ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2011

ปลาฟลาวเวอร์ฮอร์น

หมอฟลาวเวอร์ฮอร์น ปลาฟลาวเวอร์ฮอร์น (Flowerhorn ) ปลาฟลาวเวอร์ฮอร์น หรือในภาษาจีนที่เรียกว่า ของปลาฮัวหลอฮั่น เป็นปลาที่เพาะขึ้น โดยการผสมข้าม สายพันธุ์ระหว่างปลาหมอ นกแก้วกับปลาหมอสี สายพันธุ์ใหญ่จากอเมริกาไต้ มันมีลำตัวที่สวยงาม อันเป็นที่สนใจ ของนักสะสมพันธ์ปลาทั่วไป ปลาฟลาวเวอร์ฮอร์น เป็นปลาที่มีความอดทนมาก เพราะสามารถทนต่อทุกสภาวะน้ำ ซึ่งอาจเป็นสภาวะ ที่ไม่เหมาะสม สำหรับพันธุ์ปลาส่วนมาก เนื่องจากปลาฟลาวเวอร์ฮอร์น มีเชื้อสาย Cichlid จากแถบอเมริกาใต้ จึงมีนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่น ปลาฟลาวเวอร์ฮอร์น จึงเป็นปลาที่ดุ ไม่แนะนำให้เลี้ยงปลาอื่น ๆ ร่วมกับ ปลาฟลาวเวอร์ฮอร์น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปลาที่มีขนาดเล็กกว่า ควรเลี้ยงในตู้ที่มีระบบกรอง เพื่อให้ปลามีความแข็งแรง โตเร็ว ทั้งนี้ เพราะตู้ระบบกรอง จะมีน้ำหมุนเวียนตลอดเวลา และควรรองกรวด สีเหลืองอมแดง และปะการังปนบ้าง (กรวดสีแดง จะช่วยให้ปลามีสีตามสิ่งแวดล้อม ปะการัง จะเป็นที่เพาะจุลินทรีย์ ที่จะทำให้น้ำใส ค่า PH คงที่) ลักษณะที่น่าสนใจ : หนึ่งในปลาที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งลักษณะที่แสดงถึงความมีโชคลาภของผู้ครอบครอง หมายเหต : ดุร้า

ปลาเสือพ่นน้ำ

ปลาเสือพ่นน้ำ : Archer Fish ในวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (วงศ์: Toxotidae) คำว่า "Toxots" เป็นภาษากรีกหมายถึง นักยิงธนู ปลาจำพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) ในสกุลนี้มีทั้งสิ้น 7 ชนิดครับ ปลาในวงศ์นี้มีขนาดตั้งแต่ 15 เซนติเมตร (เสือพ่นน้ำนครสวรรค์)ถึง 40 เซนติเมตร (ชนิดอื่นๆ) ปากยาว จะงอยปากยืดได้ มีลำตัวป้อม แบนข้าง ตากลมโต ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยง 4-5 ชิ้น ตอนหลังเป็นครีบอ่อน เกล็ดเป็นแบบสาก(Ctenoid) อาศัยเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ แมลง ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก มีความสามารถพิเศษคือ พ่นน้ำได้ไกลถึง 1-2 เมตร เพื่อยิงแมลงให้ตกลงน้ำเป็นอาหาร สมชื่อภาษาอังกฤษว่า "ปลานักยิงธนู" (Archer Fish) ถ้าแมลงยังไม่ตก จะยิงซ้ำสำเร็จ สามารถเปลี่ยนพิกัดมุมยิงได้อีกด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะปลาในวงศ์นี้มีลิ้นที่ยาว และมีร่องลึกที่ลิ้น ประกอบกับจะงอยปากที่กว้างพอดีที่จะพ่นน้ำออกมาได้ในลักษณะเดียวกับปืนฉีดน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถกระโดดขึ้นงับเหยื่อเหนือน้ำได้สูงถึง 1 ฟุต วางไข่ในฤดูฝนแถบชายฝั่งทะเลหรือปากแม่น้ำ โดยมี

ปลาสายน้ำผึ้ง

ปลาน้ำผึ้งมีลักษณะลำตัวเรียวคล้ายทรงกระบอก (fusiform)ตาค่อนไปทางด้านบนของหัวครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังมีก้านครีบอ่อน มีช่องเปิดให้น้ำผ่านเพื่อการหายใจแลกเปลี่ยนออกซิเจน เรียกว่า spiracles (ภาพที่ 2) อยู่บริเวณหลังตาตอนบนของแผ่นปิดเหงือก (operculum) มีตุ่ม (tubercles) รวมกันเป็นกลุ่มอยู่บริเวณจะงอยปากปลาน้ำผึ้งเป็นปลามีเกล็ดที่มีขนาดเล็ก ปากเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะสำหรับดูดเกาะ ช่องเปิดเหงือกมี 2 ช่อง ช่องบนอยู่ในแนวหลังตาเรียกว่า spiracles สำหรับ ให้น้ำเข้าแทนปากขณะที่ใช้ปากดูดเกาะติดกับหินหรือวัตถุใต้น้ำ ส่วนช่องเหงือกด้านล่างมีแผ่นปิดเหงือกคลุมเหมือนปลาทั่วไปซี่กรองเหงือก สั้นจำนวนมากเรียงติดกันเป็นแถว กินเศษอาหาร ตะไคร่ พืชน้ำ ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นปลากินตะไคร่อันอับต้นๆ ราคาไม่แพง หมายเหต : ขนาดโตเต็มที่ไม่ใหญ่นักทำให้เสี่ยงต่อการถูกอโรวาน่าขนาดใหญ่ทำร้าย

ปลาเสือตอเขมร

เสือตอเขมร,เสือตอเวียดนาม ปลาเสือตอลายใหญ่ (อังกฤษ: Siamese tigerfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Datnioides pulcher เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ปลาเสือตอ (Datnioididae) มีรูปร่างแบนข้าง ปากยาวสามารถยืดได้ ครีบก้นเล็กมีก้านครีบแข็ง 3 ชิ้น ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็งมีเงี่ยง 13 ชิ้น ตอนหลังเป็นครีบอ่อน พื้นลำตัวสีเหลืองน้ำตาลจนถึงสีส้มอมดำ มีแถบสีดำคาดขวางลำตัวในแนวเฉียงรวมทั้งสิ้นประมาณ 5-6 แถบ หรือ 7 แถบ ส่วนหัวมีลักษณะลาดเอียงมาก เกล็ดเป็นแบบสาก (Ctenoid) มีลักษณะนิสัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ใต้น้ำ โดยมักจะอาศัยบริเวณใกล้ตอไม้หรือโพรงหินด้วยการอยู่ลอยตัวอยู่นิ่งๆ หัวทิ่มลงเล็กน้อย หากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารแบบฉกงับ อาหารได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กและแมลงต่างๆ มีขนาดลำตัวโตสุดประมาณ 40 เซนติเมตร หนักถึง 7 กิโลกรัม เป็นปลาที่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายในประเทศไทย เป็นสัตว์น้ำจืดคุ้มครองของกรมประมงร่วมกับปลาชนิดอื่น อีก 3 ชนิด (ปลาตะพัด (Scleropages formosus), ปลาหมูอารีย์ (Yasuhikotakia sidthimunki) และ ปลาค้างคาวดอยอินทนนท์ (Oreoglanis siamensis)) ซึ่งหากใครจะค้าข

ปลาเรดเทล

เรดเทลแคทฟิช ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phractocephalus Hemioliopterus (Schneider, 1801) วงศ์ : Pimelodidae ถิ่นกำเนิด : ลุ่มน้ำอเมซอน อเมริกาใต้ อุณหภูมิ : 22 - 28 pH : 6.8 - 7.0 ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย 1.5 เมตร การขยายพันธุ์ : วางไข่ อาหาร : ปลาเล็ก สัตว์เล็กกว่า เนื้อหมู เนื้อไก่ เรด เทลแคทฟิช (Redtailed Catfish) จัดเป็น ปลาหนังไม่มีเกล็ด ผิวด้านสาก ลำตัวใหญ่ ปากกว้าง ใหญ่ ส่วนหัวแบนโตและแข็ง มีหนวด 3 คู่ ใช้คลำทางหาอาหาร เนื่องจากมีสายตา ที่ไม่ค่อยดี ครีบอกมีเงี่ยงแข็ง พื้นลำตัวสีดำ คาดขาวยาวตั้งแต่ ปากจดปลายหาง มีจุดดำบริเวณส่วนหัว ครีบหางเป็นสีแดง มีอุปนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่น ชอบกินปลา ที่มีขนาดพอดี หรือใหญ่กว่า ปาก เป็นอาหารได้ กินเก่ง โตไว ถ้าจะเลี้ยงรวมกับปลาอื่น ควรเป็นปลาขนาดใหญ่ด้วยกัน อาทิ อะโรวาน่า หรือ ปลายักษ์ ขนาดอื่นๆ ที่ ว่ายน้ำ อยู่ในคนละชั้นโซน เนื่องจาก ปกติ ปลาชนิดนี้ มักจะอยู่ตามพื้นตู้ ลักษณะที่น่าสนใจ : สีสันสวยงาม โดยเฉพาะพวกสีแปลกๆที่ผสมได้ในช่วงนี้, กินง่ายกินเศษอาหารได้ดี,กินเก่งโตไว หมายเหต : ขึ้นชื่อเรื่องการเขมือบเมทขนาดไล่เลี่ยกัน ดังนั้นควรเล

ปลาฟลอริด้า

ฟลอริด้า ชื่อไทย ฟอริดา ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepisosteus platyrhincus ชื่อสามัญ florida Gar ถิ่นกำเนิด ทางใต้ของเเหลมฟอริดา ขนาด ในที่เลี้ยง ประมาณ 30 นิ้ว  ลักษณะที่น่าสนใจ : เป็นกลุ่มการ์(ปลาเข็ม)ที่มีขนาดเหมาะที่จะเลี้ยงในตู้ หมายเหต : หากตกใจอาจว่ายชนตู้จนปากเกิดแผลได้ง่าย , หากตู้เล็กจะกลับตัวยาก และการว่ายที่ผิวน้ำจะทำให้ปะทะกับอโรวาน่าบ่อยครั้ง

ปลาปล้องอ้อย

ปล้องอ้อย ปลาปล้องอ้อย Banded Leporinus ถิ่นที่อยู่อาศัย ปลาชนิดนี้ไม่ได้กำเนิดในประเทศไทย มีแหล่งกำเนิดที่อเมริกาใต้ รูปร่างลักษณะ ปลาลีโปรินัสเป็นปลาที่มีสีและลวดลาย สวยงาม แปลกตา ปลาชนิดนี้มีลวดลายดำพาดขวางลำตัว เช่นเดียวกับปลาปล้องอ้อยของไทยสีของลำตัวเป็นปล้อง ๆ เหมือนกัน ปลาลีโปรินัสมีลำตัวค่อนข้างยาว มีลายดำพวดขวางประมาณ 10 ลาย ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 ซม. อุปนิสัย ปลาลีโปรินัสเป็นปลารูปทรงดี แข็งแรง ปราดเปรียว ปลาชนิดนี้ค่อนข้างตื่นตกใตง่ายและกระโดดเก่ง เป็นปลาที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง ในตลาดปลาสวยงามวงการตลาดของเราได้สั่งจากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยง และกำลังศึกษาเรื่องการเพาะขยายพันธุ์อยู่จากความว่องไวปราดเปรียวของปลาลี โปรินัสนี้มีคำแนะนำว่า ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ซึ่งอ่อนแอหรือเชื่องช้า เพราะอาจจะถูกมันทำร้ายได้ การเลี้ยงดู ปลาลีโปรินัส กินอาหารทั้งพืชและเนื้อสัตว์ อาหารที่มันชอบ ได้แก่สาหร่าย พืชน้ำบางชนิด ไรน้ำ ไส้เดือน หนอนแดง ลูกน้ำ สำหระบในตู้กระจกที่เลี้ยงปลาชชนิดนี้ ควรมีฝาปิด เพื่อป้องกันการกระโดด ลักษณะที่น่าสนใจ : ลายเหลืองสลับดำมีความสวยงาม,ตัวเล็กแต่ว่องไว

ปลาไทเกอร์

ไทเกอร์แคทฟิช ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseudoplatystoma fasciatum (Linnaeus, 1766) วงศ์ : Pimelodidae ถิ่นกำเนิด : ลุ่มน้ำอเมซอน อเมริกาใต้ การขยายพันธุ์ : วางไข่ อาหาร : ปลาเล็ก สัตว์เล็กกว่า เนื้อหมู เนื้อไก่ ปลา ไทเกอร์ โชเวลโนส(Tiger Shovelnose Catfish) เป็นปลาหนัง ไม่มีเกล็ด ปลาหนังไม่มีเกล็ด ลำตัวเรียวยาว ส่วนหัวแบน ปากยื่นออกมามาก มีหนวด 3 คู่ ใช้คลำทางหาอาหาร เนื่องจากมีสายตา ที่ไม่ค่อยดีครีบอกมีเงี่ยงแข็ง พื้นลำตัวสีน้ำตาล เทา มีลายสีดำคาดขวางลำตัว คล้ายลายเสือ บริเวณครีบและหาง มีจุดสีดำกระจายทั่วไป มีอุปนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่น ชอบกินปลา ที่มีขนาดพอดี หรือใหญ่กว่า ปาก เป็นอาหารได้ กินจุ โตไว ถ้าจะเลี้ยงรวมกับปลาอื่น ควรเป็นปลาขนาดใหญ่ด้วยกัน อาทิ อะโรวาน่า หรือ ปลายักษ์ ขนาดอื่นๆ ที่ ว่ายน้ำ อยู่ในคนละชั้นโซน เนื่องจาก ปกติ ปลาชนิดนี้ มักจะอยู่ตามพื้นตู้

ปลาเทวดา

ปลาเทวดา (อังกฤษ: Angel fish) ชื่อสามัญเรียกชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Pterophyllum ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างโดยรวมเป็นรูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว ลำตัวแบนข้างมาก มีปากขนาดเล็ก ครีบหลังเป็นกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหลังบานยาวออกมาจากลำตัว ครีบท้องมีอยู่หนึ่งคู่เรียวเล็กและปลายชี้แหลม พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำโอริโนโคในทวีปอเมริกาใต้และลุ่มแม่น้ำใกล้ เคียง โดยนิยมอยู่เป็นฝูงในถิ่นที่มีพืชพรรณไม้น้ำขึ้นหนาแน่น และสภาพน้ำมีความเป็นกรดประมาณ 5-5.5 ปลาเทวดาได้รับความนิยมในแง่ของการเป็นปลาตู้สวยงามมาช้านาน โดยผู้เลี้ยงนิยมเลี้ยงในตู้ไม้น้ำ ซึ่งปลาเทวดาเป็นปลาที่มีอุปนิสัยเรียบร้อย แต่ถ้าหากก้าวร้าวแล้วก็จะค่อนข้างยากที่จะเลี้ยงรวมกับปลาประเภทอื่น ๆ โดยมนุษย์นั้นได้พัฒนาสายพันธุ์ของปลาเทวดาชนิด P. scalare ให้มีสีสันแตกต่างจากเดิมไปมาก เช่น เทวดาหินอ่อน ที่มีสีสันเป็นสีดำสลับกับขาวทั้งตัว, เทวดาดำ ที่เป็นสีดำทั้งตัว, เทวดาแพล็ตตินั่ม ที่มีทั้งสีขาวสะอาดตา ดวงตาสีดำ และสีทองเหลือบเป็นประกายทั้งตัว ดวงตาสีแดง, เทวดามุก ที่เป็นสีเหลืองอ่อน ๆ ดูสะอาดตาทั้งตัว เป็นต้น

ปลาแซมบ้า

แซมบ้า ปลาบ้า เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leptobarbus hoevenii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อยปลาซิว Danioninae - Danionini จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ย่อยนี้ มีรูปร่างยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวโต นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากกว้างมีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนของหลังสีดำปนเทา ท้องสีขาวจาง ครีบหางสีแดงสดหรือชมพู ครีบอื่นสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร อาหารได้แก่ เมล็ดพืช แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาบ้า อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำโขง แม่น้ำน่าน แม่น้ำมูล รวมถึงลำธารในป่าดงดิบ มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย เมื่อมีคนนำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก จนได้ชื่อว่า "ปลาสุลต่าน" มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-18 ชั่วโมง

ปลาซีบร้าไทเกอร์แคทฟิช

ซีบร้าไทเกอร์ มีชื่อวิทย์ว่า Merodontotus Tigrinus จัดอยู่ในครอบครัว Pimelodidae อ่านออกเสียงว่า pim-a-low-di-deeนะครับ จัดเป็นแคทฟิชขนาดกลาง ประเภทหนวดยาว(Long whiskered ) มีหนวดอยู่ทั้งหมด 3คู่ด้วยกัน โดยมีลักษณะเด่นอยู่ที่ ลวดลายบนลำตัว หางที่มีเปียยาว สีสันบนแก้ม ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 80 ซม. มีถิ่นอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล ทางตอนใต้ของอเมริกา หรือในแม่น้ำที่คุ้นหูกันนั่นคือ แม่น้ำอเมซอนนั่นเอง

ปลาฉลามหางไหม้

ฉลามหางไหม้, หางไหม้ ชื่อไทย : ฉลามหางไหม้, หางไหม้ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Balantiocheilos melanopterus innesi ถิ่นอาศัย : เกาะสุมาตรา บอร์เนียวประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ขนาด : โตเต็มที่ตามแหล่งน้ำในธรรมชาติ มีขนาดถึง14 นิ้ว ลำตัวมีลักษณะแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวมีสีเงิน หางเว้าเป็นสองแฉก ครีบมีสีเหลืองอ่อน ขอบครีบทุกครีบมีสีดำยกเว้นครีบอก ปากมีขนาดเล็กสามารถยืดหดได้ ริมฝีปากบนยื่นยาวกว่าริมฝีปากล่าง อุปนิสัยของปลาชนิดนี้เป็นปลาที่รักสงบ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตื่นตกใจง่าย ชอบกระโดดออกนอกอ่างหรือตู้ มักจะว่ายอยู่ตลอดเวลา การเพาะพันธุ์อาศัยการวางไข่ครั้งประมาณ 6,000 – 7,000 ฟอง ฟักออกเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง การสังเกตุเพศของปลาดูได้จากลักษณะลำตัว โดยปลาตัวเมียลำตัวจะกว้างกว่าตัวผู้ และในช่วงวางไข่ท้องจะอูมกว่า อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาชนิดนี้ใช้ได้ทั้งอาหารสาเร็จรูปและอาหารสดประเภท ลูกน้ำ หนอนแดง ตัวอ่อนแมลง ฯลฯ

ปลาคราวเตตร้า

คราวน์เตตร้าคือปลาขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ อาศัยอยู่ในแม่น้ำคองโกและทะเลสาบทังกันยิกา ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันคือ Distichodus sexfasciatus (อ่านว่า “ดิสทิโคดัส เซ็กส์ฟาสเซียตัส”) ฝรั่งตั้งชื่อทางการค้าให้ว่า Six-Barred Distichodus แต่นักเลี้ยงปลาบ้านเราถนัดเรียกมันว่า “คราวน์เตตร้า” ซึ่งเรียกกันมาหลายสิบปีแล้วตั้งแต่นำเข้ามาใหม่ ๆ คราวน์เตตร้ามีรูปร่างหน้าตาแปลกประหลาด กล่าวคือมีรูปทรงยาวลำตัวกว้างโดยเฉพาะช่วงกลางตัว ในขณะที่ส่วนหัวเล็ก ปากเรียวเล็กงุ้มลงเป็นจะงอยคล้ายปากนก มีฟันคมแข็งแรงสำหรับกัดจิกแทะพืชเหนียว ๆ แข็ง ๆ หรือแม้กระทั่งใช้ขบเปลือกของสัตว์มีกระดองต่าง ๆ เพื่อกินเนื้อข้างในเป็นอาหาร ครีบของคราวน์เตตร้ามีสีแดงสด ครีบหลังแบ่งเป็นครีบกระโดงที่ตั้งสูงชันมีขนาดใหญ่กับครีบไขมันที่อยู่ถัด ไปทางหางซึ่งมีขนาดเล็กมากแต่ก็ยังคงสีแดงสดไว้ได้อย่างสวยงาม จุดเด่นของปลาชนิดนี้นอกจากสีแดงของครีบทุกครีบแล้วยังมีลายสีดำพาดเป็นแนว ตั้งบนพื้นลำตัวสีเหลืองอีก 6 ลาย (นี่คือที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ว่า sexfasciatus โดยคำว่า sex แปลว่า 6 และ fasciatus แปลว่าลาย) แต่ก็มีบ้างที่พบคราวน์เตตร้า 7 ลาย ทว่าไม่บ

ปลากระแห

กระแห ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus schwanenfeldii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Poropunti รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนทอง (B. altus) แต่รูปร่างป้อมสั้นกว่า ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูง หัวค่อนข้างเล็ก ตาโต มีหนวด 2 คู่ที่ริมฝีปาก ปากเล็กอยู่สุดของจะงอยปาก เกล็ดเล็กมีสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบหลังสีส้มมีแต้มสีดำชัดที่ด้านบนสุด ครีบอื่น ๆ มีสีส้มสดยกเว้นขอบบนของครีบอกและขอบล่างของครีบหางที่มีแถบสีดำยาว มีขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร ถึง 25 เซนติเมตร พบอาศัยอยู่เป็นฝูงในแม่น้ำและหนองบึงทุกภาคของประเทศไทย หรือตามหน้าวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำต่าง ๆ โดยมักจะอาศัยอยู่รวมกับปลาตะเพียน (B. gonionotus), ตะเพียนทอง, แก้มช้ำ (Systomus orphoides) หรือปลาในตระกูลปลาตะเพียนชนิดอื่นด้วยกันเสมอ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน ตากแห้ง ทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วยกระแห ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกว่า "กระแหทอง" หรือ "ตะเพียนหางแดง" ในภาษาอีสานเรียก "ลำปำ" ในภาษาใต้เรียก "เลียนไฟ" ภาษาเหนือเรียก "ปก" เป็นต้น

ปลากระสูบ

กระสูบขีด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala macrolepidota อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Systomi มีรูปร่างคล้ายกระสูบจุด (Hampala dispar) แต่ด้านข้างลำตัวมีแถบขวางบริเวณใต้ครีบหลังลงมาถึงท้อง ในปลาขนาดเล็กมีแถบ 2 แถบที่กลางลำตัวและโคนหาง และมีแถบใต้ตาด้วย ครีบมีสีคล้ำแดงเรื่อ ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำ มีขนาดใหญ่กว่ากระสูบจุดซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน (Genus) คือ สามารถยาวได้ถึง 30 ซ.ม. หรือ 60 ซ.ม.พบมากในแม่น้ำโขง และพบบ้างในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะพบได้มากกว่ากระสูบจุดเป็นปลากินเนื้อ จัดเป็นปลานักล่าชนิดหนึ่ง มักไล่จับปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว ปลาวัยอ่อน รวมถึงแมลงน้ำต่าง ๆ ทั้งแม่น้ำและหนองบึง เป็นที่นิยมของนักตกปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นโดยใช้เหยื่อปลอม บริโภคด้วยการปรุงสด หรือทำปลาร้า ปลาส้ม เป็นต้น และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย กระสูบจุด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala dispar อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae - Systomi มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย หัวยาว ปากกว้างมาก มีหนวดสั

ปลาหมูอินโด

   ปลาหมูอินโด เป็นปลาที่เราๆ ท่านๆ รู้จักันเป็นอย่างดี Scientific name:Chromobotia macracanthus (Bleeker, 1852) Common name: Clown Loach มีถิ่นอาศัยในประเทศเพื่อนบ้านของเรา เช่นอินโดนีเซีย มาเลย์ เกาะบอร์เนียว  มันมีขนาดได้ถึง 16 นิ้ว และมีรายงานว่ามีอายุยืนได้ถึง 40 ปี ปลาหมูอินโด ส่วนใหญ่ได้มาจากการจับในธรรมชาติ โดยอาจจับโดยใช้อวน ใช้แห หรือ วิธีที่เห็นในรูปคือใช้กระบอกไม้ไผ่ ล่อให้ปลาหมูเข้าไปอยู่ ในธรรมชาติปลาหมูจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปผสมพันธุ์ และลูกปลาที่เกิดก็จะถูกจับมา โดยมีการประมาณว่าปลาหมูอินโดที่ถูกจับมาขาย มีมากกว่าสิบล้านตัวต่อปี แหล่งที่มาของปลาหมูอินโดที่แตกต่างกัน ก็จะทำให้สังเกตเห็นความแตกต่างได้ โดยสังเกตจากสีของครีบเป็นหลัก ปลาหมูอินโดบางครั้งอาจมีการปรับสี จนสีตัวดร็อปลง ปลาหมูอินโดควรเลี้ยงเป็นกลุ่ม ปลาหมูต้องการน้ำที่สะอาด และควรที่จะมีหัวพ่นน้ำให้ด้วยแต่ไม่ต้องแรง พื้นควรปูด้วยวัสดุที่ไม่หยาบเช่นทรายหรือกรวดละเอียด และควรมีที่ให้ปลาหมูหลบซ่อน อาหารกินได้ทั้งพืชและสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นไรแดง หนอนแดง หอย เนื้อกุ้ง หรือแม้แต่แตงกวาหรือว่าแตงโม น้ำควรจะเป

ปลาคาร์พ หรือ ปลาแฟนซีคาร์พ (CARP)

ปลาคาร์พ  หรือ  ปลาแฟนซีคาร์พ  (CARP)      ปลาคาร์พ  หรือแฟนซีคาร์พเลี้ยงง่าย  โตไว  มีสีสันสวยงาม  เป็นปลาที่มีอายุยืนที่สุดในโลก      ปลาคาร์พแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้      1.  โคฮากุ  มีสีแดงขาวสลับกัน      2.  ไทโช-ซันเก้  มีสีขาว  แดง  และดำสลับกัน  ที่หัวจะมีสีแดงเป็นหลัก      3.  โชวา-ซันโซกุ  มีสีแดง  ขาว  และดำ  และมีสีดำมาสลับลำตัวถึงใต้ท้อง      4.  อุตซูริโมโนะ  มีสีดำเป็นลายแถบ  คล้ายตาข่าย  สลับด้วยสีขาว      5.  เบกโกะ  มีสีดำเป็นตาสลับเหมือนตาข่ายตลอดทั้งลำตัว  เกล็ดสีขาว      6.  อาซากิ  ซูซุย  มีสีน้ำเงินอ่อนสลับเทา      7.  โคโรโมะ  มีเกล็ดสีน้ำเงินเหลือบผสมตลอดทั้งตัว      8.  คาวาริโมโนะ  มีสีสันแปลกกว่าปลาพันธุ์อื่น      9.  โอกอน  พันธุ์เหลืองทอง  มีเกล็ดสีขาวเงางาม  และมีสีทองผสม     10.  ฮิการิโมโย-โมโน  ลำตัวสีเหลืองอ่อน  มีสีแดงสลับดำตลอดทั้งตัว     11.  ฮิการิ-อุตซูริโมโนะ  ลำตัวสีเหลืองอ่อน  มีสีแดงกับดำสลับ     12.  คินกินริน  เกล็ดสีทองและเงินสลับกันทั้งตัว     13.  ตันโจ  ลำตัวมีสีขาว  ที่หัวมีจุดสีแดงเข้ม วิธีการเลี้ยงปลาคาร์พ      ควร

ปลาอะโรวาน่า หรือปลามังกร (AROWANA)

ปลาอะโรวาน่า  หรือปลามังกร  (AROWANA)      เป็นปลาที่มีผู้คนส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงและมีราคาแพง  ปลาอะโรวาน่านี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน  เช่น  ลุ่มน้ำอะเมซอน  แอฟริกา  หรือในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  อย่างประเทศไทย  อินโดนีเซีย  เป็นต้น  ปลาอะโรวาน่าจะมีโครงสร้างของหลอดอาหารขนาดใหญ่  และมีกระดูกที่ลิ้น  มีเกล็ดขนาดใหญ่  ซึ่งเป็นปลาโบราณที่ยังหลงเหลือจากยุคหิน  ปัจจุบันนี้มีการนำปลาอะโรวาน่ามาขยายพันธุ์อย่างกว้างขวาง      สำหรับพันธุ์ที่พบในประเทศไทยนั้นมีลำตัวสั้น  ไม่เรียวยาวเหมือนกับอะโรวาน่าที่พบในลุ่มน้ำอะเมซอน  ซึ่งการมีลักษณะแตกต่างเช่นนี้อาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน  ปลาอะโรวาน่ามีหลายชนิดด้วยกัน  ซึ่งแต่ละชนิดจะแบ่ง ตามสีของเกล็ด  ซึ่งจะกล่าวดังต่อไปนี้ 1.  ปลา  อะโรวาน่าสีเงินหรือสีขาว  (SILVER  AROWANA)      มีขนาดลำตัวเฉลี่ยประมาณ  120  เซนติเมตร  ช่วงลำตัวยาวเรียวและแบน  มีพื้นลำตัวเป็นสีเงิน  มีความแวววาวส่วนครีบสีน้ำเงินอมเทามีของครีบสีเหลือง  ปากมีขนาดใหญ่และจะมีหนวด  2  เส้น  อยู่ใต้ริมฝีปากล่าง  รวมทั้งมีลิ้นอีกด้วย  ข้อสังเกตเพศปลา  ถ้าเป็นเพศผู้จะมีลำตัวยาว

ปลาสวยงามยอดฮิต

ปลายอดฮิต ปลาอะโรวาน่า  หรือปลามังกร  (AROWANA)      เป็นปลาที่มีผู้คนส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงและมีราคาแพง  ปลาอะโรวาน่านี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน  เช่น  ลุ่มน้ำอะเมซอน  แอฟริกา  หรือในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  อย่างประเทศไทย  อินโดนีเซีย  เป็นต้น  ปลาอะโรวาน่าจะมีโครงสร้างของหลอดอาหารขนาดใหญ่  และมีกระดูกที่ลิ้น  มีเกล็ดขนาดใหญ่  ซึ่งเป็นปลาโบราณที่ยังหลงเหลือจากยุคหิน  ปัจจุบันนี้มีการนำปลาอะโรวาน่ามาขยายพันธุ์อย่างกว้างขวาง      สำหรับพันธุ์ที่พบในประเทศไทยนั้นมีลำตัวสั้น  ไม่เรียวยาวเหมือนกับอะโรวาน่าที่พบในลุ่มน้ำอะเมซอน  ซึ่งการมีลักษณะแตกต่างเช่นนี้อาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน  ปลาอะโรวาน่ามีหลายชนิดด้วยกัน  ซึ่งแต่ละชนิดจะแบ่ง ตามสีของเกล็ด  ซึ่งจะกล่าวดังต่อไปนี้ 1.  ปลา  อะโรวาน่าสีเงินหรือสีขาว  (SILVER  AROWANA)      มีขนาดลำตัวเฉลี่ยประมาณ  120  เซนติเมตร  ช่วงลำตัวยาวเรียวและแบน  มีพื้นลำตัวเป็นสีเงิน  มีความแวววาวส่วนครีบสีน้ำเงินอมเทามีของครีบสีเหลือง  ปากมีขนาดใหญ่และจะมีหนวด  2  เส้น  อยู่ใต้ริมฝีปากล่าง  รวมทั้งมีลิ้นอีกด้วย  ข้อสังเกตเพศปลา  ถ้าเป็นเพศผ

ธรรมชาติของปลา

มาทำความรู้จัก  กับธรรมชาติของปลากันเถอะ           ปลาตู้สวยงามที่เราเห็นกันอยู่โดยทั่วไปนั้น  มีหลายพันธุ์ด้วยกัน  แต่ละสายพันธุ์มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไป  ปลาบางพันธุ์มีเกล็ดใหญ่  และสีสันต่างกันมากมาย  แต่โดยทั่ว ๆ  ไปแล้วปลาตู้ที่นิยมเลี้ยงกันไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ไหนก็ตามจะสามารถ  แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ  ดังนี้คือ      1.  ปลาตู้  ชนิดที่ออกลูกเป็นไข่           ปลาชนิดนี้จะมีการผสมพันธุ์ที่แตกต่างจากชนิดอื่นคือตัวเมียจะทำการวางไข่  ซึ่งตัวเมียจะวางไข่ที่ต้นแม่น้ำ  ก้อนหิน  ก้อนกรวดใต้น้ำ  จากนั้นปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมกับไข่  แล้วไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาต่อมา  ปลาที่ออกลูกเป็นไข่นี้ได้แก่  ปลาทอง  ปลาเทวดา ฯลฯ  ซึ่งจะสังเกตได้ว่าปลาที่ออกลูกเป็นไข่นี้  จะมีลักษณะและสีสันสวยงามมาก  และเป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างมากมาย      2.  ปลาตู้  ชนิดที่ออกลูกเป็นตัว           ปลาชนิดนี้เมื่อผสมพันธุ์แล้วตัวเมียจะเริ่มตั้งท้องและฟักไข่ในท้องจนกว่าไข่จะเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว  ไข่จะถูกฟักตัวเป็นลูกปลาตัวเล็ก ๆ  ในท้องของแม่ปลา  เมื่อเป็นตัวอ่อนที่สมบูรณ์แล้ว  ลูกปลาจะคลอดออกมาจากท้อง

เลี้ยงปลาให้มีสุขภาพดี

ข้อแนะนำในการเลี้ยงปลาให้มีสุขภาพดี      ดังที่เราได้ทราบกันดีอยู่แล้วว่า  ปลาเป็นสิ่งที่มีชีวิตอย่างหนึ่ง  และเป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถสร้างความเพลิดเพลินให้กับ มนุษย์ผู้เลี้ยงได้  ฉะนั้นเราควรดูแลเอาใจใส่ปลาตู้  ให้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต      แต่ถ้าคนใดที่มีแต่ความอยากเลี้ยง  แต่ไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่  เราไม่แนะนำให้เลี้ยงเพราะจะเป็นการทรมานสัตว์เสียเปล่า ๆ  การเลี้ยงปลาตู้ให้มีสุขภาพดีนั้น  นอกจากการดูแลเอาใจใส่แล้ว  สิ่งสำคัญที่ควรสังเกตและคำนึงอยู่เสมอ ๆ  มีอยู่  6  อย่างด้วยกันคือ      1.  ความแน่นของปลาในตู้           การเลี้ยงปลาจำนวนมากเกินไป  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะปลาที่เราเลี้ยงมีการแพร่พันธุ์  หรือเรานำมันมาใส่ไว้รวมกันมากเกินไป  จะทำให้เกิดอันตรายต่อปลาได้  เพราะในขณะที่ตู้ปลามีพื้นที่จำกัดแต่จำนวนของปลาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ตามสัญชาตญาณของการอยู่รอด  ปลาจะต่อสู้และกัดกันเอง  ไม่ว่าจะเป็นปลาพันธุ์ใดก็ตามเพื่อลดจำนวนความหนาแน่นของปลาลง  เมื่อปลามีจำนวนมากเกิน  ปลาบางตัวที่อ่อนแอจะแสดงความผิดปกติ      สาเหตุที่นอกเหนือจากการกัดกันเองแล้วยังมีการแย่งออกซิเจนเพื่อใช้หายใจ

อุปกรณ์ที่จำเป็น ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม

อุปกรณ์ที่จำเป็น  ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม การเลี้ยงปลาตู้นั้น        มีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อย่างมาก  อีกทั้งในปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ ในการเลี้ยงปลาตู้ให้เลือกหลากชนิด  ดังนั้นเราจึงควรไตร่ตรองและคิดให้ดีว่าอุปกรณ์ชิ้นใดจำเป็น  หรือไม่ต่อการเลี้ยงปลาตู้  การใส่อุปกรณ์หรือสิ่งประดับมากมายลงในตู้นั้นนับว่าเป็นอันตรายต่อปลาอย่างยิ่ง  เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรเน้นถึงความสวยงามในเรื่องของการประดับตู้ปลามากกว่าการมีชีวิตอยู่ของปลา  อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงควรพิจารณาก็คือ  การดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ  ให้มีประสิทธิภาพ  และ  มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน  ทั้งนี้ก็เพื่อดำรงชีวิตอยู่ของปลาที่น่ารักของเรานั่นเอง       1.  ตู้ปลา     ก่อนที่เราจะเลือกซื้อตู้ปลานั้น  เราต้องคำนึงถึงชนิดและขนาดของปลาที่จะเลี้ยงว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใด  ถ้าจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดเล็กได้  แต่ถ้าจะเลือกเลี้ยงปลาที่มีลำตัวยาวอย่างเช่นปลาอะโรวาน่าต้องใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้ปลาว่ายน้ำได้สะดวก      เมื่อซื้อตู้ปลาตามขนา

ปลาสวยงาม ที่น่าเลี้ยง

ปลาสวยงาม  ที่น่าเลี้ยง  ปลาที่มีลำตัวยาวไม่เกิน  5  เซนติเมตร ปลานีออนดำ  (BLACK  NEON  TETRA)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  3  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวสีน้ำตาล  บริเวณข้างลำตัวมีแถบลายสีขาวเรืองแสง  และมีพื้นดำคาดตามลำตัวจากใต้แผ่นเหงือกยาวจรดโคนหาง  ขอบตาด้านบนสีแดง           -  ปลาตัวผู้จะมีขนาดเล็กและเพรียวกว่าตัวเมีย  และมีสีสันสดใสกว่า           -  นีออนดำเป็นปลารักสงบ  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง  ตื่นตกใจง่าย           -  ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงใหญ่  หรืออาจเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันเพื่อจะได้ไม่ถูกปลาอื่นทำร้าย ชอบอยู่ในน้ำที่ใสสะอาด  และมีพุ่มไม้น้ำหรือสาหร่ายให้แหวกว่าย           -  ชอบกินอาหารสดมากกว่าอาหารสำเร็จรูป  แต่อาหารสำเร็จรูปก็ใช้เลี้ยงได้เช่นกัน           -  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่  วางไข่ครั้งละประมาณ  200  ฟอง  ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ  1  วัน           ปลาหางนกยูง  (MILLIONS  FISH)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  4-6  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลอม