมื่อซื้อตู้ปลาตามขนา

โรคของปลาสวยงาม จุดขาว

โรคจุดขาว เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับปลาสวยงามของคุณง่าย เรามารู้จักกันดีกว่า  เกิดจากปรสิตชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Ichthyophthirius multifiliis ปรสิตชนิดนี้อยู่ในกลุ่ม ciliated protozoan คือมีขนรอบๆเซลล์ของมัน เราจะเรียกชื่อโรคที่เกิดจากเชื้อตัวนี้สั้นๆ ง่ายๆว่า อิ๊ค (Ich, Ick) หรือ โรคจุดขาว (white spot disease) นั่นเองครับ เชื้ออิ๊คนี่ มีขนาดประมาณ 0.5-1 มม. เลยทีเดียว ซึ่งเป็นขนาดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าชัดเจนครับ ซึ่งระยะดังกล่าวที่มองเห็นได้นี่ เป็นระยะโตเต็มวัยของเชื้ออิ๊ค ซึ่งจะพบอยู่บนร่างกายของปลาแทบทุกส่วนเลยครับ เมื่อเราส่องกล้องดูเชื้ออิ๊ค ลักษณะเด่นที่จะระบุตัวเชื้อได้ ก็คือ เชื้อมีลักษณะกลม มีขนขนาดเล็กรอบๆเซลล์ และมีนิวเคลียส โค้งงอเป็นรูปเกือกม้า  ระยะของเชื้อมีอยู่ 3 ระยะ  1.เชื้ออิ๊คในระยะโตเต็มวัยเราเรียกว่า  Trophont  นี้จะแทรกเข้าไปอาศัยอยู่ในระหว่างชั้นเนื้อเยื่อของปลาเคราะห์ร้ายทั้งในบริเวณผิวหนัง ครีบ เหงือก ดวงตา ฯลฯ จนโตเต็มที่ ระยะเวลาที่เชื้ออิ๊คจะเกาะอยู่บนตัวปลา กินเวลาตั้งแต่ 4-40 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับอุณหภูมิน้ำ ยิ่งอุณหภูมิน้ำสูง มีแนวโน้มว่า เชื้อจะเจริญเติ

ปลาอินทรีเน็ต

อินซิกนิส ตะเพียนหางสวยจากลุ่มน้ำอะเมซอน เมื่อวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา หลายคนคงจะไปเที่ยวต่างจังหวัด จูงมือลูกๆหลานๆหรือบางคนอาจจะเกี่ยวก้อยคนรู้ใจเดินเล่นรับลมหนาวอยู่บนยอดดอย นอนดูดาวแล้วนับถอยหลังเริ่มต้นปีใหม่กันกระหนุงกระหนิง คิดแล้วผมก็อดที่จะอิจฉาไม่ได้ เพราะไม่มีโอกาสได้ทำแบบที่กล่าวมาเลยสักอย่าง วันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมาผมทำตัวเป็นกบจำศีลอยู่กับบ้านไม่อยากออกไปไหน ใครมาชวนก็ไม่ไป ไม่อยากจะบอกว่าเงินไม่มี(ฮา) แต่ก็ใช่ผมจะไม่หาที่เที่ยวเอาเลยในช่วงวันหยุดยาวๆแบบนี้ เพราะผมไปเดินเล่นที่ตลาดธนบุรีหรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า “สนามหลวง2” ไปในครั้งนี้ผมเองก็ได้ปลาติดไม้ติดมือกลับมาบ้านหลายตัวอยู่เหมือนกัน รวมถึงตู้ปลาอีกหนึ่งชุด เดินเล่นไปเรื่อยๆสบายๆเพราะว่าวันหยุดยาวๆแบบนี้ร้านค้าส่วนใหญ่จะปิดและคนมาเดินก็น้อย ไม่เบียดเสียดนี่ล่ะสวรรค์ของผม ผมเดินมาหยุดอยู่ที่ร้านขายปลาร้านหนึ่ง และกำลังเลือกซื้อปลาหมอสีตัวน้อยๆและปลาหมูลายเฆมและหมูอินโด ขณะนั้นเองหูผมก็ได้ยินเสียงลูกค้าท่านหนึ่งที่มากับภรรยาและทารกน้อย(ทารกน้อยจริงๆเพราะอายุไม่น่าจะเกินสามเดือน

ปลาสวยงาม ที่น่าเลี้ยง

ปลาสวยงาม  ที่น่าเลี้ยง  ปลาที่มีลำตัวยาวไม่เกิน  5  เซนติเมตร ปลานีออนดำ  (BLACK  NEON  TETRA)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  3  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวสีน้ำตาล  บริเวณข้างลำตัวมีแถบลายสีขาวเรืองแสง  และมีพื้นดำคาดตามลำตัวจากใต้แผ่นเหงือกยาวจรดโคนหาง  ขอบตาด้านบนสีแดง           -  ปลาตัวผู้จะมีขนาดเล็กและเพรียวกว่าตัวเมีย  และมีสีสันสดใสกว่า           -  นีออนดำเป็นปลารักสงบ  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง  ตื่นตกใจง่าย           -  ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงใหญ่  หรืออาจเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันเพื่อจะได้ไม่ถูกปลาอื่นทำร้าย ชอบอยู่ในน้ำที่ใสสะอาด  และมีพุ่มไม้น้ำหรือสาหร่ายให้แหวกว่าย           -  ชอบกินอาหารสดมากกว่าอาหารสำเร็จรูป  แต่อาหารสำเร็จรูปก็ใช้เลี้ยงได้เช่นกัน           -  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่  วางไข่ครั้งละประมาณ  200  ฟอง  ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ  1  วัน           ปลาหางนกยูง  (MILLIONS  FISH)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  4-6  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลอม

ปลารัมมี่โนส

รัมมี่โนส คนที่ตั้งชื่อปลาตัวเล็กๆหน้าตาคล้ายปลาซิวชนิดนี้ว่า “รัมมี่โนส เตตร้า” หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “รัมมี่โนส” นั้น นอกจากจะช่างคิดแล้ว ยังต้องเป็นคนรวยอารมณ์ขันแน่ๆ ทำไมน่ะหรือ? หากมองเผินๆ ปลาอย่างรัมมี่โนสดูเป็นปลาที่ไม่มีอะไรน่าสนใจ ยิ่งถ้าใครได้เห็นตอนที่เพิ่งใส่พวกมันลงไปในตู้ใหม่ๆคงต้องส่ายหัวกันทุกราย เพราะนอกจากจะไร้สีสันจนถึงขั้นจืดสนิทแล้ว ยังไม่มีจุดเด่นเอาเสียเลย แต่ถ้าลองปล่อยให้พวกมันใช้เวลาปรับตัวในตู้อีกสักหน่อย คนที่เคยเห็นในตอนแรกอาจต้องร้องด้วยความประหลาดใจว่า นี่หรือคือปลาที่ฉันเคยเห็น เพราะนอกจากส่วนหน้าที่แดงเด่นขึ้นมาผิดหูผิดตาเป็นสีเชอร์รี่สดแล้ว หางยังมีลายสีขาวสลับดำให้ดูเก๋ไก๋ไปอีกแบบ ยิ่งถ้าได้อยู่ในตู้ที่เต็มไปด้วยพรรณไม้น้ำสีเขียวชอุ่ม สีของปลาชนิดนี้ก็จะยิ่งตัดกันมากขึ้นอีกหลายเท่า ทำให้คนที่นิยมเลี้ยงพรรณไม้น้ำทั้งหลายต่างนิยมนำปลาชนิดนี้ไปเลี้ยงเพื่อเพิ่มสีสันให้กับตู้ไม้น้ำใบงามของตน ถึงแม้ปลาชนิดนี้จะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแม่น้ำเนโกรและเมตา ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของมหานทีอย่างอะเมซอนที่เข้าถึงได้ยาก แต่ปลาจำนวนมากก็ถูกรวบรวมจากธรรมชาต