ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปลาสวยงามยอดฮิต

ปลายอดฮิต

ปลาอะโรวาน่า  หรือปลามังกร  (AROWANA)
     เป็นปลาที่มีผู้คนส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงและมีราคาแพง  ปลาอะโรวาน่านี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน  เช่น  ลุ่มน้ำอะเมซอน  แอฟริกา  หรือในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  อย่างประเทศไทย  อินโดนีเซีย  เป็นต้น  ปลาอะโรวาน่าจะมีโครงสร้างของหลอดอาหารขนาดใหญ่  และมีกระดูกที่ลิ้น  มีเกล็ดขนาดใหญ่  ซึ่งเป็นปลาโบราณที่ยังหลงเหลือจากยุคหิน  ปัจจุบันนี้มีการนำปลาอะโรวาน่ามาขยายพันธุ์อย่างกว้างขวาง
     สำหรับพันธุ์ที่พบในประเทศไทยนั้นมีลำตัวสั้น  ไม่เรียวยาวเหมือนกับอะโรวาน่าที่พบในลุ่มน้ำอะเมซอน  ซึ่งการมีลักษณะแตกต่างเช่นนี้อาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน  ปลาอะโรวาน่ามีหลายชนิดด้วยกัน  ซึ่งแต่ละชนิดจะแบ่ง
ตามสีของเกล็ด  ซึ่งจะกล่าวดังต่อไปนี้

1.  ปลา  อะโรวาน่าสีเงินหรือสีขาว  (SILVER  AROWANA)
     มีขนาดลำตัวเฉลี่ยประมาณ  120  เซนติเมตร  ช่วงลำตัวยาวเรียวและแบน  มีพื้นลำตัวเป็นสีเงิน  มีความแวววาวส่วนครีบสีน้ำเงินอมเทามีของครีบสีเหลือง  ปากมีขนาดใหญ่และจะมีหนวด  2  เส้น  อยู่ใต้ริมฝีปากล่าง  รวมทั้งมีลิ้นอีกด้วย  ข้อสังเกตเพศปลา  ถ้าเป็นเพศผู้จะมีลำตัวยาวและเพรียว  ครีบที่อกมีขนาดใหญ่
     อะโรวาน่าสีเงินมีอุปนิสัยก้าวร้าว  แต่ไม่ถึงกับดุร้ายมากนักและโปรดปรานที่จะว่ายน้ำอยู่ใกล้ระดับผิวน้ำ  ด้วยอุปนิสัยที่ก้าวร้าวเป็นบางครั้ง  ควรเลี้ยงในตู้ที่มีพื้นที่มาก ๆ  และสามารถเลี้ยงได้รวมกันหลาย ๆ  ตัว  ตู้ที่ใช้เลี้ยงควรจะมี  กระจกหนาเพราะปลาอะโรวาน่าจะแข็งแรงมาก  และอาจจะชนตู้เมื่อหงุดหงิดหรือตกใจ  ส่วนอาหารที่ใช้เลี้ยงนั้นก็ควรเป็น  อาหารประเภท  แมลงหรือเนื้อสัตว์  ถ้าจะแพร่พันธุ์อะโรวาน่าสีเงินนี้ควรทราบไว้ด้วยว่าปลาชนิดนี้วางไข่และฟักไข่ในปาก  และวางไข่ครั้งละ  100-500  ฟอง  โดยจะวางไข่เพียงปีละครั้งเท่านั้น

2.  ปลาอะโรวาน่าสีทอง  (GOLDEN  AROWANA)
     มีขนาดลำตัวเฉลี่ยประมาณ  90  เซนติเมตร  มีลำตัวยาวเพรียวและแบนมาก  ในส่วนท้องเป็นสันแหลม  ลำตัวเป็นสีทอง  เกล็ดมีขนาดใหญ่มาก  ครีบและหางครีบหลัง  มีสีน้ำเงินอมดำและมีสีทองแซมสีแดงเลือดหมู  ปากมีขนาดใหญ่มาก  มีหนวด  2  เส้นอยู่ริมฝีปากด้านล่าง  มีลิ้น  อะโรวาน่าสีทองนี้มักจะมีแผ่นหลังสีน้ำตาลอมเขียวจนดำ  ปลาตัวผู้จะมีลำตัวเพรียวยาวและมีครีบอกใหญ่ปลายแหลมกว่าตัวเมีย
     อะโรวาน่าสีทองมีนิสัยก้าวร้าว  ชอบว่ายน้ำอยู่ใกล้ระดับผิวน้ำ  ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น  แม้กระทั่งอะโรวาน่าด้วยกัน  เพราะอะโรวาน่าสีทองจะกัดกันเองจนบาดเจ็บและถึงตายได้  ตู้ที่ใช้ควรมีขนาดกว้างใหญ่  กระจกหนาและควรมีฝาปิดปากตู้เพื่อป้องกันปลากระโดดออกจากตู้  อาหารที่โปรดปรานมากที่สุดคือแมลงและเนื้อสัตว์  อาหารสำเร็จรูปก็สามารถให้รับประทานได้  การแพร่พันธุ์นั้นเมื่ออะโรวาน่าวางไข่  พ่อแม่ปลาจะอมไข่และเลี้ยงลูกในปาก  และใช้เวลาฟักเป็นตัว  3  วันออกลูกปีละครั้ง  ครั้งละ  100-400  ฟอง

3.  ปลาอะโรวาน่าสีดำ
     มีขนาดลำตัวเฉลี่ยประมาณ  75  เซนติเมตร  มีลำตัวยาวเพรียวและแบนมาก  มีลำตัวในช่วงหางเรียวเล็ก  ครีบและหางมีสีน้ำเงินถึงดำ  ขอบครีบจะมีสีชมพูอมส้ม  มีเกล็ดขนาดใหญ่  ปากมีขนาดใหญ่มาก  มีลิ้นและมีหนวด  2  เส้นอยู่ใต้ริมฝี
ปากล่าง  พื้นลำตัวมีสีเงินแวววาวมาก  ในช่วงที่ปลายังมีขนาดเล็ก  ลำตัวมีสีเหลืองสลับดำ  ตัวผู้จะมีลำตัวเพรียวกว่าตัวเมียมากและครีบอกใหญ่กว่าตัวเมีย
     อะโรวาน่าสีดำชอบว่ายอยู่ใกล้ผิวน้ำ  และมีนิสัยก้าวร้าวดุร้ายเป็นบางขณะ  ซึ่งควรเลี้ยงแยกเพียงลำพัง  เพื่อป้องกันการทำอันตรายปลาชนิดเดียวกัน  และไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นใดอีกด้วย  ตู้ที่ใช้ควรมีพื้นที่มาก  กระจกหนา  และควรมีฝาปิดตู้  เพื่อกันปลากระโดดออกนอกตู้  อะโรวาน่าสีดำกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์และแมลง  การวางไข่ของปลาชนิดนี้จะวางไข่ประมาณครั้งละ  100-500  ฟองปีละครั้ง  วางไข่และฟักไข่ในปาก

4.  ปลาอะโรวาน่าสีเขียว  (GREEN  AROWANA)
     มีขนาดลำตัวเฉลี่ยประมาณ  90  เซนติเมตร  ช่วงลำตัวยาวเพรียวและแบนมาก  พื้นลำตัวมีสีเงินเหลือบเทา-เขียว  เกล็ดใหญ่  ครีบและหางมีสีเขียวปนน้ำเงินจนดำ  ปากมีขนาดใหญ่ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ  มีลิ้น  และมีหนวด  2  เส้น  ที่ใต้ริมฝีปากล่าง  ตอนเป็นลูกปลาจะมีครีบและหางเป็นสีเหลืองอ่อน  ปลาตัวผู้จะมีลำตัวยาวและเพรียว  อีกทั้งครีบอกมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
     อะโรวาน่าสีเขียวชอบว่ายน้ำอยู่ใกล้ระดับผิวน้ำ  มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว  ไม่ควรเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่น  หรืออะโรวาน่าด้วยกัน  เพราะมีนิสัยจะทำร้ายกันอยู่เสมอ ๆ  ควรใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่  กระจกหนา  ควรมีฝาปิดให้มิดชิดกันปลากระโดดออก
นอกตู้ปลาชนิดนี้จะกินปลาที่เล็กกว่าเป็นอาหาร  เมื่อถึงฤดูการวางไข่จะวางไข่ตามพื้น  มีจำนวนประมาณ  100-400  ฟอง
และพ่อแม่ปลาจะฟักและเลี้ยงลูกในปาก

5.  ปลาอะโรวาน่าสีแดง  (RED  AROWANA)
     มีขนาดลำตัวเฉลี่ยประมาณ  90  เซนติเมตร  ลำตัวเพรียวยาวและแบนมาก  พื้นลำตัวมีสีทองแซมด้วยสีส้มจนแดงเกล็ดมีขนาดใหญ่  ครีบและหางมีสีแดงสด  ปากมีขนาดใหญ่  มีลิ้น  และหนวด  2  เส้นอยู่ที่ริมฝีปากล่าง  ตอนที่เป็นลูกปลาจะมีหางสีแดงส้ม  ปลาตัวผู้มีลำตัวเพรียวยาวและมีครีบอกขนาดใหญ่ยาวแหลมกว่าตัวเมีย
     อะโรวาน่าสีแดงชอบว่ายอยู่ใกล้ระดับผิวน้ำ  มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว   จึงไม่ควรเลี้ยงปลาชนิดนี้ร่วมกับปลาชนิดอื่น ๆ  หรืออะโรวาน่าด้วยกันเอง  ชอบกินปลาที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร  ตู้ที่ใช้เลี้ยงควรมีเนื้อที่และแข็งแรงมาก  อีกทั้งควรมีฝาปิดมิดชิด  เพื่อกันปลากระโดดออกนอกตู้  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่ตามพื้น  แต่ละครอกจะมีไข่ประมาณ  100-400  ฟอง  พ่อแม่ปลาจะฟักไข่และเลี้ยงลูกในปาก  ไข่จะฟักเป็นตัวใช้เวลาประมาณ  3  วัน

ดังที่ได้กล่าวถึงอะโรวาน่าทั้ง  5  ชนิดนั้น  อายุเฉลี่ยของอะโรวาน่าทุก ๆ  ชนิดจะมีอายุยืนพอสมควร  อาจเลี้ยงได้มากกว่า  10  ปีก็ได้  ส่วนโรคที่เกิดกับอะโรวาน่านั้นก็คือ  เชื้อราแบคทีเรีย  และไวรัส  การป้องกันโรคสำหรับปลาชนิดนี้  ก็คือการดูสภาพแวดล้อมของตู้ปลาที่ใช้เลี้ยงให้เหมาะสม  อีกทั้งหาอาหารที่ดีมีคุณค่าให้อยู่เสมอ ๆ  ควรเอาใจใส่  ดูแลอยู่ตลอด
อย่างไรก็ตามผู้ที่ต้องการผสมพันธุ์อะโรวาน่าเพื่อขยายพันธุ์  ควรพิจารณาหลักการที่จะทำให้ปลาอยู่รวมกันคือ
-  ตู้ปลา  ควรมีพื้นที่กว้างพอที่จะให้ปลาว่ายไปมาได้อย่างสะดวก
-  มีอาหารที่พอเพียง  และมีคุณค่าต่อปลา
-  เลือกปลาให้มีขนาดเท่า ๆ  กัน  เพื่อป้องกันการทำร้ายปลาที่มีขนาดเล็กกว่า
-  มีที่หลบภัยให้ปลาในขณะที่ตื่นตกใจด้วย



ปลาคาร์พ  หรือ  ปลาแฟนซีคาร์พ  (CARP)
     ปลาคาร์พ  หรือแฟนซีคาร์พเลี้ยงง่าย  โตไว  มีสีสันสวยงาม  เป็นปลาที่มีอายุยืนที่สุดในโลก
     ปลาคาร์พแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้
     1.  โคฮากุ  มีสีแดงขาวสลับกัน
     2.  ไทโช-ซันเก้  มีสีขาว  แดง  และดำสลับกัน  ที่หัวจะมีสีแดงเป็นหลัก
     3.  โชวา-ซันโซกุ  มีสีแดง  ขาว  และดำ  และมีสีดำมาสลับลำตัวถึงใต้ท้อง
     4.  อุตซูริโมโนะ  มีสีดำเป็นลายแถบ  คล้ายตาข่าย  สลับด้วยสีขาว
     5.  เบกโกะ  มีสีดำเป็นตาสลับเหมือนตาข่ายตลอดทั้งลำตัว  เกล็ดสีขาว
     6.  อาซากิ  ซูซุย  มีสีน้ำเงินอ่อนสลับเทา
     7.  โคโรโมะ  มีเกล็ดสีน้ำเงินเหลือบผสมตลอดทั้งตัว
     8.  คาวาริโมโนะ  มีสีสันแปลกกว่าปลาพันธุ์อื่น
     9.  โอกอน  พันธุ์เหลืองทอง  มีเกล็ดสีขาวเงางาม  และมีสีทองผสม
    10.  ฮิการิโมโย-โมโน  ลำตัวสีเหลืองอ่อน  มีสีแดงสลับดำตลอดทั้งตัว
    11.  ฮิการิ-อุตซูริโมโนะ  ลำตัวสีเหลืองอ่อน  มีสีแดงกับดำสลับ
    12.  คินกินริน  เกล็ดสีทองและเงินสลับกันทั้งตัว
    13.  ตันโจ  ลำตัวมีสีขาว  ที่หัวมีจุดสีแดงเข้ม

วิธีการเลี้ยงปลาคาร์พ
     ควรเริ่มขุดบ่อขนาดกว้าง  80  เซนติเมตร  ยาว  120  เซนติเมตร  ลึก  50  เซนติเมตร  มีสะดือที่ก้นบ่อ  ขนาดกว้าง  1  ฟุต  ยาว  2  ฟุต  ลึกประมาณ  4-6  นิ้ว  เพื่อเป็นที่เก็บปลา  และสิ่งสกปรก  และติดตั้งระบบถ่ายเทน้ำเสียเพื่อช่วยให้น้ำในบ่อสะอาดอยู่ตลอดเวลา
     1.  บ่อที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์พควรเป็นบ่อซีเมนต์  เพราะมีตะไคร่น้ำเกิดและเกาะได้เร็ว  ซึ่งตะไคร่น้ำนั้นจะเป็นอาหารที่ดีของปลา  และสามารถดูดสิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำได้  และบ่อควรจะตั้งอยู่ในที่มีความร่มรื่นพอสมควร  อย่าให้อยู่กลางแจ้ง
จะทำให้สีของปลาจางลง  ปลาจะเติบโตช้าด้วย  และทางที่ดีบ่อควรจะติดตั้งระบบหมุนเวียนของน้ำ  ซึ่งเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำและเป็นผลดีต่อปลาอีกด้วย
     2.  น้ำที่ใช้เลี้ยงควรเป็นน้ำประปา  เพราะมีสภาพเป็นกลาง  ถ้าใช้น้ำฝนจะทำลายสีของปลาและจะเกิดโรคได้ง่ายส่วนน้ำจากแม่น้ำลำคลองอาจมีเชื้อโรคเป็นอันตรายกับปลาได้  หากไม่มีน้ำประปาต้องใส่ยาฆ่าเชื้อและเติมปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำให้เป็นกลางเสียก่อน  แล้วค่อยเลี้ยงปลาได้

การนำปลาคาร์พมาเลี้ยง
     เมื่อเตรียมบ่อและน้ำเรียบร้อยแล้ว  การจะหาปลามาเลี้ยงควรหาลูกปลาที่มีอายุ  1-2  ปี  ไม่ควรจะนำปลาขนาดใหญ่และปลาชนิดอื่นมาเลี้ยงรวมกับปลาคาร์พ  เพราะอาจนำเชื้อโรคมาได้
     อาหารของปลาคาร์พ  คือ  เนื้อปลาป่น  กุ้งสดบด  หอย  เนื้อปู  ปลาหมึก  ข้าวสาลี  รำข้าวโพด  แมลง  สาหร่าย  ตะไคร่  ลูกน้ำ  หนอนแดง  ขนมปัง  และอาหารสำเร็๋จรูปที่มีขาย
     การให้อาหารควรให้ไม่เกินวันละ  2  เวลา  เช้ากับเย็นและต้องให้ตามเวลา  เพื่อให้เกิดความเคยชินและเชื่องกับผู้เลี้ยง  อาหารต้องกะให้พอกับจำนวนปลา  อย่าให้น้อยหรือมากเกินไป  ถ้าอาหารหมดเร็ว  แสดงว่าปลาต้องการอาหารเพิ่ม  แต่ถ้าอาหารยังลอยน้ำอยู่ก็รีบตักออก  เพราะจะทำให้น้ำเสีย
     เมื่อเห็นน้ำในบ่อเริ่มขุ่นและมีสิ่งสกปรกต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที  ขณะที่ถ่ายน้ำออก  1  ใน 3  ส่วน  จะต้องเพิ่มน้ำใหม่แทนเท่าเดิม  โดยใช้น้ำประปาที่เก็บไว้ประมาณ  2-3  วัน  ซึ่งคลอรีนระเหยแล้ว  อย่าใช้น้ำประปาที่รองจากก๊อกใหม่ ๆ  จะเกิดอันตรายแก่ปลา
     หากต้องการให้สีสันของปลาสดใส  หลังจากเปลี่ยนน้ำแล้วจะต้องเพิ่มออกซิเจนลงในน้ำ  เพื่อให้ปลาปรับสภาพกับน้ำใหม่ได้แล้วนำเอาสาหร่ายสไปรูลีน่ามาผสมกับอาหารให้ปลาจะเป็นการเร่งสีสันให้กับปลาได้

การรักษาและป้องกันโรคปลาคาร์พ
     โรคของปลาคาร์พ  มีดังต่อไปนี้
     1.  การถ่ายน้ำในบ่อบ่อยครั้งจนเกินไป  หรือย้ายปลาบ่อยจนเกินไป
     เชื้อไซโคลติก้าที่อยู่ในน้ำจะทำลายปลา  ทำให้เกิดเป็นแผลที่ผิวหนังและตาย
     วิธีการรักษา : ควรใช้เกลือป่นและด่างทับทิมละลายลงในน้ำเพื่อฆ่าเชื้อก่อนจะนำไปใช้เลี้ยงปลา  สำหรับปลาเป็นโรค
ให้แช่ปลาในน้ำนี้ประมาณ  1-2  ชั่วโมง
     2.  หางและครีบเน่า
    เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในน้ำ  มาจากขี้ปลาและเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในบ่อ
     วิธีการรักษา : ต้องรีบถ่ายน้ำทำความสะอาดบ่อโดยเร็วใช้มาลาไคท์กรีนผสมน้ำในอัตรา  1  ขีด  ต่อน้ำ  1  ลิตร  จับปลาแช่ในน้ำติดต่อกัน  3-4  วัน
     3.  เนื้อแหว่ง
     เกิดจากปลาได้รับบาดเจ็บจนเป็นแผล  ทำให้เกล็ดหลุดและมีจุดขาว ๆ  ตามลำตัว  เกิดอาการอักเสบ  บวม  เป็นรอยช้ำเลือด  และตายไปในที่สุด
     วิธีการรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะออริโอมัยซินผสมกับอาหารในอัตรา  1  ช้อนชาต่ออาหาร  1  ขีด  ให้ปลากินติดต่อกันจนหายขาด
     4.  เชื้อราบนผิวหนัง
     ทำให้เนื้อปลาเน่าเปื่อย  ถ้าไม่รีบรักษาปลาจะตาย
     วิธีรักษา : นำปลามาแช่ในน้ำที่ละลายเกลือป่นเจือจางเอาสำลีชุบน้ำยาฟูราเนททำความสะอาดที่บาดแผลแล้วจับปลาแช่ในน้ำผสมยา
     5.  ลำไส้อักเสบ
     เนื่องจากมีราปนอยู่ในอาหาร  ทำให้ปลามีมูกเลือดปนออกมากับอุจจาระ
     วิธีการรักษา : ต้องรีบทิ้งอาหารเก่าให้หมด  เอาปลาขึ้นมาแช่น้ำเกลือที่เจือจาง  แล้วให้อาหารอ่อน ๆ  เช่น  ลูกไรแดง
แล้วค่อยให้อาหารสำเร็จรูปตามปกติ
    6.  พยาธิเส้นด้าย
     ติดมาจากอาหารที่ปลากินเข้าไป  และออกมาสร้างรังตามใต้เกล็ดปลา ทำให้ผิวหนังปลาแดงช้ำ ๆ
     วิธีการรักษา : ให้นำปลาไปแช่ในน้ำเกลือที่เจือจางประมาณ  1-2  วัน  พยาธิก็จะตาย

การเพาะพันธุ์  ปลาคาร์พ
     การเพาะพันธุ์ปลาคาร์พต้องเริ่มจากการเลือกพ่อพันธุ์  แม่พันธุ์ก่อน  เพื่อจะได้ลูกปลาที่ดีและแข็งแรง
     การพิจารณาคัดเลือกพันธุ์พ่อ-แม่ของปลาควรพิจารณาจากสีสันที่สวยสดใส  รูปร่างที่ดี  และต้องมีขนาดเดียวกัน  อายุต้องอยู่ระหว่าง  3  ปี ถึง  10  ปี ตัวมีขนาด  40-50  เซนติเมตร

การดูเพศ  ปลาคาร์พ
     1.  รูปร่างตัวเมียมีขนาดใหญ่และสวยกว่า  ตัวผู้รูปร่างสั้น
     2.  ส่วนหัวของตัวเมียได้สัดส่วนกับลำตัว  ส่วนตัวผู้หัวใหญ่  ลำตัวสั้น
     3.  ท้องตัวเมียอ้วนและจับดูนิ่ม  ตัวผู้ท้องแห้งไม่นิ่ม
     4.  ครีบหางตัวเมียไม่แข็ง  ตัวผู้แข็งแรงกว่า
     5.  ช่องทวารตัวเมียยาวตามขวาง  นูนขึ้น  ตัวผู้ยาวตามลำตัว  แฟบและแบน
     เมื่อคัดเลือกพันธุ์มาได้แล้ว  เอาสาหร่ายเทียมที่ทำด้วยไนลอนวางลงในอ่างสำหรับเป็นที่วางไข่  ให้ตัวเมียวางไข่ในเวลากลางวัน  โดยตัวผู้จะไล่ให้ตัวเมียวางไข่จนหมด  แล้วตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อผสม
     หลังจากวางไข่และผสมน้ำเชื้อแล้ว  จับปลาตัวผู้และตัวเมียออกให้ไข่เริ่มฟักตัวภายใน  3  วัน  ไข่จะเริ่มฟักและประมาณ  15  วันต่อมาจะเป็นตัวอ่อน
     ช่วงเวลาที่เป็นตัวอ่อน  ควรให้แพลงก์ตอน  ลูกไรแดงหรือไข่แดงสุก  กรองผ้าให้ตัวอ่อนกิน  แต่ระวังอย่าให้กินมาก  และอย่าให้น้ำเสีย  จากนั้น  3  เดือน  ลูกปลาจะเริ่มมีสีสัน  แสดงให้รู้ว่าเป็นปลาคาร์พชนิดไหน

 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปกรณ์ที่จำเป็น ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม

อุปกรณ์ที่จำเป็น  ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม การเลี้ยงปลาตู้นั้น        มีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อย่างมาก  อีกทั้งในปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ ในการเลี้ยงปลาตู้ให้เลือกหลากชนิด  ดังนั้นเราจึงควรไตร่ตรองและคิดให้ดีว่าอุปกรณ์ชิ้นใดจำเป็น  หรือไม่ต่อการเลี้ยงปลาตู้  การใส่อุปกรณ์หรือสิ่งประดับมากมายลงในตู้นั้นนับว่าเป็นอันตรายต่อปลาอย่างยิ่ง  เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรเน้นถึงความสวยงามในเรื่องของการประดับตู้ปลามากกว่าการมีชีวิตอยู่ของปลา  อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงควรพิจารณาก็คือ  การดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ  ให้มีประสิทธิภาพ  และ  มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน  ทั้งนี้ก็เพื่อดำรงชีวิตอยู่ของปลาที่น่ารักของเรานั่นเอง       1.  ตู้ปลา     ก่อนที่เราจะเลือกซื้อตู้ปลานั้น  เราต้องคำนึงถึงชนิดและขนาดของปลาที่จะเลี้ยงว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใด  ถ้าจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดเล็กได้  แต่ถ้าจะเลือกเลี้ยงปลาที่มีลำตัวยาวอย่างเช่นปลาอะโรวาน่าต้องใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้ปลาว่ายน้ำได้สะดวก      เมื่อซื้อตู้ปลาตามขนา

โรคของปลาสวยงาม จุดขาว

โรคจุดขาว เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับปลาสวยงามของคุณง่าย เรามารู้จักกันดีกว่า  เกิดจากปรสิตชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Ichthyophthirius multifiliis ปรสิตชนิดนี้อยู่ในกลุ่ม ciliated protozoan คือมีขนรอบๆเซลล์ของมัน เราจะเรียกชื่อโรคที่เกิดจากเชื้อตัวนี้สั้นๆ ง่ายๆว่า อิ๊ค (Ich, Ick) หรือ โรคจุดขาว (white spot disease) นั่นเองครับ เชื้ออิ๊คนี่ มีขนาดประมาณ 0.5-1 มม. เลยทีเดียว ซึ่งเป็นขนาดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าชัดเจนครับ ซึ่งระยะดังกล่าวที่มองเห็นได้นี่ เป็นระยะโตเต็มวัยของเชื้ออิ๊ค ซึ่งจะพบอยู่บนร่างกายของปลาแทบทุกส่วนเลยครับ เมื่อเราส่องกล้องดูเชื้ออิ๊ค ลักษณะเด่นที่จะระบุตัวเชื้อได้ ก็คือ เชื้อมีลักษณะกลม มีขนขนาดเล็กรอบๆเซลล์ และมีนิวเคลียส โค้งงอเป็นรูปเกือกม้า  ระยะของเชื้อมีอยู่ 3 ระยะ  1.เชื้ออิ๊คในระยะโตเต็มวัยเราเรียกว่า  Trophont  นี้จะแทรกเข้าไปอาศัยอยู่ในระหว่างชั้นเนื้อเยื่อของปลาเคราะห์ร้ายทั้งในบริเวณผิวหนัง ครีบ เหงือก ดวงตา ฯลฯ จนโตเต็มที่ ระยะเวลาที่เชื้ออิ๊คจะเกาะอยู่บนตัวปลา กินเวลาตั้งแต่ 4-40 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับอุณหภูมิน้ำ ยิ่งอุณหภูมิน้ำสูง มีแนวโน้มว่า เชื้อจะเจริญเติ

ปลาอินทรีเน็ต

อินซิกนิส ตะเพียนหางสวยจากลุ่มน้ำอะเมซอน เมื่อวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา หลายคนคงจะไปเที่ยวต่างจังหวัด จูงมือลูกๆหลานๆหรือบางคนอาจจะเกี่ยวก้อยคนรู้ใจเดินเล่นรับลมหนาวอยู่บนยอดดอย นอนดูดาวแล้วนับถอยหลังเริ่มต้นปีใหม่กันกระหนุงกระหนิง คิดแล้วผมก็อดที่จะอิจฉาไม่ได้ เพราะไม่มีโอกาสได้ทำแบบที่กล่าวมาเลยสักอย่าง วันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมาผมทำตัวเป็นกบจำศีลอยู่กับบ้านไม่อยากออกไปไหน ใครมาชวนก็ไม่ไป ไม่อยากจะบอกว่าเงินไม่มี(ฮา) แต่ก็ใช่ผมจะไม่หาที่เที่ยวเอาเลยในช่วงวันหยุดยาวๆแบบนี้ เพราะผมไปเดินเล่นที่ตลาดธนบุรีหรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า “สนามหลวง2” ไปในครั้งนี้ผมเองก็ได้ปลาติดไม้ติดมือกลับมาบ้านหลายตัวอยู่เหมือนกัน รวมถึงตู้ปลาอีกหนึ่งชุด เดินเล่นไปเรื่อยๆสบายๆเพราะว่าวันหยุดยาวๆแบบนี้ร้านค้าส่วนใหญ่จะปิดและคนมาเดินก็น้อย ไม่เบียดเสียดนี่ล่ะสวรรค์ของผม ผมเดินมาหยุดอยู่ที่ร้านขายปลาร้านหนึ่ง และกำลังเลือกซื้อปลาหมอสีตัวน้อยๆและปลาหมูลายเฆมและหมูอินโด ขณะนั้นเองหูผมก็ได้ยินเสียงลูกค้าท่านหนึ่งที่มากับภรรยาและทารกน้อย(ทารกน้อยจริงๆเพราะอายุไม่น่าจะเกินสามเดือน

ปลาสวยงาม ที่น่าเลี้ยง

ปลาสวยงาม  ที่น่าเลี้ยง  ปลาที่มีลำตัวยาวไม่เกิน  5  เซนติเมตร ปลานีออนดำ  (BLACK  NEON  TETRA)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  3  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวสีน้ำตาล  บริเวณข้างลำตัวมีแถบลายสีขาวเรืองแสง  และมีพื้นดำคาดตามลำตัวจากใต้แผ่นเหงือกยาวจรดโคนหาง  ขอบตาด้านบนสีแดง           -  ปลาตัวผู้จะมีขนาดเล็กและเพรียวกว่าตัวเมีย  และมีสีสันสดใสกว่า           -  นีออนดำเป็นปลารักสงบ  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง  ตื่นตกใจง่าย           -  ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงใหญ่  หรืออาจเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันเพื่อจะได้ไม่ถูกปลาอื่นทำร้าย ชอบอยู่ในน้ำที่ใสสะอาด  และมีพุ่มไม้น้ำหรือสาหร่ายให้แหวกว่าย           -  ชอบกินอาหารสดมากกว่าอาหารสำเร็จรูป  แต่อาหารสำเร็จรูปก็ใช้เลี้ยงได้เช่นกัน           -  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่  วางไข่ครั้งละประมาณ  200  ฟอง  ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ  1  วัน           ปลาหางนกยูง  (MILLIONS  FISH)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  4-6  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลอม

ปลารัมมี่โนส

รัมมี่โนส คนที่ตั้งชื่อปลาตัวเล็กๆหน้าตาคล้ายปลาซิวชนิดนี้ว่า “รัมมี่โนส เตตร้า” หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “รัมมี่โนส” นั้น นอกจากจะช่างคิดแล้ว ยังต้องเป็นคนรวยอารมณ์ขันแน่ๆ ทำไมน่ะหรือ? หากมองเผินๆ ปลาอย่างรัมมี่โนสดูเป็นปลาที่ไม่มีอะไรน่าสนใจ ยิ่งถ้าใครได้เห็นตอนที่เพิ่งใส่พวกมันลงไปในตู้ใหม่ๆคงต้องส่ายหัวกันทุกราย เพราะนอกจากจะไร้สีสันจนถึงขั้นจืดสนิทแล้ว ยังไม่มีจุดเด่นเอาเสียเลย แต่ถ้าลองปล่อยให้พวกมันใช้เวลาปรับตัวในตู้อีกสักหน่อย คนที่เคยเห็นในตอนแรกอาจต้องร้องด้วยความประหลาดใจว่า นี่หรือคือปลาที่ฉันเคยเห็น เพราะนอกจากส่วนหน้าที่แดงเด่นขึ้นมาผิดหูผิดตาเป็นสีเชอร์รี่สดแล้ว หางยังมีลายสีขาวสลับดำให้ดูเก๋ไก๋ไปอีกแบบ ยิ่งถ้าได้อยู่ในตู้ที่เต็มไปด้วยพรรณไม้น้ำสีเขียวชอุ่ม สีของปลาชนิดนี้ก็จะยิ่งตัดกันมากขึ้นอีกหลายเท่า ทำให้คนที่นิยมเลี้ยงพรรณไม้น้ำทั้งหลายต่างนิยมนำปลาชนิดนี้ไปเลี้ยงเพื่อเพิ่มสีสันให้กับตู้ไม้น้ำใบงามของตน ถึงแม้ปลาชนิดนี้จะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแม่น้ำเนโกรและเมตา ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของมหานทีอย่างอะเมซอนที่เข้าถึงได้ยาก แต่ปลาจำนวนมากก็ถูกรวบรวมจากธรรมชาต