ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปลาคราวเตตร้า

คราวน์เตตร้าคือปลาขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ อาศัยอยู่ในแม่น้ำคองโกและทะเลสาบทังกันยิกา ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันคือ Distichodus sexfasciatus (อ่านว่า “ดิสทิโคดัส เซ็กส์ฟาสเซียตัส”) ฝรั่งตั้งชื่อทางการค้าให้ว่า Six-Barred Distichodus แต่นักเลี้ยงปลาบ้านเราถนัดเรียกมันว่า “คราวน์เตตร้า” ซึ่งเรียกกันมาหลายสิบปีแล้วตั้งแต่นำเข้ามาใหม่ ๆ คราวน์เตตร้ามีรูปร่างหน้าตาแปลกประหลาด กล่าวคือมีรูปทรงยาวลำตัวกว้างโดยเฉพาะช่วงกลางตัว ในขณะที่ส่วนหัวเล็ก ปากเรียวเล็กงุ้มลงเป็นจะงอยคล้ายปากนก มีฟันคมแข็งแรงสำหรับกัดจิกแทะพืชเหนียว ๆ แข็ง ๆ หรือแม้กระทั่งใช้ขบเปลือกของสัตว์มีกระดองต่าง ๆ เพื่อกินเนื้อข้างในเป็นอาหาร ครีบของคราวน์เตตร้ามีสีแดงสด ครีบหลังแบ่งเป็นครีบกระโดงที่ตั้งสูงชันมีขนาดใหญ่กับครีบไขมันที่อยู่ถัด ไปทางหางซึ่งมีขนาดเล็กมากแต่ก็ยังคงสีแดงสดไว้ได้อย่างสวยงาม จุดเด่นของปลาชนิดนี้นอกจากสีแดงของครีบทุกครีบแล้วยังมีลายสีดำพาดเป็นแนว ตั้งบนพื้นลำตัวสีเหลืองอีก 6 ลาย (นี่คือที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ว่า sexfasciatus โดยคำว่า sex แปลว่า 6 และ fasciatus แปลว่าลาย) แต่ก็มีบ้างที่พบคราวน์เตตร้า 7 ลาย ทว่าไม่บ่อยนัก ใครที่เห็นปลาคราวน์เตตร้าที่เขาขายตามร้านขายปลาก็มักคิดว่ามันคงไม่โตเท่า ไหร่นัก ซึ่งคิดผิดครับ ปลาชนิดนี้เป็นปลาใหญ่มาก ๆ ทีเดียว ในธรรมชาติปลาคราวน์เตตร้าขนาดเกินฟุตถูกพบเห็นบ่อยมาก และขนาดใหญ่ที่สุดของมันที่เคยวัดกันก็มีความยาวถึง 76 ซ.ม.! ทว่าปลาที่เลี้ยงในตู้มักไปได้ไม่ถึงครึ่งของขนาดจริง โดยส่วนใหญ่จะอยู่ราว ๆ 30-40 ซ.ม. ซึ่งก็ถือว่าใหญ่มากแล้วสำหรับปลาเลี้ยงสวยงามในตู้กระจก
ธรรมชาติ ของปลาคราวน์เตตร้าจะว่ายหากินเป็นฝูงตามพื้นน้ำ จิกกินพืชและสัตว์ขนาดเล็ก ๆ กินเป็นอาหารตลอดทั้งวัน ขนาดที่ใหญ่โตของมันจึงไม่ค่อยมีศัตรูมากเท่าไหร่นัก นอกจากปลานักล่าขนาดยักษ์กับมนุษย์อย่างเรา ๆ นี่แหละ อุปนิสัยของคราวน์เตตร้าเรียกได้ว่าโครตดุ ใครที่เคยเลี้ยงจะรู้ว่ามันไล่กัดปลาแทบทุกชนิดแม้กระทั่งปลาที่ใหญ่กว่ามัน เพราะฉะนั้นการเลี้ยงเดี่ยวคงจะเหมาะสุดสำหรับปลาชนิดนี้ ยกเว้นผู้เลี้ยงมีตู้ใหญ่ยักษ์ก็สามารถเลี้ยงคราวน์เตตร้าเป็นฝูงหรือรวมกับ ปลาขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่นปลาหมอสี ปลาอะโรวาน่า ปลาไบเคอร์ ปลาแคทฟิชชนิดต่าง ๆ ฯลฯ
การจัดตู้สำหรับเลี้ยงคราวน์เตตร้าเน้นให้มี พื้นที่โล่งค่อนข้างมาก ใช้ทรายหรือกรวดเป็นวัสดุปูพื้นได้ แต่ไม่ควรปลูกพืชน้ำใบอ่อนเพราะปลาจะจิกแทะเป็นอาหารจนเกลี้ยง ควรประดับตกแต่งตู้ด้วยขอนไม้และหินประดับจะทำให้ตู้ดูเป็นธรรมชาติมีชีวิต ชีวา เนื่องจากในธรรมชาติปลาคราวน์เตตร้าจะกินได้ทั้งพืชและสัตว์ อาหารที่เหมาะสมกับมันเมื่อนำมาเลี้ยงในตู้คือผักชนิดต่าง ๆ เช่นกะหล่ำปลี ถั่วลันเตา ผักขม แครอท ก่อนนำมาให้ควรแช่น้ำนาน ๆ และลวกด้วยน้ำร้อนเพื่อให้ผักนิ่มและจมเนื่องจากปลาคราวน์เตตร้าชอบกินอาหาร ตามพื้นมากกว่าจะกินบนผิวน้ำ นอกจากนั้นควรให้อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ด้วย เช่นเนื้อกุ้ง ปลา หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรืออาจใช้ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง ที่มีขายตามร้านปลาสวยงามก็ได้เช่นกัน แต่ควรระวังเรื่องความสะอาด ก่อนนำไปให้ปลากินควรแช่น้ำสะอาดทิ้งไว้สักระยะก่อน ปลาคราวน์เตตร้าที่เริ่มเชื่องจะสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ เริ่มแรกแนะนำให้ใช้อาหารชนิดจมของปลาทองหรือปลาหมอสี เพื่อให้ปลากินง่าย ใช้เวลาไม่นานปลาจะเริ่มคุ้นและกล้าขึ้นมากินบนผิวน้ำได้จึงค่อยเปลี่ยนเป็น อาหารที่เหมาะสมต่อไป คราวน์เตตร้ากินเก่งมีของเสียมาก ดังนั้นต้องให้ความสำคัญกับระบบกรองน้ำและเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำ หากปล่อยน้ำทิ้งไว้นานปลาอาจเจ็บป่วยได้ง่าย และเป็นเช่นเดียวกับปลาในกลุ่มเตตร้าทั้งหลายทั้งปวงคือพวกมันแพ้สารเคมีทุก ชนิด เมื่อจะทำการรักษาด้วยยาจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังอย่างมาก ดีที่สุดคือพยายามเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้มันเจ็บป่วยครับ มันเป็นปลานิสัยดุร้ายก้าวร้าว การจะเอาไปเลี้ยงรวมกับปลาอื่นในตู้ที่ท่านมีอยู่เป็นไปได้ยากยิ่ง ประการที่สอง คราวน์เตตร้ามีขนาดใหญ่มากและอายุยืนเกินสิบปี หากจะเลี้ยงในระยะยาวต้องมีตู้ใหญ่มาก ๆ ประการสุดท้าย คราวน์เตตร้าในวัยเด็กจะมีสีสวยสะดุดตา สีเหลืองสดบนพื้นลำตัวตัดกับลายสีดำฉึบฉับ และสีแดงสดของครีบทุกครีบนั้นก็แสนจะน่าอัศจรรย์ ทว่าเมื่อเวลาผ่านพ้นไปหลายปีเข้า ปลาคราวน์เตตร้าในวัยโตสีจะเริ่มเลือนและเข้มคล้ำ ดูไม่สวยสดอย่างปลาเล็ก ท่านที่คาดหวังว่าปลาคราวน์เตตร้าจะมีสีอย่างตอนซื้อมาตลอดไปคงต้องคิดอีก ครั้ง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปกรณ์ที่จำเป็น ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม

อุปกรณ์ที่จำเป็น  ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม การเลี้ยงปลาตู้นั้น        มีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อย่างมาก  อีกทั้งในปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ ในการเลี้ยงปลาตู้ให้เลือกหลากชนิด  ดังนั้นเราจึงควรไตร่ตรองและคิดให้ดีว่าอุปกรณ์ชิ้นใดจำเป็น  หรือไม่ต่อการเลี้ยงปลาตู้  การใส่อุปกรณ์หรือสิ่งประดับมากมายลงในตู้นั้นนับว่าเป็นอันตรายต่อปลาอย่างยิ่ง  เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรเน้นถึงความสวยงามในเรื่องของการประดับตู้ปลามากกว่าการมีชีวิตอยู่ของปลา  อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงควรพิจารณาก็คือ  การดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ  ให้มีประสิทธิภาพ  และ  มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน  ทั้งนี้ก็เพื่อดำรงชีวิตอยู่ของปลาที่น่ารักของเรานั่นเอง       1.  ตู้ปลา     ก่อนที่เราจะเลือกซื้อตู้ปลานั้น  เราต้องคำนึงถึงชนิดและขนาดของปลาที่จะเลี้ยงว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใด  ถ้าจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดเล็กได้  แต่ถ้าจะเลือกเลี้ยงปลาที่มีลำตัวยาวอย่างเช่นปลาอะโรวาน่าต้องใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้ปลาว่ายน้ำได้สะดวก      เมื่อซื้อตู้ปลาตามขนา

โรคของปลาสวยงาม จุดขาว

โรคจุดขาว เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับปลาสวยงามของคุณง่าย เรามารู้จักกันดีกว่า  เกิดจากปรสิตชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Ichthyophthirius multifiliis ปรสิตชนิดนี้อยู่ในกลุ่ม ciliated protozoan คือมีขนรอบๆเซลล์ของมัน เราจะเรียกชื่อโรคที่เกิดจากเชื้อตัวนี้สั้นๆ ง่ายๆว่า อิ๊ค (Ich, Ick) หรือ โรคจุดขาว (white spot disease) นั่นเองครับ เชื้ออิ๊คนี่ มีขนาดประมาณ 0.5-1 มม. เลยทีเดียว ซึ่งเป็นขนาดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าชัดเจนครับ ซึ่งระยะดังกล่าวที่มองเห็นได้นี่ เป็นระยะโตเต็มวัยของเชื้ออิ๊ค ซึ่งจะพบอยู่บนร่างกายของปลาแทบทุกส่วนเลยครับ เมื่อเราส่องกล้องดูเชื้ออิ๊ค ลักษณะเด่นที่จะระบุตัวเชื้อได้ ก็คือ เชื้อมีลักษณะกลม มีขนขนาดเล็กรอบๆเซลล์ และมีนิวเคลียส โค้งงอเป็นรูปเกือกม้า  ระยะของเชื้อมีอยู่ 3 ระยะ  1.เชื้ออิ๊คในระยะโตเต็มวัยเราเรียกว่า  Trophont  นี้จะแทรกเข้าไปอาศัยอยู่ในระหว่างชั้นเนื้อเยื่อของปลาเคราะห์ร้ายทั้งในบริเวณผิวหนัง ครีบ เหงือก ดวงตา ฯลฯ จนโตเต็มที่ ระยะเวลาที่เชื้ออิ๊คจะเกาะอยู่บนตัวปลา กินเวลาตั้งแต่ 4-40 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับอุณหภูมิน้ำ ยิ่งอุณหภูมิน้ำสูง มีแนวโน้มว่า เชื้อจะเจริญเติ

ปลาอินทรีเน็ต

อินซิกนิส ตะเพียนหางสวยจากลุ่มน้ำอะเมซอน เมื่อวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา หลายคนคงจะไปเที่ยวต่างจังหวัด จูงมือลูกๆหลานๆหรือบางคนอาจจะเกี่ยวก้อยคนรู้ใจเดินเล่นรับลมหนาวอยู่บนยอดดอย นอนดูดาวแล้วนับถอยหลังเริ่มต้นปีใหม่กันกระหนุงกระหนิง คิดแล้วผมก็อดที่จะอิจฉาไม่ได้ เพราะไม่มีโอกาสได้ทำแบบที่กล่าวมาเลยสักอย่าง วันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมาผมทำตัวเป็นกบจำศีลอยู่กับบ้านไม่อยากออกไปไหน ใครมาชวนก็ไม่ไป ไม่อยากจะบอกว่าเงินไม่มี(ฮา) แต่ก็ใช่ผมจะไม่หาที่เที่ยวเอาเลยในช่วงวันหยุดยาวๆแบบนี้ เพราะผมไปเดินเล่นที่ตลาดธนบุรีหรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า “สนามหลวง2” ไปในครั้งนี้ผมเองก็ได้ปลาติดไม้ติดมือกลับมาบ้านหลายตัวอยู่เหมือนกัน รวมถึงตู้ปลาอีกหนึ่งชุด เดินเล่นไปเรื่อยๆสบายๆเพราะว่าวันหยุดยาวๆแบบนี้ร้านค้าส่วนใหญ่จะปิดและคนมาเดินก็น้อย ไม่เบียดเสียดนี่ล่ะสวรรค์ของผม ผมเดินมาหยุดอยู่ที่ร้านขายปลาร้านหนึ่ง และกำลังเลือกซื้อปลาหมอสีตัวน้อยๆและปลาหมูลายเฆมและหมูอินโด ขณะนั้นเองหูผมก็ได้ยินเสียงลูกค้าท่านหนึ่งที่มากับภรรยาและทารกน้อย(ทารกน้อยจริงๆเพราะอายุไม่น่าจะเกินสามเดือน

ปลาสวยงาม ที่น่าเลี้ยง

ปลาสวยงาม  ที่น่าเลี้ยง  ปลาที่มีลำตัวยาวไม่เกิน  5  เซนติเมตร ปลานีออนดำ  (BLACK  NEON  TETRA)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  3  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวสีน้ำตาล  บริเวณข้างลำตัวมีแถบลายสีขาวเรืองแสง  และมีพื้นดำคาดตามลำตัวจากใต้แผ่นเหงือกยาวจรดโคนหาง  ขอบตาด้านบนสีแดง           -  ปลาตัวผู้จะมีขนาดเล็กและเพรียวกว่าตัวเมีย  และมีสีสันสดใสกว่า           -  นีออนดำเป็นปลารักสงบ  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง  ตื่นตกใจง่าย           -  ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงใหญ่  หรืออาจเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันเพื่อจะได้ไม่ถูกปลาอื่นทำร้าย ชอบอยู่ในน้ำที่ใสสะอาด  และมีพุ่มไม้น้ำหรือสาหร่ายให้แหวกว่าย           -  ชอบกินอาหารสดมากกว่าอาหารสำเร็จรูป  แต่อาหารสำเร็จรูปก็ใช้เลี้ยงได้เช่นกัน           -  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่  วางไข่ครั้งละประมาณ  200  ฟอง  ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ  1  วัน           ปลาหางนกยูง  (MILLIONS  FISH)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  4-6  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลอม

ปลารัมมี่โนส

รัมมี่โนส คนที่ตั้งชื่อปลาตัวเล็กๆหน้าตาคล้ายปลาซิวชนิดนี้ว่า “รัมมี่โนส เตตร้า” หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “รัมมี่โนส” นั้น นอกจากจะช่างคิดแล้ว ยังต้องเป็นคนรวยอารมณ์ขันแน่ๆ ทำไมน่ะหรือ? หากมองเผินๆ ปลาอย่างรัมมี่โนสดูเป็นปลาที่ไม่มีอะไรน่าสนใจ ยิ่งถ้าใครได้เห็นตอนที่เพิ่งใส่พวกมันลงไปในตู้ใหม่ๆคงต้องส่ายหัวกันทุกราย เพราะนอกจากจะไร้สีสันจนถึงขั้นจืดสนิทแล้ว ยังไม่มีจุดเด่นเอาเสียเลย แต่ถ้าลองปล่อยให้พวกมันใช้เวลาปรับตัวในตู้อีกสักหน่อย คนที่เคยเห็นในตอนแรกอาจต้องร้องด้วยความประหลาดใจว่า นี่หรือคือปลาที่ฉันเคยเห็น เพราะนอกจากส่วนหน้าที่แดงเด่นขึ้นมาผิดหูผิดตาเป็นสีเชอร์รี่สดแล้ว หางยังมีลายสีขาวสลับดำให้ดูเก๋ไก๋ไปอีกแบบ ยิ่งถ้าได้อยู่ในตู้ที่เต็มไปด้วยพรรณไม้น้ำสีเขียวชอุ่ม สีของปลาชนิดนี้ก็จะยิ่งตัดกันมากขึ้นอีกหลายเท่า ทำให้คนที่นิยมเลี้ยงพรรณไม้น้ำทั้งหลายต่างนิยมนำปลาชนิดนี้ไปเลี้ยงเพื่อเพิ่มสีสันให้กับตู้ไม้น้ำใบงามของตน ถึงแม้ปลาชนิดนี้จะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแม่น้ำเนโกรและเมตา ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของมหานทีอย่างอะเมซอนที่เข้าถึงได้ยาก แต่ปลาจำนวนมากก็ถูกรวบรวมจากธรรมชาต