อุปกรณ์ที่จำเป็น ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม
การเลี้ยงปลาตู้นั้น
มีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ ในการเลี้ยงปลาตู้ให้เลือกหลากชนิด ดังนั้นเราจึงควรไตร่ตรองและคิดให้ดีว่าอุปกรณ์ชิ้นใดจำเป็น หรือไม่ต่อการเลี้ยงปลาตู้ การใส่อุปกรณ์หรือสิ่งประดับมากมายลงในตู้นั้นนับว่าเป็นอันตรายต่อปลาอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรเน้นถึงความสวยงามในเรื่องของการประดับตู้ปลามากกว่าการมีชีวิตอยู่ของปลา อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงควรพิจารณาก็คือ การดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ทั้งนี้ก็เพื่อดำรงชีวิตอยู่ของปลาที่น่ารักของเรานั่นเอง
1. ตู้ปลา
ก่อนที่เราจะเลือกซื้อตู้ปลานั้น เราต้องคำนึงถึงชนิดและขนาดของปลาที่จะเลี้ยงว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใด ถ้าจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดเล็กได้ แต่ถ้าจะเลือกเลี้ยงปลาที่มีลำตัวยาวอย่างเช่นปลาอะโรวาน่าต้องใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้ปลาว่ายน้ำได้สะดวก
เมื่อซื้อตู้ปลาตามขนาดที่เหมาะสมกับปลาแล้ว ต้องทำความสะอาดตู้ปลากันก่อน การทำความสะอาดตู้ปลาที่ถูกต้องนั้นจะต้องใช้น้ำเกลือล้าง วิธีการคือนำตู้ปลาที่ซื้อมาตั้งไว้ในที่ที่เหมาะสม จากนั้นเทน้ำลงไปในตู้โดยใช้น้ำที่มีอุณหภูมิปกติอย่าใช้น้ำร้อนเป็นอันขาด เพราะน้ำร้อนจะทำให้กระจกขยายตัวและเกิดการแตกร้าวขึ้นได้ หรืออาจจะทำให้ตัวยาแนวหรือกาวที่เชื่อมระหว่างกระจกแต่ละแผ่นของตู้เกิดการเสื่อมหรือขยายตัว ทำให้ตู้ปลาเกิดรั่วได้
ข้อควรระวัง อย่าพยายามเคลื่อนย้ายตู้ในขณะที่มีน้ำอยู่เต็มตู้เพราะอาจได้รับการกระทบกระเทือน หลังจากใส่น้ำตู้ปลาเต็มแล้ว ให้สังเกตดูว่ามีน้ำรั่วซึมออกมาตรงไหนบ้าง ถ้ามีน้ำรั่วซึมออกมาก็สามารถยาแนวใหม่ หรือเอาไปเปลี่ยนเป็นตู้ใหม่จากร้านค้าที่ซื้อมาได้เช่นกัน
ในกรณีที่ตู้ปลาไม่มีปัญหาให้ถ่ายน้ำออก แต่ให้เหลือเอาไว้ประมาณ 1/10 ของความสูงตู้ปลา จากนั้นนำเกลือ
(ใช้ได้ทั้งเกลือป่นและเกลือเม็ด ) เติมลงไปพอประมาณ คนให้ละลายจนหมด แล้วนำผ้าหรือฟองน้ำเช็ดถูตู้ปลาให้สะอาด หลังจากนั้นยังไม่ต้องเทน้ำทิ้ง ให้เติมน้ำลงไปอีกเต็มตู้ แล้วตั้งทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงค่อยถ่ายน้ำทิ้งทั้งหมด
2. น้ำ
น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาตู้ได้ดีที่สุดคือน้ำประปา แต่น้ำประปาที่จะนำมาใช้นี้ต้องผ่านกรรมวิธีกำจัดคลอรีนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียก่อน เพราะคลอรีนเป็นสารฆ่าเชื้อโรคซึ่งเป็นอันตรายต่อปลาอย่างมาก การกำจัดคลอรีนออกจากน้ำประปานั้นไม่ใช่เรื่องยาก ให้รองน้ำจากก๊อกใส่ถังหรืออ่างที่สะอาด ๆ ให้พอเพียงที่จะใช้ใส่ในตู้ปลา แล้วตั้งน้ำที่รองทิ้งไว้ในที่มีแสงแดดส่องถึงประมาณ 1-2 วัน แค่นี้ก็สามารถนำน้ำที่เตรียมไว้มาใช้เลี้ยงปลาตู้ได้แล้ว
หลายท่านอาจจะใช้น้ำบ่อหรือน้ำบาดาลเลี้ยงปลา เพราะคิดว่าเป็นน้ำที่มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จริง ๆ นั่นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะน้ำในบ่อหรือน้ำตามแหล่งธรรมชาติจะมีจุลินทรีย์อยู่มากมาย ซึ่งจุลินทรีย์นี้จะสามารถทำอันตรายต่อปลาหรือทำให้ปลาติดเชื้อโรคได้ง่าย เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้ท่านใช้น้ำประปาที่กำจัดคลอรีนตามกระบวนการดังกล่าวจะดีกว่า
ข้อควรคำนึงถึงก่อนที่ท่านจะเติมน้ำลงในตู้ ท่านควรจัดวางตู้ให้อยู่ในที่ที่ท่านเลือกเอาไว้แล้ว จากนั้นจัดแต่งตู้ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ให้เรียบร้อย แล้วจึงเติมน้ำลงไปห้ามเคลื่อนย้ายตู้ที่เติมน้ำไว้เต็มแล้วเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ตู้ปลาได้
3. วัสดุตกแต่ง ภายในตู้ปลา
ในปัจจุบันถ้าหากเราเดินตามตลาดนัดที่มีปลาหรืออุปกรณ์ในการเลี้ยงปลาตู้ขาย เรามักจะพบวัสดุตกแต่งสีสันสวยงามแปลกใหม่วางขายมากมาย สิ่งเหล่านี้นับว่าไม่มีประโยชน์หรือบางครั้งก็เป็นโทษแก่สุขภาพปลาตู้ของท่านด้วย แม้แต่พวกเปลือกหอยตามธรรมชาติ หรือก้อนกรวด หิน ตามชายหาดก็ตามถ้าจะถามว่าทำไม ในเมื่อเป็นของที่มาจากธรรมชาติแล้วยังมี อันตรายต่อปลาอีกหรือ ตอบว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นก้อนกรวดหรือเปลือกหอย ทั้งที่เป็นและไม่เป็นของธรรมชาติก็ตามจะก่อให้เกิดอันตรายต่อปลาได้ เพราะมันจะมีเชื้อโรคอย่างพวกจุลินทรีย์หรือสารพิษอื่น ๆ ติดค้างอยู่
เมื่อใส่ไว้ในตู้ปลา สารเหล่านี้จะละลายออกมาเป็นอันตรายต่อปลาอย่างมาก อีกทั้งการที่เราใส่วัสดุเข้าไปในตู้มากมาย จะทำให้เกิดซอกเล็กซอกน้อยในตู้เยอะ เวลาที่เราให้อาหารปลา เศษอาหารจะลงไปติดกับบรรดาซอกเล็กซอกน้อยเหล่านั้น ทำให้น้ำในตู้เน่าเสียเร็วขึ้น และยากต่อการดูดสิ่งสกปรกออกจากตู้ปลา แต่ใช่ว่าจะไม่สารมารถนำสิ่งใด ๆ ไปไว้ในตู้ปลาได้เลย
อย่างหนึ่งที่ขอแนะนำให้ใส่เป็นพื้นปูที่ตู้ปลาก็คือทรายหยาบ และต้องเป็นทรายหยาบอย่างเดียวเท่านั้น แต่ก่อนจะนำไปใส่ในตู้ปลาควรทำความสะอาดเสียก่อน โดยการนำทรายหยาบใส่ภาชนะ เช่นถ้วยใบใหญ่ ๆ แล้วให้ใส่น้ำที่ต้มเดือด ๆ ลงไปเขย่าทรายให้เปียกน้ำจนทั่ว จากนั้นเทน้ำทิ้ง แล้วเทน้ำลงไปอีกจนท่วมทรายขึ้นมาประมาณ 6 นิ้ว และนำไปตั้งไฟต้มจนน้ำเดือด แล้วเคี่ยวให้ทั่วถึงประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนเทน้ำทิ้ง และล้างด้วยน้ำเย็นอีกทีหนึ่ง ก็จะได้ทรายหยาบสำหรับปูพื้นตู้ปลาที่สะอาดและปราศจากอันตรายต่อปลาตู้ การเททรายลงไปในตู้นั้นควรเททรายในปริมาณที่สุงขึ้นมาจากพื้นตู้ประมาณ 1-2 นิ้ว เท่านั้น และควรเททรายให้อยู่ในลักษณะลาดเอียง ไม่ว่าจะลาดเอียงจากด้านซ้ายไปด้านขวาหรือขวาไปซ้าย และจากหลังไปด้านหน้าเพื่อความสวยงามและสามารถปลูกพืชได้
เมื่อปูพื้นทรายเสร็จแล้ว จึงเติมน้ำประปาปลอดคลอรีนที่เตรียมไว้ในข้อ 2. ควรเทน้ำลงไปอย่างระมัดระวังเพราะเราได้ปูพื้นทรายไว้เรียบร้อยและควรเทน้ำลงไปประมาณครึ่งตู้ก่อน เพราะเราจะต้องปลูกพืชน้ำกันอีก หรือใส่วัสดุที่จำเป็นลงไปอีก
ก่อนที่จะปลูกต้นไม้น้ำในตู้นั้นก็ต้องทำความสะอาดต้นไม้เหล่านี้ก่อน เพราะถ้าไม่ทำความสะอาดก็อาจจะมีเชื้อโรคติดมากับต้นไม้ และเป็นอันตรายต่อปลาของเราได้
การทำความสะอาดต้นไม้น้ำกระทำได้ไม่ยาก โดยการเอาต้นไม้เหล่านั้นมาแช่ในน้ำเกลือเข้มข้นผสมกับด่างทับทิมประมาณ 1-2 ชั่วโมง ไม่ควรนานกว่านี้ จากนั้นนำต้นไม้ไปล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง แล้วจึงนำไปปลูกในตู้ที่เราเตรียมไว้ เมื่อปลูกต้นไม้น้ำเรียบร้อยแล้ว เติมน้ำส่วนที่เหลือลงไปในตู้ให้เต็มเป็นอันว่าเสร็จสิ้น
หากท่านต้องการจะใส่ก้อนหินหรือกรวดก้อนใหญ่สักก้อนหนึ่งหรือมากกว่านั้นนิดหน่อยก็อาจทำได้ แต่ต้องทำความสะอาดเสียก่อน วิธีทำความสะอาดทำเช่นเดียวกับการทำความสะอาดทรายหยาบดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ลักษณะของตู้ปลาและบรรยากาศในตู้ที่ดีนั้นควรมีที่ว่างให้ปลาได้แหวกว่ายประมาณ 80% หรือมากกว่าก็ได้ ส่วนที่เหลือให้เป็นพื้นที่ของต้นไม้และวัสดุที่ใช้ในตู้ปลา
4. เครื่องปั๊ม ออกซิเจน
โดยธรรมชาติของแหล่งน้ำธรรมชาตินั้น น้ำจะมีการไหลเวียนอยู่เสมอ ๆ ซึ่งการไหลเวียนของน้ำนี้ก็เป็นการเพิ่มเติมออกซิเจนเข้าไปในน้ำ ทำให้สิ่งมีชีวิตรวมทั้งปลาที่อยู่ใต้น้ำได้รับออกซิเจนและดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งต่างกับตู้ปลา น้ำในตู้ปลาเป็นน้ำที่นิ่ง ถ้าเราไม่เพิ่มออกซิเจนลงไปก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตใต้น้ำอยู่ได้ไม่นานเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ จะแพร่พันธุ์และทำให้น้ำเน่าเสีย ปลาที่อยู่ในน้ำจะเสียชีวิตลงในที่สุดเพราะฉะนั้นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเลี้ยงปลาตู้คือเครื่องปั๊มออกซิเจน ซึ่งมีวางขายตามร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาทั่วไป มีหลายขนาดและหลายราคา เลือกใช้ตามขนาดของตู้ปลาของเรา ซึ่งเครื่องปั๊มออกซิเจนนี้เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะฉะนั้นควรวางเครื่องปั๊มให้ห่างจากตู้ปลา อย่าให้เปียกน้ำเพราะอาจเกิดอันตรายได้
หลายคนคงจะเคยเห็นเครื่องปั๊มออกซิเจนแล้ว ส่วนประกอบไม่มีอะไรมาก จะมีตัวเครื่องปั๊มที่เราต้องเสียบปลั๊กไฟตรง
ด้านข้างของเครื่องปั๊มจะมีท่ออากาศซึ่งมีสายยางใส ๆ เสียบอยู่ เรานำสายยางที่ต่อจากเครื่องปั๊มนี้ใส่ลงไปในตู้ปลา ในส่วนปลายของสายยางที่ใส่ในตู้ปลานั้นอาจจะมีหัวพ่นอากาศในรูปแบบต่าง ๆ กันซึ่งสามารถเลือกซื้อได้ตามความพอใจ
5. สวิง ตักปลา
เป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการเลี้ยงปลา สวิงมีหลายขนาดหลายสี การเลือกใช้สวิงตักปลานั้นต้องพิจารณาขนาดของปลาด้วย ควรเลือกสวิงที่ใหญ่กว่าความยาวลำตัวของปลาประมาณ 1-2 นิ้ว ถ้าปลามีลำตัวยาวประมาณ 5 ซม. (2 นิ้ว) ให้ใช้สวิงตักปลาที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้วก็ได้
การใช้สวิงตักปลาที่ถูกต้องนั้น ทุกครั้งที่จะทำการตักปลาควรทำความสะอาดสวิงเสียก่อน อย่าใช้สวิงที่แห้ง ๆ ตักปลา
เพราะอาจจะมีเชื้อโรคต่าง ๆ หรือฝุ่นละอองติดอยู่กับสวิงที่เราแขวนไว้ได้ วิธีทำความสะอาดนั้นแสนง่าย ก่อนใช้ให้นำสวิงไปจุ่มน้ำสะอาด ๆ สัก 2-3 ครั้งก็ใช้ได้แล้ว ข้อสำคัญ ถ้าหากมีปลาตัวหนึ่งตัวใดที่เราเลี้ยงแยกเอาไว้นอกตู้เพราะมันป่วยอย่าใช้สวิงร่วมกับปลาตัวปกติอื่น ๆ เพราะจะทำให้ปลาที่ปกตินั้นติดโรคไปด้วย
6. อุปกรณ์ในการวัด และควบคุมอุณหภูมิน้ำในตู้ปลา
อุปกรณ์ในการวัดและควบคุมอุณหภูมิของน้ำ (เทอร์โมมิเตอร์และเทอร์โมสแตทส์) เป็นอุปกรณ์ที่อาจจะไม่ค่อยจำเป็นสำหรับผู้ที่เลี้ยงปลาตู้แบบธรรมดา ๆ ที่ไม่ต้องใส่ใจกับอุณหภูมิของน้ำมากนัก แต่ยังมีปลาบางชนิดที่ต้องใช้อุปกรณ์
ควบคุมอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาตู้ในประเทศหนาวเพราะฉะนั้นอุปกรณ์เหล่านี้จึงไม่จำเป็นสำหรับบ้านเรานัก แต่ถ้านักเลี้ยงปลาตู้ท่านใดต้องการที่จะใช้เพื่อให้ปลาตู้ของท่านสมบูรณ์แบบ ก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าที่จำหน่ายอุปกรณ์สำหรับปลาตู้ทั่ว ๆ ไป
การเลี้ยงปลาตู้นั้น
มีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ ในการเลี้ยงปลาตู้ให้เลือกหลากชนิด ดังนั้นเราจึงควรไตร่ตรองและคิดให้ดีว่าอุปกรณ์ชิ้นใดจำเป็น หรือไม่ต่อการเลี้ยงปลาตู้ การใส่อุปกรณ์หรือสิ่งประดับมากมายลงในตู้นั้นนับว่าเป็นอันตรายต่อปลาอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรเน้นถึงความสวยงามในเรื่องของการประดับตู้ปลามากกว่าการมีชีวิตอยู่ของปลา อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงควรพิจารณาก็คือ การดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ทั้งนี้ก็เพื่อดำรงชีวิตอยู่ของปลาที่น่ารักของเรานั่นเอง
1. ตู้ปลา
ก่อนที่เราจะเลือกซื้อตู้ปลานั้น เราต้องคำนึงถึงชนิดและขนาดของปลาที่จะเลี้ยงว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใด ถ้าจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดเล็กได้ แต่ถ้าจะเลือกเลี้ยงปลาที่มีลำตัวยาวอย่างเช่นปลาอะโรวาน่าต้องใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้ปลาว่ายน้ำได้สะดวก
เมื่อซื้อตู้ปลาตามขนาดที่เหมาะสมกับปลาแล้ว ต้องทำความสะอาดตู้ปลากันก่อน การทำความสะอาดตู้ปลาที่ถูกต้องนั้นจะต้องใช้น้ำเกลือล้าง วิธีการคือนำตู้ปลาที่ซื้อมาตั้งไว้ในที่ที่เหมาะสม จากนั้นเทน้ำลงไปในตู้โดยใช้น้ำที่มีอุณหภูมิปกติอย่าใช้น้ำร้อนเป็นอันขาด เพราะน้ำร้อนจะทำให้กระจกขยายตัวและเกิดการแตกร้าวขึ้นได้ หรืออาจจะทำให้ตัวยาแนวหรือกาวที่เชื่อมระหว่างกระจกแต่ละแผ่นของตู้เกิดการเสื่อมหรือขยายตัว ทำให้ตู้ปลาเกิดรั่วได้
ข้อควรระวัง อย่าพยายามเคลื่อนย้ายตู้ในขณะที่มีน้ำอยู่เต็มตู้เพราะอาจได้รับการกระทบกระเทือน หลังจากใส่น้ำตู้ปลาเต็มแล้ว ให้สังเกตดูว่ามีน้ำรั่วซึมออกมาตรงไหนบ้าง ถ้ามีน้ำรั่วซึมออกมาก็สามารถยาแนวใหม่ หรือเอาไปเปลี่ยนเป็นตู้ใหม่จากร้านค้าที่ซื้อมาได้เช่นกัน
ในกรณีที่ตู้ปลาไม่มีปัญหาให้ถ่ายน้ำออก แต่ให้เหลือเอาไว้ประมาณ 1/10 ของความสูงตู้ปลา จากนั้นนำเกลือ
(ใช้ได้ทั้งเกลือป่นและเกลือเม็ด ) เติมลงไปพอประมาณ คนให้ละลายจนหมด แล้วนำผ้าหรือฟองน้ำเช็ดถูตู้ปลาให้สะอาด หลังจากนั้นยังไม่ต้องเทน้ำทิ้ง ให้เติมน้ำลงไปอีกเต็มตู้ แล้วตั้งทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงค่อยถ่ายน้ำทิ้งทั้งหมด
2. น้ำ
น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาตู้ได้ดีที่สุดคือน้ำประปา แต่น้ำประปาที่จะนำมาใช้นี้ต้องผ่านกรรมวิธีกำจัดคลอรีนที่ละลายอยู่ในน้ำเสียก่อน เพราะคลอรีนเป็นสารฆ่าเชื้อโรคซึ่งเป็นอันตรายต่อปลาอย่างมาก การกำจัดคลอรีนออกจากน้ำประปานั้นไม่ใช่เรื่องยาก ให้รองน้ำจากก๊อกใส่ถังหรืออ่างที่สะอาด ๆ ให้พอเพียงที่จะใช้ใส่ในตู้ปลา แล้วตั้งน้ำที่รองทิ้งไว้ในที่มีแสงแดดส่องถึงประมาณ 1-2 วัน แค่นี้ก็สามารถนำน้ำที่เตรียมไว้มาใช้เลี้ยงปลาตู้ได้แล้ว
หลายท่านอาจจะใช้น้ำบ่อหรือน้ำบาดาลเลี้ยงปลา เพราะคิดว่าเป็นน้ำที่มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จริง ๆ นั่นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะน้ำในบ่อหรือน้ำตามแหล่งธรรมชาติจะมีจุลินทรีย์อยู่มากมาย ซึ่งจุลินทรีย์นี้จะสามารถทำอันตรายต่อปลาหรือทำให้ปลาติดเชื้อโรคได้ง่าย เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้ท่านใช้น้ำประปาที่กำจัดคลอรีนตามกระบวนการดังกล่าวจะดีกว่า
ข้อควรคำนึงถึงก่อนที่ท่านจะเติมน้ำลงในตู้ ท่านควรจัดวางตู้ให้อยู่ในที่ที่ท่านเลือกเอาไว้แล้ว จากนั้นจัดแต่งตู้ด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ให้เรียบร้อย แล้วจึงเติมน้ำลงไปห้ามเคลื่อนย้ายตู้ที่เติมน้ำไว้เต็มแล้วเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ตู้ปลาได้
3. วัสดุตกแต่ง ภายในตู้ปลา
ในปัจจุบันถ้าหากเราเดินตามตลาดนัดที่มีปลาหรืออุปกรณ์ในการเลี้ยงปลาตู้ขาย เรามักจะพบวัสดุตกแต่งสีสันสวยงามแปลกใหม่วางขายมากมาย สิ่งเหล่านี้นับว่าไม่มีประโยชน์หรือบางครั้งก็เป็นโทษแก่สุขภาพปลาตู้ของท่านด้วย แม้แต่พวกเปลือกหอยตามธรรมชาติ หรือก้อนกรวด หิน ตามชายหาดก็ตามถ้าจะถามว่าทำไม ในเมื่อเป็นของที่มาจากธรรมชาติแล้วยังมี อันตรายต่อปลาอีกหรือ ตอบว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นก้อนกรวดหรือเปลือกหอย ทั้งที่เป็นและไม่เป็นของธรรมชาติก็ตามจะก่อให้เกิดอันตรายต่อปลาได้ เพราะมันจะมีเชื้อโรคอย่างพวกจุลินทรีย์หรือสารพิษอื่น ๆ ติดค้างอยู่
เมื่อใส่ไว้ในตู้ปลา สารเหล่านี้จะละลายออกมาเป็นอันตรายต่อปลาอย่างมาก อีกทั้งการที่เราใส่วัสดุเข้าไปในตู้มากมาย จะทำให้เกิดซอกเล็กซอกน้อยในตู้เยอะ เวลาที่เราให้อาหารปลา เศษอาหารจะลงไปติดกับบรรดาซอกเล็กซอกน้อยเหล่านั้น ทำให้น้ำในตู้เน่าเสียเร็วขึ้น และยากต่อการดูดสิ่งสกปรกออกจากตู้ปลา แต่ใช่ว่าจะไม่สารมารถนำสิ่งใด ๆ ไปไว้ในตู้ปลาได้เลย
อย่างหนึ่งที่ขอแนะนำให้ใส่เป็นพื้นปูที่ตู้ปลาก็คือทรายหยาบ และต้องเป็นทรายหยาบอย่างเดียวเท่านั้น แต่ก่อนจะนำไปใส่ในตู้ปลาควรทำความสะอาดเสียก่อน โดยการนำทรายหยาบใส่ภาชนะ เช่นถ้วยใบใหญ่ ๆ แล้วให้ใส่น้ำที่ต้มเดือด ๆ ลงไปเขย่าทรายให้เปียกน้ำจนทั่ว จากนั้นเทน้ำทิ้ง แล้วเทน้ำลงไปอีกจนท่วมทรายขึ้นมาประมาณ 6 นิ้ว และนำไปตั้งไฟต้มจนน้ำเดือด แล้วเคี่ยวให้ทั่วถึงประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนเทน้ำทิ้ง และล้างด้วยน้ำเย็นอีกทีหนึ่ง ก็จะได้ทรายหยาบสำหรับปูพื้นตู้ปลาที่สะอาดและปราศจากอันตรายต่อปลาตู้ การเททรายลงไปในตู้นั้นควรเททรายในปริมาณที่สุงขึ้นมาจากพื้นตู้ประมาณ 1-2 นิ้ว เท่านั้น และควรเททรายให้อยู่ในลักษณะลาดเอียง ไม่ว่าจะลาดเอียงจากด้านซ้ายไปด้านขวาหรือขวาไปซ้าย และจากหลังไปด้านหน้าเพื่อความสวยงามและสามารถปลูกพืชได้
เมื่อปูพื้นทรายเสร็จแล้ว จึงเติมน้ำประปาปลอดคลอรีนที่เตรียมไว้ในข้อ 2. ควรเทน้ำลงไปอย่างระมัดระวังเพราะเราได้ปูพื้นทรายไว้เรียบร้อยและควรเทน้ำลงไปประมาณครึ่งตู้ก่อน เพราะเราจะต้องปลูกพืชน้ำกันอีก หรือใส่วัสดุที่จำเป็นลงไปอีก
ก่อนที่จะปลูกต้นไม้น้ำในตู้นั้นก็ต้องทำความสะอาดต้นไม้เหล่านี้ก่อน เพราะถ้าไม่ทำความสะอาดก็อาจจะมีเชื้อโรคติดมากับต้นไม้ และเป็นอันตรายต่อปลาของเราได้
การทำความสะอาดต้นไม้น้ำกระทำได้ไม่ยาก โดยการเอาต้นไม้เหล่านั้นมาแช่ในน้ำเกลือเข้มข้นผสมกับด่างทับทิมประมาณ 1-2 ชั่วโมง ไม่ควรนานกว่านี้ จากนั้นนำต้นไม้ไปล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง แล้วจึงนำไปปลูกในตู้ที่เราเตรียมไว้ เมื่อปลูกต้นไม้น้ำเรียบร้อยแล้ว เติมน้ำส่วนที่เหลือลงไปในตู้ให้เต็มเป็นอันว่าเสร็จสิ้น
หากท่านต้องการจะใส่ก้อนหินหรือกรวดก้อนใหญ่สักก้อนหนึ่งหรือมากกว่านั้นนิดหน่อยก็อาจทำได้ แต่ต้องทำความสะอาดเสียก่อน วิธีทำความสะอาดทำเช่นเดียวกับการทำความสะอาดทรายหยาบดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ลักษณะของตู้ปลาและบรรยากาศในตู้ที่ดีนั้นควรมีที่ว่างให้ปลาได้แหวกว่ายประมาณ 80% หรือมากกว่าก็ได้ ส่วนที่เหลือให้เป็นพื้นที่ของต้นไม้และวัสดุที่ใช้ในตู้ปลา
4. เครื่องปั๊ม ออกซิเจน
โดยธรรมชาติของแหล่งน้ำธรรมชาตินั้น น้ำจะมีการไหลเวียนอยู่เสมอ ๆ ซึ่งการไหลเวียนของน้ำนี้ก็เป็นการเพิ่มเติมออกซิเจนเข้าไปในน้ำ ทำให้สิ่งมีชีวิตรวมทั้งปลาที่อยู่ใต้น้ำได้รับออกซิเจนและดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งต่างกับตู้ปลา น้ำในตู้ปลาเป็นน้ำที่นิ่ง ถ้าเราไม่เพิ่มออกซิเจนลงไปก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตใต้น้ำอยู่ได้ไม่นานเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ จะแพร่พันธุ์และทำให้น้ำเน่าเสีย ปลาที่อยู่ในน้ำจะเสียชีวิตลงในที่สุดเพราะฉะนั้นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเลี้ยงปลาตู้คือเครื่องปั๊มออกซิเจน ซึ่งมีวางขายตามร้านขายอุปกรณ์เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาทั่วไป มีหลายขนาดและหลายราคา เลือกใช้ตามขนาดของตู้ปลาของเรา ซึ่งเครื่องปั๊มออกซิเจนนี้เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะฉะนั้นควรวางเครื่องปั๊มให้ห่างจากตู้ปลา อย่าให้เปียกน้ำเพราะอาจเกิดอันตรายได้
หลายคนคงจะเคยเห็นเครื่องปั๊มออกซิเจนแล้ว ส่วนประกอบไม่มีอะไรมาก จะมีตัวเครื่องปั๊มที่เราต้องเสียบปลั๊กไฟตรง
ด้านข้างของเครื่องปั๊มจะมีท่ออากาศซึ่งมีสายยางใส ๆ เสียบอยู่ เรานำสายยางที่ต่อจากเครื่องปั๊มนี้ใส่ลงไปในตู้ปลา ในส่วนปลายของสายยางที่ใส่ในตู้ปลานั้นอาจจะมีหัวพ่นอากาศในรูปแบบต่าง ๆ กันซึ่งสามารถเลือกซื้อได้ตามความพอใจ
5. สวิง ตักปลา
เป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการเลี้ยงปลา สวิงมีหลายขนาดหลายสี การเลือกใช้สวิงตักปลานั้นต้องพิจารณาขนาดของปลาด้วย ควรเลือกสวิงที่ใหญ่กว่าความยาวลำตัวของปลาประมาณ 1-2 นิ้ว ถ้าปลามีลำตัวยาวประมาณ 5 ซม. (2 นิ้ว) ให้ใช้สวิงตักปลาที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้วก็ได้
การใช้สวิงตักปลาที่ถูกต้องนั้น ทุกครั้งที่จะทำการตักปลาควรทำความสะอาดสวิงเสียก่อน อย่าใช้สวิงที่แห้ง ๆ ตักปลา
เพราะอาจจะมีเชื้อโรคต่าง ๆ หรือฝุ่นละอองติดอยู่กับสวิงที่เราแขวนไว้ได้ วิธีทำความสะอาดนั้นแสนง่าย ก่อนใช้ให้นำสวิงไปจุ่มน้ำสะอาด ๆ สัก 2-3 ครั้งก็ใช้ได้แล้ว ข้อสำคัญ ถ้าหากมีปลาตัวหนึ่งตัวใดที่เราเลี้ยงแยกเอาไว้นอกตู้เพราะมันป่วยอย่าใช้สวิงร่วมกับปลาตัวปกติอื่น ๆ เพราะจะทำให้ปลาที่ปกตินั้นติดโรคไปด้วย
6. อุปกรณ์ในการวัด และควบคุมอุณหภูมิน้ำในตู้ปลา
อุปกรณ์ในการวัดและควบคุมอุณหภูมิของน้ำ (เทอร์โมมิเตอร์และเทอร์โมสแตทส์) เป็นอุปกรณ์ที่อาจจะไม่ค่อยจำเป็นสำหรับผู้ที่เลี้ยงปลาตู้แบบธรรมดา ๆ ที่ไม่ต้องใส่ใจกับอุณหภูมิของน้ำมากนัก แต่ยังมีปลาบางชนิดที่ต้องใช้อุปกรณ์
ควบคุมอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาตู้ในประเทศหนาวเพราะฉะนั้นอุปกรณ์เหล่านี้จึงไม่จำเป็นสำหรับบ้านเรานัก แต่ถ้านักเลี้ยงปลาตู้ท่านใดต้องการที่จะใช้เพื่อให้ปลาตู้ของท่านสมบูรณ์แบบ ก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าที่จำหน่ายอุปกรณ์สำหรับปลาตู้ทั่ว ๆ ไป