ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปลาสวยงาม ที่น่าเลี้ยง

ปลาสวยงาม  ที่น่าเลี้ยง


 ปลาที่มีลำตัวยาวไม่เกิน  5  เซนติเมตร



ปลานีออนดำ  (BLACK  NEON  TETRA)
          -  มีลำตัวยาวประมาณ  3  เซนติเมตร
          -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวสีน้ำตาล  บริเวณข้างลำตัวมีแถบลายสีขาวเรืองแสง  และมีพื้นดำคาดตามลำตัวจากใต้แผ่นเหงือกยาวจรดโคนหาง  ขอบตาด้านบนสีแดง
          -  ปลาตัวผู้จะมีขนาดเล็กและเพรียวกว่าตัวเมีย  และมีสีสันสดใสกว่า
          -  นีออนดำเป็นปลารักสงบ  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง  ตื่นตกใจง่าย
          -  ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงใหญ่  หรืออาจเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันเพื่อจะได้ไม่ถูกปลาอื่นทำร้าย
ชอบอยู่ในน้ำที่ใสสะอาด  และมีพุ่มไม้น้ำหรือสาหร่ายให้แหวกว่าย
          -  ชอบกินอาหารสดมากกว่าอาหารสำเร็จรูป  แต่อาหารสำเร็จรูปก็ใช้เลี้ยงได้เช่นกัน
          -  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่  วางไข่ครั้งละประมาณ  200  ฟอง  ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ  1  วัน

          ปลาหางนกยูง  (MILLIONS  FISH)
          -  มีลำตัวยาวประมาณ  4-6  เซนติเมตร
          -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียวหรือเทา  เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด  หางมีขนาดใหญ่  ลวดลายบนตัวและหางมีสีสันสวยงามมาก
          -   ปลาตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าปลาตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด  สีสันบนลำตัวและหางจะเข้มสดกว่าปลาตัวเมียมาก
          -   เป็นปลาที่นิสัยก้าวร้าว  ชอบกัด  และทำร้ายกันเสมอ  โดยเฉพาะชอบต่อสู้กันเองเพื่อแย่งชิงตัวเมีย  เป็นปลาที่ไม่ค่อยชอบอยู่นิ่งกับที่
          -  ปลาชนิดนี้ค่อนข้างเลี้ยงง่าย  สามารถเลี้ยงรวมกับปลาทุกชนิดยกเว้นปลาที่กินปลาเล็กเป็นอาหาร
          -  กินอาหารได้ทุกชนิด  ทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป
          -  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการออกลูกเป็นตัว  ปลาตัวผู้จะใช้อวัยวะเพศวึ่งอยู่ใต้ครีบท้อง  สอดใส่เข้าในอวัยวะเพศของปลาตัวเมียเพื่อฉีดน้ำเชื้อ  ภายหลังจากปลาตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์เป็นเวลา  4  สัปดาห์จึงจะออกลูก  ปลาตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวจะสามารถออกลูกติดต่อกันได้  4-6  ครอกโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการผสมพันธุ์จากปลาตัวผู้อีก

ปลาแคลลิสตัส  (CALLISTUS  TETRA)
          -  มีลำตัวยาวประมาณ  4  เซนติเมตร
          -  ลำตัวแบนข้าง  พื้นลำตัวสีน้ำตาลโปร่งแสง  ลำตัวและหางปลายครีบหลังมีแถบปื้นสีดำเห็นเด่นชัด  โคนหาง  ครีบทวาร  และครีบท้องแซมด้วยสีแดงจาง ๆ  เป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาเซอร์เป้มาก
          -  ปลาตัวผู้จะมีรูปร่างเพรียวบาง  และมีขนาดเล็กกว่าปลาตัวเมียเล็กน้อย  รักสงบ  มีความว่องไว  ปราดเปรียว  ชอบอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณพุ่มไม้น้ำ  มักพบอาศัยในแหล่งน้ำที่สะอาดและระดับความลึกไม่มากนัก
          -  ควรเลี้ยงรวมกันเป็นฝูง  สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้แต่ไม่ควรเลี้ยงร่วมกับปลาที่มีนิสัยดุก้าวร้าว  หรือเลี้ยงรวมกับปลาใหญ่ที่กินปลาเล็กเป็นอาหาร  ภายในตู้ที่เลี้ยงควรจะปลูกสาหร่ายหรือไม้น้ำด้วย
          -  กินได้ทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป
          -  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่เกาะติดตามก้อนหิน  หรือไม้น้ำ  ไข่จะฟักเป็นตัวใน  24  ชั่วโมง  การผสมพันธุ์ควรใช้วิธีผสมพันธุ์หมู่

ปลาไวท์คลาวด์  (WHITE  CLOUD  MOUNTAIN  MINNOW)
          -  มีลำตัวยาวประมาณ  4  เซนติเมตร
          -  ลำตัวเพรียวยาวและแบน  ข้างพื้นลำตัวมีสีเงิน  แผ่นหลังสีเหลืองมะกอก  มีแถบสีฟ้าเขียวสลับชมพูคาดตามความยาวลำตัว  ครีบและหางมีสีแดงส้ม  ปลายครีบมีสีขาว  เกล็ดมีขนาดเล็กเป็นเงาแวววาวสะท้อนแสง
          -  ปลาตัวผู้มีลำตัวค่อนข้างเล็กกว่าปลาตัวเมีย
          -  นิสัยรักสงบ  ชอบอยู่ร่วมกันเป็นฝูงตามห้วยลำธาร  น้ำตก  ชอบน้ำใสสะอาด  โดยปกติจะเกาะกลุ่มว่ายน้ำตลอดเวลา  ไม่ชอบแสงจ้ามากนัก
          -  ปลาชนิดนี้หากเลี้ยงเพียงไม่กี่ตัวจะตื่นตกใจง่าย  และมักมีวงจรชีวิตสั้นกว่าที่ควร  จึงควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงใหญ่  สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีขนาดไล่เลี่ยกันหรือเล็กกว่า  ภายในตู้ที่เลี้ยงควรปลูกไม้น้ำเพื่อให้ปลาสามารถแหวกว่ายเล่น
          -  กินได้ทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป
          -  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่เกาะติดอยู่ตามใบสาหร่ายหรือรากไม้น้ำ  จัดว่าเป็นปลาที่แพร่พันธุ์ได้ง่าย  และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก  การผสมพันธุ์ควรใช้วิธีการผสมพันธุ์หมู่จะได้ผลดีที่สุด

ปลากริม  (PYGMY  GOURAMI)
          -  มีลำตัวยาวประมาณ  4  เซนติเมตร
          -  ลำตัวเรียวยาว  แบนข้าง  มีปากขนาดเล็ก  พื้นลำตัวสีเขียวอมน้ำตาล  เกล็ดข้างลำตัวมีสีเขียว  แวววาวสะท้อนแสง  ข้างลำตัวมีแถบสีน้ำตาลคาดตามความยาว  1  แถบ  เหนือแถบสีน้ำตาลมีจุดสีน้ำตาลขนาดใหญ่ประกระจายเรียงเป็นแถว  ครีบมีลักษณะโปร่งใส  และมีจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วปลายหางมน  ตรงกลางยื่นยาวเล็กน้อย  ปลายขอบครีบมีสีแดงสดใส  ตัวผู้จะมีสีสันเข้มกว่าตัวเมีย
          -  ค่อนข้างก้าวร้าว  มักต่อสู้ทำร้ายกันเองเสมอ  แต่ไม่รุนแรงเหมือนกับปลากัด  ปกติชอบอยู่รวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำตื้น ๆ  มักว่ายลอยตัวนิ่ง ๆ  อยู่ใกล้ระดับผิวน้ำ
          -  ปลากริมสามารถนำไปเลี้ยงรวมกับปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า  หรือปลาที่มีความว่องไวปราดเปรียวกว่า  แต่ต้องใหญ่กว่าไม่มากเพราะถ้าใหญ่กว่ามากอาจตกเป็นเหยื่อของปลาอื่น  เป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษที่ช่วยให้สามารถหายใจทางปากด้วยการฮุบอากาศเหนือผิวน้ำโดยตรง  ไม่ต้องกรองผ่านช่องเหงือก  ดังนั้นจึงสามารถดำรงชีพอยู่ได้ในน้ำสกปรก หรือในที่แคบ ๆ  เป็นเวลานาน
          -  กินได้ทั้งอาหารสดและสำเร็จรูป
          -  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่  ก่อหวอดใต้ร่มไม้  ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวไม่เกิน  2  วัน  ในช่วงที่ไข่ยังไม่ฟักเป็นตัว  ตัวผู้จะทำหน้าที่เฝ้าไข่โดยไม่ยอมให้ตัวเมียเข้าใกล้ไข่เลย

ปลาซิวดอกแก้ว  (CHULABHORN  RASBORA)
          -  มีลำตัวยาวประมาณ  4  เซนติเมตร
          -  ลำตัวเรียวและแบนข้างเหมือนปลาซิวทั่วไป  แต่ส่วนหัวจะใหญ่และป้อมสั้นกว่าเล็กน้อย  ลำตัวค่อนไปทางโปร่งใส  ออกสีเหลืองอมน้ำตาล  มีแถบสีทองและสีเทาจาง ๆ  คาดขนาดกลางลำตัว  ตามความยาวจากหลังเหงือกจรดโคนหาง  มีดวงตาขนาดใหญ่  เหงือกและท้องสีเงินแวววาว  ส่วนหัวด้านบนเป็นสีเหลืองทองมีครีบทั้งหมด  7  ครีบ  ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึกตรงกลาง  มีความว่องไวปราดเปรียว
          -  ปลาตัวเมียท้องจะกลมและอูมเป่งกว่าตัวผู้  ส่วนตัวผู้รูปร่างจะเพรียวบางและเล็กกว่าตัวเมีย
          -  เป็นปลาที่รักสงบ  ตกใจง่าย  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตามแหล่งน้ำตื้นในธรรมชาติ  มักลอยตัวอยู่ใกล้ผิวน้ำเพื่อคอยดักจับแมลง  และตัวอ่อนของแมลงกินเป็นอาหาร
          -  ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า  โดยเฉพาะกับปลาที่มีนิสัยก้าวร้าวและกินปลาเล็กเป็นอาหาร  ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงเพื่อปลาจะได้ไม่เครียดหรือตกใจง่าย  ภายในตู้ควรตกแต่งด้วยไม้น้ำหรือสาหร่ายเพื่อให้ปลาได้แหวกว่าย  และใช้เป็นที่กำบังตัว  ตู้ควรมีฝาครอบมิดชิดเพื่อกันปลากระโดด
          -  กินได้ทั้งอาหารสดและสำเร็จรูป

ปลาเซอร์เป้  (SERPAE  TETRA)
          -  มีลำตัวยาวประมาณ  4.5  เซนติเมตร
          -  ลำตัวมีลักษณะลึกและแบนข้าง  พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลอมแดง  ครีบหลังและครีบท้องมีสีดำ  ปลายครีบสีขาว  ลำตัวมีจุดสีดำแต้มอยู่ข้างละ  1  จุด  เกล็ดมีขนาดเล็ก  เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไว
          -  ปลาตัวผู้จะมีสีเข้มสดกว่าปลาตัวเมีย  และมีรูปร่างเพรียวบางกว่า  ครีบหลังของปลาตัวผู้จะยื่นยาวกว่าตัวเมียเล็กน้อย
          -  ปลาเซอร์เป้เป็นปลารักสงบ  จะก้าวร้าวเฉพาะกับพวกเดียวกันเอง  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ในห้วยลำธารที่มีน้ำใสสะอาดและแสงสว่างไม่มากนัก
          -  ควรเลี้ยงรวมกันเป็นฝูง  แต่อย่าเลี้ยงรวมกับปลาที่มีนะสัยดุร้ายก้าวร้าว  เพราะจะถูกปลาอื่นรังแกจนถึงตายได้  ภายในที่เลี้ยงควรปลูกสาหร่ายให้หนาแน่น
          -  กินทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป
          -  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่เกาะติดสาหร่าย  หรือโขดหินใต้น้ำ  ไข่ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ  24  ชั่วโมง  การเพาะพันธุ์โดยการใช้วิธีการผสมพันธุ์หมู่เป็นวิธีที่ให้ผลดีมากที่สุด  ภายหลังปลาวางไข่แล้ว  ให้ตักพ่อแม่ปลาออก  เพราะมิเช่นนั้น  ปลาจะกินไข่ของตนเอง

ปลาโกลไล้ท์  (GLOWLIGHT  TETRA)
          -  ลำตัวมีความยาวประมาณ  4.5  เซนติเมตร
          -  ลำตัวเพรียวและแบนข้างเล็กน้อย  ลำตัวมีลักษณะโปร่งใสขอบเกล็ดมีสีดำแลดูเหมือนหุ้มด้วยตาข่าย  แผ่นหลัง  มีสีน้ำตาลอมเขียว  กลางลำตัวมีสีแดงคาดเป็นเส้นยาวจากส่วนหัวจรดโคนหาง  เกล็ดมีขนาดเล็ก  เป็นปลาที่มีความว่องไวปราดเปรียว
          -  ปลาตัวผู้จะมีลัษณะเพรียวบาง  และมีขนาดเล็กกว่าปลาตัวเมียเล็กน้อย
          -  รักสงบ  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่  ว่ายน้ำตลอดเวลา  ในธรรมชาติ  จะอาศัยอยู่ตามห้วยลำธารที่มีน้ำใสสะอาด  และมีระดับความลึกของน้ำไม่มากนัก  ไม่ชอบแสงสว่างจ้ามาก
          -  ควรเลี้ยงรวมกันเป็นฝูง  หรือเลี้ยงรวมกับปลาในสกุลเดียวกัน  เพราะปลาสกุลนี้จะอยู่ร่วมกันโดยสันติ  ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาที่มีนิสัยดุร้ายหรือก้าวร้าว  หรือปลาที่กินปลาอื่นเป็นอาหาร
          -  กินอาหารได้ทั้งอาหารสดและสำเร็จรูป
          -  แพร่พันธุ์โดยการวางไข่เกาะติดตามพุ่มสาหร่าย  หรือรากไม้น้ำจำนวนไข่ที่ออกมาในแต่ละครอกอยู่ในช่วงประมาณ  100-200  ฟอง  ไข่จะฟักเป็นตัวใน  24  ชั่วโมง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปกรณ์ที่จำเป็น ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม

อุปกรณ์ที่จำเป็น  ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม การเลี้ยงปลาตู้นั้น        มีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อย่างมาก  อีกทั้งในปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ ในการเลี้ยงปลาตู้ให้เลือกหลากชนิด  ดังนั้นเราจึงควรไตร่ตรองและคิดให้ดีว่าอุปกรณ์ชิ้นใดจำเป็น  หรือไม่ต่อการเลี้ยงปลาตู้  การใส่อุปกรณ์หรือสิ่งประดับมากมายลงในตู้นั้นนับว่าเป็นอันตรายต่อปลาอย่างยิ่ง  เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรเน้นถึงความสวยงามในเรื่องของการประดับตู้ปลามากกว่าการมีชีวิตอยู่ของปลา  อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงควรพิจารณาก็คือ  การดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ  ให้มีประสิทธิภาพ  และ  มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน  ทั้งนี้ก็เพื่อดำรงชีวิตอยู่ของปลาที่น่ารักของเรานั่นเอง       1.  ตู้ปลา     ก่อนที่เราจะเลือกซื้อตู้ปลานั้น  เราต้องคำนึงถึงชนิดและขนาดของปลาที่จะเลี้ยงว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใด  ถ้าจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดเล็กได้  แต่ถ้าจะเลือกเลี้ยงปลาที่มีลำตัวยาวอย่างเช่นปลาอะโรวาน่าต้องใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้ปลาว่ายน้ำได้สะดวก      เมื่อซื้อตู้ปลาตามขนา

โรคของปลาสวยงาม จุดขาว

โรคจุดขาว เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับปลาสวยงามของคุณง่าย เรามารู้จักกันดีกว่า  เกิดจากปรสิตชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Ichthyophthirius multifiliis ปรสิตชนิดนี้อยู่ในกลุ่ม ciliated protozoan คือมีขนรอบๆเซลล์ของมัน เราจะเรียกชื่อโรคที่เกิดจากเชื้อตัวนี้สั้นๆ ง่ายๆว่า อิ๊ค (Ich, Ick) หรือ โรคจุดขาว (white spot disease) นั่นเองครับ เชื้ออิ๊คนี่ มีขนาดประมาณ 0.5-1 มม. เลยทีเดียว ซึ่งเป็นขนาดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าชัดเจนครับ ซึ่งระยะดังกล่าวที่มองเห็นได้นี่ เป็นระยะโตเต็มวัยของเชื้ออิ๊ค ซึ่งจะพบอยู่บนร่างกายของปลาแทบทุกส่วนเลยครับ เมื่อเราส่องกล้องดูเชื้ออิ๊ค ลักษณะเด่นที่จะระบุตัวเชื้อได้ ก็คือ เชื้อมีลักษณะกลม มีขนขนาดเล็กรอบๆเซลล์ และมีนิวเคลียส โค้งงอเป็นรูปเกือกม้า  ระยะของเชื้อมีอยู่ 3 ระยะ  1.เชื้ออิ๊คในระยะโตเต็มวัยเราเรียกว่า  Trophont  นี้จะแทรกเข้าไปอาศัยอยู่ในระหว่างชั้นเนื้อเยื่อของปลาเคราะห์ร้ายทั้งในบริเวณผิวหนัง ครีบ เหงือก ดวงตา ฯลฯ จนโตเต็มที่ ระยะเวลาที่เชื้ออิ๊คจะเกาะอยู่บนตัวปลา กินเวลาตั้งแต่ 4-40 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับอุณหภูมิน้ำ ยิ่งอุณหภูมิน้ำสูง มีแนวโน้มว่า เชื้อจะเจริญเติ

ปลาอินทรีเน็ต

อินซิกนิส ตะเพียนหางสวยจากลุ่มน้ำอะเมซอน เมื่อวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา หลายคนคงจะไปเที่ยวต่างจังหวัด จูงมือลูกๆหลานๆหรือบางคนอาจจะเกี่ยวก้อยคนรู้ใจเดินเล่นรับลมหนาวอยู่บนยอดดอย นอนดูดาวแล้วนับถอยหลังเริ่มต้นปีใหม่กันกระหนุงกระหนิง คิดแล้วผมก็อดที่จะอิจฉาไม่ได้ เพราะไม่มีโอกาสได้ทำแบบที่กล่าวมาเลยสักอย่าง วันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมาผมทำตัวเป็นกบจำศีลอยู่กับบ้านไม่อยากออกไปไหน ใครมาชวนก็ไม่ไป ไม่อยากจะบอกว่าเงินไม่มี(ฮา) แต่ก็ใช่ผมจะไม่หาที่เที่ยวเอาเลยในช่วงวันหยุดยาวๆแบบนี้ เพราะผมไปเดินเล่นที่ตลาดธนบุรีหรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า “สนามหลวง2” ไปในครั้งนี้ผมเองก็ได้ปลาติดไม้ติดมือกลับมาบ้านหลายตัวอยู่เหมือนกัน รวมถึงตู้ปลาอีกหนึ่งชุด เดินเล่นไปเรื่อยๆสบายๆเพราะว่าวันหยุดยาวๆแบบนี้ร้านค้าส่วนใหญ่จะปิดและคนมาเดินก็น้อย ไม่เบียดเสียดนี่ล่ะสวรรค์ของผม ผมเดินมาหยุดอยู่ที่ร้านขายปลาร้านหนึ่ง และกำลังเลือกซื้อปลาหมอสีตัวน้อยๆและปลาหมูลายเฆมและหมูอินโด ขณะนั้นเองหูผมก็ได้ยินเสียงลูกค้าท่านหนึ่งที่มากับภรรยาและทารกน้อย(ทารกน้อยจริงๆเพราะอายุไม่น่าจะเกินสามเดือน

ปลารัมมี่โนส

รัมมี่โนส คนที่ตั้งชื่อปลาตัวเล็กๆหน้าตาคล้ายปลาซิวชนิดนี้ว่า “รัมมี่โนส เตตร้า” หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “รัมมี่โนส” นั้น นอกจากจะช่างคิดแล้ว ยังต้องเป็นคนรวยอารมณ์ขันแน่ๆ ทำไมน่ะหรือ? หากมองเผินๆ ปลาอย่างรัมมี่โนสดูเป็นปลาที่ไม่มีอะไรน่าสนใจ ยิ่งถ้าใครได้เห็นตอนที่เพิ่งใส่พวกมันลงไปในตู้ใหม่ๆคงต้องส่ายหัวกันทุกราย เพราะนอกจากจะไร้สีสันจนถึงขั้นจืดสนิทแล้ว ยังไม่มีจุดเด่นเอาเสียเลย แต่ถ้าลองปล่อยให้พวกมันใช้เวลาปรับตัวในตู้อีกสักหน่อย คนที่เคยเห็นในตอนแรกอาจต้องร้องด้วยความประหลาดใจว่า นี่หรือคือปลาที่ฉันเคยเห็น เพราะนอกจากส่วนหน้าที่แดงเด่นขึ้นมาผิดหูผิดตาเป็นสีเชอร์รี่สดแล้ว หางยังมีลายสีขาวสลับดำให้ดูเก๋ไก๋ไปอีกแบบ ยิ่งถ้าได้อยู่ในตู้ที่เต็มไปด้วยพรรณไม้น้ำสีเขียวชอุ่ม สีของปลาชนิดนี้ก็จะยิ่งตัดกันมากขึ้นอีกหลายเท่า ทำให้คนที่นิยมเลี้ยงพรรณไม้น้ำทั้งหลายต่างนิยมนำปลาชนิดนี้ไปเลี้ยงเพื่อเพิ่มสีสันให้กับตู้ไม้น้ำใบงามของตน ถึงแม้ปลาชนิดนี้จะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแม่น้ำเนโกรและเมตา ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของมหานทีอย่างอะเมซอนที่เข้าถึงได้ยาก แต่ปลาจำนวนมากก็ถูกรวบรวมจากธรรมชาต