ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ธรรมชาติของปลา

มาทำความรู้จัก  กับธรรมชาติของปลากันเถอะ

          ปลาตู้สวยงามที่เราเห็นกันอยู่โดยทั่วไปนั้น  มีหลายพันธุ์ด้วยกัน  แต่ละสายพันธุ์มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไป  ปลาบางพันธุ์มีเกล็ดใหญ่  และสีสันต่างกันมากมาย  แต่โดยทั่ว ๆ  ไปแล้วปลาตู้ที่นิยมเลี้ยงกันไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ไหนก็ตามจะสามารถ  แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ  ดังนี้คือ

     1.  ปลาตู้  ชนิดที่ออกลูกเป็นไข่
          ปลาชนิดนี้จะมีการผสมพันธุ์ที่แตกต่างจากชนิดอื่นคือตัวเมียจะทำการวางไข่  ซึ่งตัวเมียจะวางไข่ที่ต้นแม่น้ำ  ก้อนหิน  ก้อนกรวดใต้น้ำ  จากนั้นปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมกับไข่  แล้วไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาต่อมา  ปลาที่ออกลูกเป็นไข่นี้ได้แก่  ปลาทอง  ปลาเทวดา ฯลฯ  ซึ่งจะสังเกตได้ว่าปลาที่ออกลูกเป็นไข่นี้  จะมีลักษณะและสีสันสวยงามมาก  และเป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างมากมาย

     2.  ปลาตู้  ชนิดที่ออกลูกเป็นตัว
          ปลาชนิดนี้เมื่อผสมพันธุ์แล้วตัวเมียจะเริ่มตั้งท้องและฟักไข่ในท้องจนกว่าไข่จะเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว  ไข่จะถูกฟักตัวเป็นลูกปลาตัวเล็ก ๆ  ในท้องของแม่ปลา  เมื่อเป็นตัวอ่อนที่สมบูรณ์แล้ว  ลูกปลาจะคลอดออกมาจากท้องแม่ปลา  ปลาที่ออกลูกเป็นตัวนี้จะมีลูกไม่มากเท่าปลาที่ออกลูกเป็นไข่หรือชนิดอื่น ๆ  ปลาตู้ที่อยู่ในประเภทนี้  ได้แก่  ปลาหางนกยูง
เป็นต้น

     3.  ปลาตู้  ชนิดก่อหวอด
          ปลาชนิดนี้จะมีการผสมพันธุ์ที่แปลกแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่นมากที่สุด  คือปลาตัวผู้จะเป็นผู้ก่อหวอด  หวอดในที่นี้จะมีลักษณะเหมือนพ่นฟองอากาศให้มาติดอยู่กับต้นไม้ในน้ำ  จากนั้นตัวเมียจะพ่นไข่ออกมาให้ไปฝังติดอยู่กับหวอดที่ตัวผู้ทำไว้  จากนั้นไข่ปลาจะฟักตัวออกมาเป็นลูกปลา  ปลาตู้ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยที่เป็นชนิดก่อหวอดนี้  ได้แก่  ปลากระดี่  ปลากัด  ฯลฯ  เป็นต้น
          นอกเหนือจากปัจจัยในการเลี้ยงปลาตู้ให้แข็งแรงสมบูรณ์ดังได้กล่าวมาแล้วในบทต้น ๆ  ก็ยังมีอีกอย่างที่ผู้เลี้ยงไม่ควรมองข้าม  นั่นคือผู้เลี้ยงจะต้องศึกษาว่าปลาที่เลี้ยงไว้  แต่ละชนิดหรือแต่ละพันธุ์มีวิธีการเลี้ยงอย่างไร  นิสัยของปลาเป็นเช่นไร  สามารถเลี้ยงปลาชนิดใดรวมในตู้เดียวกันได้  ซึ่งเราได้อธิบายไว้ในบทที่  4  โดยกล่าวถึงการแนะนำปลาที่น่าเลี้ยงเอาไว้แล้ว
          แต่วิธีง่าย ๆ  พอจะสรุปได้ในการเลือกปลาที่จะนำมาเลี้ยงนั้นคือ  ให้ดูลักษณะภายนอกของปลานั้น ๆ  เช่น  ขนาด
ลำตัวของปลา  สีสัน  ความแข็งแรง  และอุปนิสัยในการดำรงชีวิตเป็นอันดับแรก  เพราะปลาบางชนิดมีนิสัยดุร้าย  ชอบกัด  และรังแกปลาชนิดอื่นอยู่เสมอ  เพราะฉนั้นจึงไม่สามารถเลี้ยงรวมกันได้  อีกอย่างหนึ่ง  ผู้ที่เลี้ยงปลามักจะเลี้ยงปลาได้ไม่ทนและปลาตายอยู่เสมอ  ทำให้เกิดความท้อในการเลี้ยงปลาฉะนั้น  การหาความรู้และศึกษาชนิดหรือพันธุ์ปลาก่อนจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเลือกเลี้ยงปลาตู้ของเรา

สรีระของปลา  ที่ควรทราบ
     A : กระดูกปิดเหงือก  และเหงือก
     B : ครีบอก
     C : ครีบท้อง
     D : ครีบทวาร
     E :  กระโดง
     F : ครีบไขมัน
     G : หาง  
     H : เส้นใช้ฟังเสียง  อยู่ข้างลำตัวปลา

ปัญหาในการ  แพร่พันธุ์ปลา
          ในการเลี้ยงปลาจุดมุ่งหมายสูงสุดของผู้เลี้ยงนั้นคือ  การอยากจะเห็นปลาที่ตนเองเลี้ยงมีลูกหรือขยายพันธุ์ออกมามากมาย  แต่มีผู้เลี้ยงบางรายเลี้ยงปลามานานแต่ไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้สักที  ทั้งนี้เราอาจจะสรุปได้ว่าเขาอาจจะประสบปัญหาดังต่อไปนี้

     1.  อายุของปลา
          ปัจจัยในข้อนี้นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเพาะพันธุ์ปลา  ซึ่งผู้เลี้ยงอาจไม่ได้จดจำหรือใส่ใจในวัยของปลา  บางครั้งอาจปล่อยให้ปลามีอายุมากเกินไป  คือพูดง่าย ๆ  ว่าเกินวัยเจริญพันธุ์  หรือตรงกันข้าม  ปลาบางชนิดจะมีรูปร่าง  และการเจริญเติบโตเร็วมาก  ผู้เลี้ยงจึงอาจเหมาเอาว่าปลาชนิดนั้นสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้ว  แต่แท้ที่จริงปลานั้นอาจอ่อนเยาว์เกินไป  ส่วนมากปลาที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์จะมีอายุประมาณ  8  เดือนจึงเหมาะสมที่จะนำมาขยายพันธุ์  สิ่งที่ควรคำนึงอีกข้อหนึ่งคือความสะดวก  ในการเลือกปลาที่จะนำมาเพาะพันธุ์นั้น  ควรแยกปลาที่มีอายุมากออกจากปลาที่มีอายุน้อย  เพื่อไม่ให้มีการปะปนกัน  และผู้เลี้ยงจะได้ไม่สับสนอีกด้วย

     2.  อาหาร
          อาหารเป็นปัญหาที่อาจเรียกได้ว่าสำคัญมากที่สุดในการแพร่พันธุ์ปลา  เพราะชนิดของอาหารที่ให้แก่ปลานั้นอาจมีผลทำให้เป็นอุปสรรคในการแพร่พันธุ์ของปลา  ในปัจจุบันมีอาหารเม็ดหรืออาหารสำเร็จรูปสำหรับปลาวางขายอยู่มากมายและผู้เลี้ยงก็นิยมซื้อมาให้ปลากินอยู่เสมอ ๆ  ปลาบางชนิดจะไม่เหมาะกับอาหารสำเร็จรูป  จึงทำให้แพร่พันธุ์ช้า  เพราะฉะนั้นผู้เลี้ยงควรสังเกตการกินอาหารในแต่ละครั้งของปลาว่าปลา  ตอบสนองต่ออาหารที่ให้อย่างไร  ถ้าปลาไม่สนใจอาหาร  ท่านควรเปลี่ยนชนิดของอาหารปลานั้นเสียใหม่  แต่ถ้าปลากินอย่างต่อเนื่องแสดงว่าปลากินอาหารชนิดนั้นได้  แต่อาหารที่ปลามักจะโปรดปรานมากเป็นพิเศษนั่นคืออาหารตามธรรมชาติ  เช่น  ลูกน้ำ  ไรแดง  เป็นต้น  แต่สมัยนี้หายากพอสมควร
          อีกอย่างหนึ่งที่ท่านควรคำนึงในการให้อาหารปลาปริมาณในการให้อาหารไม่ควรให้มากหรือน้อยเกินไป  เวลาที่ให้อาหารควรจะให้พอประมาณ  โดยสังเกตได้จากการกินที่ปลาจะไม่สนใจกินอาหารที่เราให้นั้น  ถ้าเป็นเช่นนี้  แสดงว่าอิ่มแล้ว  ไม่ควรให้อาหารมากเกินความจำเป็น  เพราะจะมีผลทำให้น้ำในตู้เน่าเสียเร็วขึ้น

     3.  น้ำในตู้ปลา
          ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำให้มีความสะอาดอยู่เสมอ ๆ  อีกทั้งดูแลปริมาณออกซิเจนจากเครื่องปั๊มให้เพียงพอ  และปริมาณน้ำควรเหมาะสมต่อชนิดของปลาที่เลี้ยงด้วย  จะยิ่งทำให้ปลาสามารถแพร่พันธุ์ได้ดียิ่งขึ้น
         
          เพราะฉะนั้น  ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่พันธุ์ทั้ง  3 ข้อดังกล่าวข้างต้น  จึงมีความสำคัญเท่า ๆ  กัน  ซึ่งผู้เลี้ยงจะละเลยไม่ได้  ถ้าอยากจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงปลาหรือเพาะพันธุ์ปลาก็ควรใส่ใจปลาที่เราเลี้ยงเสมอเหมือนกับญาติพี่น้องของตัวเอง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปกรณ์ที่จำเป็น ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม

อุปกรณ์ที่จำเป็น  ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม การเลี้ยงปลาตู้นั้น        มีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อย่างมาก  อีกทั้งในปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ ในการเลี้ยงปลาตู้ให้เลือกหลากชนิด  ดังนั้นเราจึงควรไตร่ตรองและคิดให้ดีว่าอุปกรณ์ชิ้นใดจำเป็น  หรือไม่ต่อการเลี้ยงปลาตู้  การใส่อุปกรณ์หรือสิ่งประดับมากมายลงในตู้นั้นนับว่าเป็นอันตรายต่อปลาอย่างยิ่ง  เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรเน้นถึงความสวยงามในเรื่องของการประดับตู้ปลามากกว่าการมีชีวิตอยู่ของปลา  อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงควรพิจารณาก็คือ  การดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ  ให้มีประสิทธิภาพ  และ  มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน  ทั้งนี้ก็เพื่อดำรงชีวิตอยู่ของปลาที่น่ารักของเรานั่นเอง       1.  ตู้ปลา     ก่อนที่เราจะเลือกซื้อตู้ปลานั้น  เราต้องคำนึงถึงชนิดและขนาดของปลาที่จะเลี้ยงว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใด  ถ้าจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดเล็กได้  แต่ถ้าจะเลือกเลี้ยงปลาที่มีลำตัวยาวอย่างเช่นปลาอะโรวาน่าต้องใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้ปลาว่ายน้ำได้สะดวก      เมื่อซื้อตู้ปลาตามขนา

โรคของปลาสวยงาม จุดขาว

โรคจุดขาว เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับปลาสวยงามของคุณง่าย เรามารู้จักกันดีกว่า  เกิดจากปรสิตชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Ichthyophthirius multifiliis ปรสิตชนิดนี้อยู่ในกลุ่ม ciliated protozoan คือมีขนรอบๆเซลล์ของมัน เราจะเรียกชื่อโรคที่เกิดจากเชื้อตัวนี้สั้นๆ ง่ายๆว่า อิ๊ค (Ich, Ick) หรือ โรคจุดขาว (white spot disease) นั่นเองครับ เชื้ออิ๊คนี่ มีขนาดประมาณ 0.5-1 มม. เลยทีเดียว ซึ่งเป็นขนาดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าชัดเจนครับ ซึ่งระยะดังกล่าวที่มองเห็นได้นี่ เป็นระยะโตเต็มวัยของเชื้ออิ๊ค ซึ่งจะพบอยู่บนร่างกายของปลาแทบทุกส่วนเลยครับ เมื่อเราส่องกล้องดูเชื้ออิ๊ค ลักษณะเด่นที่จะระบุตัวเชื้อได้ ก็คือ เชื้อมีลักษณะกลม มีขนขนาดเล็กรอบๆเซลล์ และมีนิวเคลียส โค้งงอเป็นรูปเกือกม้า  ระยะของเชื้อมีอยู่ 3 ระยะ  1.เชื้ออิ๊คในระยะโตเต็มวัยเราเรียกว่า  Trophont  นี้จะแทรกเข้าไปอาศัยอยู่ในระหว่างชั้นเนื้อเยื่อของปลาเคราะห์ร้ายทั้งในบริเวณผิวหนัง ครีบ เหงือก ดวงตา ฯลฯ จนโตเต็มที่ ระยะเวลาที่เชื้ออิ๊คจะเกาะอยู่บนตัวปลา กินเวลาตั้งแต่ 4-40 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับอุณหภูมิน้ำ ยิ่งอุณหภูมิน้ำสูง มีแนวโน้มว่า เชื้อจะเจริญเติ

ปลาอินทรีเน็ต

อินซิกนิส ตะเพียนหางสวยจากลุ่มน้ำอะเมซอน เมื่อวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา หลายคนคงจะไปเที่ยวต่างจังหวัด จูงมือลูกๆหลานๆหรือบางคนอาจจะเกี่ยวก้อยคนรู้ใจเดินเล่นรับลมหนาวอยู่บนยอดดอย นอนดูดาวแล้วนับถอยหลังเริ่มต้นปีใหม่กันกระหนุงกระหนิง คิดแล้วผมก็อดที่จะอิจฉาไม่ได้ เพราะไม่มีโอกาสได้ทำแบบที่กล่าวมาเลยสักอย่าง วันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมาผมทำตัวเป็นกบจำศีลอยู่กับบ้านไม่อยากออกไปไหน ใครมาชวนก็ไม่ไป ไม่อยากจะบอกว่าเงินไม่มี(ฮา) แต่ก็ใช่ผมจะไม่หาที่เที่ยวเอาเลยในช่วงวันหยุดยาวๆแบบนี้ เพราะผมไปเดินเล่นที่ตลาดธนบุรีหรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า “สนามหลวง2” ไปในครั้งนี้ผมเองก็ได้ปลาติดไม้ติดมือกลับมาบ้านหลายตัวอยู่เหมือนกัน รวมถึงตู้ปลาอีกหนึ่งชุด เดินเล่นไปเรื่อยๆสบายๆเพราะว่าวันหยุดยาวๆแบบนี้ร้านค้าส่วนใหญ่จะปิดและคนมาเดินก็น้อย ไม่เบียดเสียดนี่ล่ะสวรรค์ของผม ผมเดินมาหยุดอยู่ที่ร้านขายปลาร้านหนึ่ง และกำลังเลือกซื้อปลาหมอสีตัวน้อยๆและปลาหมูลายเฆมและหมูอินโด ขณะนั้นเองหูผมก็ได้ยินเสียงลูกค้าท่านหนึ่งที่มากับภรรยาและทารกน้อย(ทารกน้อยจริงๆเพราะอายุไม่น่าจะเกินสามเดือน

ปลาสวยงาม ที่น่าเลี้ยง

ปลาสวยงาม  ที่น่าเลี้ยง  ปลาที่มีลำตัวยาวไม่เกิน  5  เซนติเมตร ปลานีออนดำ  (BLACK  NEON  TETRA)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  3  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวสีน้ำตาล  บริเวณข้างลำตัวมีแถบลายสีขาวเรืองแสง  และมีพื้นดำคาดตามลำตัวจากใต้แผ่นเหงือกยาวจรดโคนหาง  ขอบตาด้านบนสีแดง           -  ปลาตัวผู้จะมีขนาดเล็กและเพรียวกว่าตัวเมีย  และมีสีสันสดใสกว่า           -  นีออนดำเป็นปลารักสงบ  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง  ตื่นตกใจง่าย           -  ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงใหญ่  หรืออาจเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันเพื่อจะได้ไม่ถูกปลาอื่นทำร้าย ชอบอยู่ในน้ำที่ใสสะอาด  และมีพุ่มไม้น้ำหรือสาหร่ายให้แหวกว่าย           -  ชอบกินอาหารสดมากกว่าอาหารสำเร็จรูป  แต่อาหารสำเร็จรูปก็ใช้เลี้ยงได้เช่นกัน           -  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่  วางไข่ครั้งละประมาณ  200  ฟอง  ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ  1  วัน           ปลาหางนกยูง  (MILLIONS  FISH)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  4-6  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลอม

ปลารัมมี่โนส

รัมมี่โนส คนที่ตั้งชื่อปลาตัวเล็กๆหน้าตาคล้ายปลาซิวชนิดนี้ว่า “รัมมี่โนส เตตร้า” หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “รัมมี่โนส” นั้น นอกจากจะช่างคิดแล้ว ยังต้องเป็นคนรวยอารมณ์ขันแน่ๆ ทำไมน่ะหรือ? หากมองเผินๆ ปลาอย่างรัมมี่โนสดูเป็นปลาที่ไม่มีอะไรน่าสนใจ ยิ่งถ้าใครได้เห็นตอนที่เพิ่งใส่พวกมันลงไปในตู้ใหม่ๆคงต้องส่ายหัวกันทุกราย เพราะนอกจากจะไร้สีสันจนถึงขั้นจืดสนิทแล้ว ยังไม่มีจุดเด่นเอาเสียเลย แต่ถ้าลองปล่อยให้พวกมันใช้เวลาปรับตัวในตู้อีกสักหน่อย คนที่เคยเห็นในตอนแรกอาจต้องร้องด้วยความประหลาดใจว่า นี่หรือคือปลาที่ฉันเคยเห็น เพราะนอกจากส่วนหน้าที่แดงเด่นขึ้นมาผิดหูผิดตาเป็นสีเชอร์รี่สดแล้ว หางยังมีลายสีขาวสลับดำให้ดูเก๋ไก๋ไปอีกแบบ ยิ่งถ้าได้อยู่ในตู้ที่เต็มไปด้วยพรรณไม้น้ำสีเขียวชอุ่ม สีของปลาชนิดนี้ก็จะยิ่งตัดกันมากขึ้นอีกหลายเท่า ทำให้คนที่นิยมเลี้ยงพรรณไม้น้ำทั้งหลายต่างนิยมนำปลาชนิดนี้ไปเลี้ยงเพื่อเพิ่มสีสันให้กับตู้ไม้น้ำใบงามของตน ถึงแม้ปลาชนิดนี้จะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแม่น้ำเนโกรและเมตา ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของมหานทีอย่างอะเมซอนที่เข้าถึงได้ยาก แต่ปลาจำนวนมากก็ถูกรวบรวมจากธรรมชาต