อินซิกนิส ตะเพียนหางสวยจากลุ่มน้ำอะเมซอน
เมื่อวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา หลายคนคงจะไปเที่ยวต่างจังหวัด จูงมือลูกๆหลานๆหรือบางคนอาจจะเกี่ยวก้อยคนรู้ใจเดินเล่นรับลมหนาวอยู่บนยอดดอย นอนดูดาวแล้วนับถอยหลังเริ่มต้นปีใหม่กันกระหนุงกระหนิง คิดแล้วผมก็อดที่จะอิจฉาไม่ได้ เพราะไม่มีโอกาสได้ทำแบบที่กล่าวมาเลยสักอย่าง
วันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมาผมทำตัวเป็นกบจำศีลอยู่กับบ้านไม่อยากออกไปไหน ใครมาชวนก็ไม่ไป ไม่อยากจะบอกว่าเงินไม่มี(ฮา) แต่ก็ใช่ผมจะไม่หาที่เที่ยวเอาเลยในช่วงวันหยุดยาวๆแบบนี้ เพราะผมไปเดินเล่นที่ตลาดธนบุรีหรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า “สนามหลวง2”
ไปในครั้งนี้ผมเองก็ได้ปลาติดไม้ติดมือกลับมาบ้านหลายตัวอยู่เหมือนกัน รวมถึงตู้ปลาอีกหนึ่งชุด เดินเล่นไปเรื่อยๆสบายๆเพราะว่าวันหยุดยาวๆแบบนี้ร้านค้าส่วนใหญ่จะปิดและคนมาเดินก็น้อย ไม่เบียดเสียดนี่ล่ะสวรรค์ของผม
ผมเดินมาหยุดอยู่ที่ร้านขายปลาร้านหนึ่ง และกำลังเลือกซื้อปลาหมอสีตัวน้อยๆและปลาหมูลายเฆมและหมูอินโด ขณะนั้นเองหูผมก็ได้ยินเสียงลูกค้าท่านหนึ่งที่มากับภรรยาและทารกน้อย(ทารกน้อยจริงๆเพราะอายุไม่น่าจะเกินสามเดือน... ไม่น่าพาเด็กมาทรมารเลย) ฝ่ายสามีถามคนขายปลาว่า “น้องๆครับ ร้านนี้มีปลาเฟยหงษ์มั้ย” คนขายก็ตอบกลับ “มีครับ แต่เขาไม่ได้ชื่อเฟยหงษ์นะครับ จริงๆเขาชื่ออินทรีเน็ต เป็นปลาตะเพียนเมืองนอกหายากมากครับ” สามีกับภรรยาก็เลยซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านไปสามสี่ตัวและยังขอบคุณคนขายที่ช่วยให้คำแนะนำในการเลี้ยงปลาที่ฟังราวกับเวทย์มนต์ที่มาพร้อมข้อมูลสุดมหัศจรรย์
สำหรับผมเรอะครับ...มันขัดหู...มันขัดใจ...มันไม่ใช่...มันไม่ใช่...(เก๊กเสียงหล่อ)
เฟยหงษ์ อินทรีเน็ต ตะเพียนเมืองนอก จะอะไรก็แล้วแต่มันเป็นเพียงชื่อการค้าแบบสบายใจไทยค้า แต่มันใช่ชื่อจริงๆของปลาตัวนี้หรือเปล่า ผมเองพอจะรู้จักและได้ยินชื่อปลาชนิดนี้อยู่บ้างแต่ก็ไม่มากวันนั้นเลยต้องรีบซื้อปลาของตัวเองแล้วบึ่งรถกลับบ้านเพื่อมาค้นหาข้อมูลที่เคยเก็บไว้เรื่องปลาตัวนี้ ... อินทรีเน็ต...
อันที่จริงปลาอินทรีเน็ตหรือเฟยหงษ์ เป็นปลากลุ่ม Semaprochilodus .เป็นปลาอยู่ในวงศ์ Prochilodontidae. ซึ่งนักเลี้ยงปลาสวยงาม (อันที่จริงผมว่าคนขายปลามากกว่า) ได้เอาปลาตัวนี้ไปตั้งชื่อโดยเปรียบเทียบกับหงส์ และเมื่อนำไปเลี้ยงร่วมกับปลาอะโรวาน่า มันก็จะกลายเป็นสิ่งมงคล นั่นคือหงส์คู่มังกร เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าล้วนๆไม่มีเหตุผลอื่นใดเลยครับ
สำหรับปลาชนิดนี้นักอนุกรมวิธานมีวิธีการจำแนกสุกลปลาตัวนี้ ณ ปัจจุบัน พบปลาในสกุลนี้ทั้งหมด 6 ชนิด ดังนี้ครับ.
1) Semaprochilodus insignis (Jardine & Schomburgk 1841)
2) Semaprochilodus brama (Valenciennes 1850)
3) Semaprochilodus kneri (Pellegrin 1909)
4) Semaprochilodus laticeps (Steindachner 1879)
5) Semaprochilodus taeniurus (Valenciennes, 1821)
6) Semaprochilodus varii Castro 1988
ปลากลุ่มนี้พบได้ตามแถบอเมริกาใต้ และลุ่มน้ำอะเมซอน ลักษณะทางโครงสร้างของปลากลุ่มนี้จะมีสีเงินสดใสและมีขนาดดวงตาที่ใหญ่ ครีบหางจะมีลายสีแถบตามยาว เป็นสีดำสลับกับสีเหลืองและส่วนครีบตะเกียบจะมีสีแดง ปลาชนิดนี้เริ่มเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อไหร่ผมเองไม่แน่ใจนัก แต่วัตถุประสงค์ในการนำมาเลี้ยงในช่วงแรกๆน่าจะเป็นเรื่องของการกำจัดตะไคร่น้ำในตู้ปลา เพราะปลาพวกนี้กินพืชและกินเก่งมากอีกทั้งเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ โตเต็มที่ประมาณ20-25เซ็นติเมตร แต่ในปัจจุปันปลากลุ่มนี้ได้รับความนิยมจนมีกลุ่มคนเลี้ยงเอาไปเลี้ยงเดี่ยวๆก็มี อาจจะด้วยความสวยงามของหางนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่คนไทยจะชอบปลาที่มีหางสีแดง( Red-Tail-Prochilodus ) และชื่อของปลาชนิดนี้ก็มีกันหลายชื่อ แบบสบายใจไทยค้า เช่น อินทรีเน็ต เฟยหงษ์ ปลาตะเพียนเมืองนอก ปลาตะเพียนอะเมซอน ซึ่งก็แล้วแต่จะเรียกกันไป อันนี้ก็อย่างที่ผมเขียนถึงในตอนต้นว่าเป็นเรื่องของการค้า แต่คำว่าอินทรีเน็ตดูจะใกล้กับชื่อสามัญของปลาชนิดนี้มากที่สุด ปลาตัวนี้มีชื่อสามัญ insignis Mesonauta หรือออกเสียงสั้นๆว่า อินซิกนิส
การเลี้ยงปลาอินซิกนิส นั้นเราจำเป็นต้องใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่ ตู้ที่เหมาะสมกับปลากลุ่มนี้เมื่อเวลาโตก็ควรจะขนาด 60"x 24"x 24"(150 ซม. x 60 ซม. x 60 ซม. ) 540 ลิตร อุณหภูมิของน้ำประมาณ 73 - 84°F (23 - 29°C) ค่า PH ประมาณ 5.5 - 7.2
อินซิกนิสจะเป็นปลาที่ค่อนข้างก้าวร้าวกับปลาพวกเดียวกัน ดังนั้นหากต้องการเลี้ยงอินซิกนิส หลายๆตัวในตู้เดียวกันควรใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่ และสำหรับเพื่อนร่วมตู้ที่อยู่กับเจ้าปลาตัวนี้ก็ควรเป็นปลาใหญ่สักหน่อยอย่างเช่น อะโรวาน่า หรืออาจจะเลือกปลากลุ่มกระเบนน้ำจืด ปลาตระกลู knifefish เช่นปลากราย ปลาผีดำหรือแบล็คโกสท์ รวมถึง peaceful cichlids หรือปลาหมอสีที่รักสงบ
สำหรับการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ผมยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนนัก เพราะโดยธรรมชาติปลาชนิดนี้จะเดินทางย้ายถิ่นปีละสองครั้ง เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝนและอาจจะอพยพอีกครั้งหลังจากนั้นราว 3-4 เดือน เพื่อมายังแหล่งอาหาร ระหว่างการเดินทางเพื่อไปวางไข่ปลาพวกนี้อาจจะว่ายน้ำไปไกลหลายร้อยกิโลเมตรและในบางครั้งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและสีสันได้เหมือนเช่นปลาแซลมอน
สำหรับปลา Semaprochilodus จัดเป็นปลาฝูง( shoal )ส่วนใหญ่สามัญและพบแพร่หลายในทวีปอเมริกาใต้ แต่ส่วนใหญ่คนพื้นเมืองถือว่าพวกนี้เป็นปลาเนื้อ นั่นคือพวกมันโดนเอาไปทำเป็นอาหารซะมากกว่าที่จะเอามาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
เอาล่ะครับคิดว่าน่าจะพอเพียงและเป็นประโยชน์บ้างสำหรับคนที่สนใจและอยากรู้เรื่องปลา อินซิกนีส ปลาที่มีฉายาเยอะจริงๆ
เมื่อวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา หลายคนคงจะไปเที่ยวต่างจังหวัด จูงมือลูกๆหลานๆหรือบางคนอาจจะเกี่ยวก้อยคนรู้ใจเดินเล่นรับลมหนาวอยู่บนยอดดอย นอนดูดาวแล้วนับถอยหลังเริ่มต้นปีใหม่กันกระหนุงกระหนิง คิดแล้วผมก็อดที่จะอิจฉาไม่ได้ เพราะไม่มีโอกาสได้ทำแบบที่กล่าวมาเลยสักอย่าง
วันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมาผมทำตัวเป็นกบจำศีลอยู่กับบ้านไม่อยากออกไปไหน ใครมาชวนก็ไม่ไป ไม่อยากจะบอกว่าเงินไม่มี(ฮา) แต่ก็ใช่ผมจะไม่หาที่เที่ยวเอาเลยในช่วงวันหยุดยาวๆแบบนี้ เพราะผมไปเดินเล่นที่ตลาดธนบุรีหรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า “สนามหลวง2”
ไปในครั้งนี้ผมเองก็ได้ปลาติดไม้ติดมือกลับมาบ้านหลายตัวอยู่เหมือนกัน รวมถึงตู้ปลาอีกหนึ่งชุด เดินเล่นไปเรื่อยๆสบายๆเพราะว่าวันหยุดยาวๆแบบนี้ร้านค้าส่วนใหญ่จะปิดและคนมาเดินก็น้อย ไม่เบียดเสียดนี่ล่ะสวรรค์ของผม
ผมเดินมาหยุดอยู่ที่ร้านขายปลาร้านหนึ่ง และกำลังเลือกซื้อปลาหมอสีตัวน้อยๆและปลาหมูลายเฆมและหมูอินโด ขณะนั้นเองหูผมก็ได้ยินเสียงลูกค้าท่านหนึ่งที่มากับภรรยาและทารกน้อย(ทารกน้อยจริงๆเพราะอายุไม่น่าจะเกินสามเดือน... ไม่น่าพาเด็กมาทรมารเลย) ฝ่ายสามีถามคนขายปลาว่า “น้องๆครับ ร้านนี้มีปลาเฟยหงษ์มั้ย” คนขายก็ตอบกลับ “มีครับ แต่เขาไม่ได้ชื่อเฟยหงษ์นะครับ จริงๆเขาชื่ออินทรีเน็ต เป็นปลาตะเพียนเมืองนอกหายากมากครับ” สามีกับภรรยาก็เลยซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านไปสามสี่ตัวและยังขอบคุณคนขายที่ช่วยให้คำแนะนำในการเลี้ยงปลาที่ฟังราวกับเวทย์มนต์ที่มาพร้อมข้อมูลสุดมหัศจรรย์
สำหรับผมเรอะครับ...มันขัดหู...มันขัดใจ...มันไม่ใช่...มันไม่ใช่...(เก๊กเสียงหล่อ)
เฟยหงษ์ อินทรีเน็ต ตะเพียนเมืองนอก จะอะไรก็แล้วแต่มันเป็นเพียงชื่อการค้าแบบสบายใจไทยค้า แต่มันใช่ชื่อจริงๆของปลาตัวนี้หรือเปล่า ผมเองพอจะรู้จักและได้ยินชื่อปลาชนิดนี้อยู่บ้างแต่ก็ไม่มากวันนั้นเลยต้องรีบซื้อปลาของตัวเองแล้วบึ่งรถกลับบ้านเพื่อมาค้นหาข้อมูลที่เคยเก็บไว้เรื่องปลาตัวนี้ ... อินทรีเน็ต...
อันที่จริงปลาอินทรีเน็ตหรือเฟยหงษ์ เป็นปลากลุ่ม Semaprochilodus .เป็นปลาอยู่ในวงศ์ Prochilodontidae. ซึ่งนักเลี้ยงปลาสวยงาม (อันที่จริงผมว่าคนขายปลามากกว่า) ได้เอาปลาตัวนี้ไปตั้งชื่อโดยเปรียบเทียบกับหงส์ และเมื่อนำไปเลี้ยงร่วมกับปลาอะโรวาน่า มันก็จะกลายเป็นสิ่งมงคล นั่นคือหงส์คู่มังกร เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าล้วนๆไม่มีเหตุผลอื่นใดเลยครับ
สำหรับปลาชนิดนี้นักอนุกรมวิธานมีวิธีการจำแนกสุกลปลาตัวนี้ ณ ปัจจุบัน พบปลาในสกุลนี้ทั้งหมด 6 ชนิด ดังนี้ครับ.
1) Semaprochilodus insignis (Jardine & Schomburgk 1841)
2) Semaprochilodus brama (Valenciennes 1850)
3) Semaprochilodus kneri (Pellegrin 1909)
4) Semaprochilodus laticeps (Steindachner 1879)
5) Semaprochilodus taeniurus (Valenciennes, 1821)
6) Semaprochilodus varii Castro 1988
การเลี้ยงปลาอินซิกนิส นั้นเราจำเป็นต้องใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่ ตู้ที่เหมาะสมกับปลากลุ่มนี้เมื่อเวลาโตก็ควรจะขนาด 60"x 24"x 24"(150 ซม. x 60 ซม. x 60 ซม. ) 540 ลิตร อุณหภูมิของน้ำประมาณ 73 - 84°F (23 - 29°C) ค่า PH ประมาณ 5.5 - 7.2
สำหรับการตกแต่งตู้ปลาชนิดนี้สามารถตกแต่งได้ค่อนข้างหลากหลาย ถ้าคุณต้องการที่จะให้มันอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ก็ใช้ทรายแม่น้ำปูที่พื้นตู้ เพิ่มเติมด้วยก้อนหินและเศษไม้หรือพวกตอไม้ที่ใช้ปลูกไม้น้ำวางเข้าไป สำหรับผู้ที่เลี้ยงไม้น้ำไว้ในตู้ปลาพวกนี้อาจจะต้องทำใจหน่อยหากว่าต้นไม้ของคุณจะกลายเป็นอาหารของอินซิกนิก เพราะปลาพวกนี้เป็นนักกินพืชและตะไคร่น้ำระดับเทพของปลาตู้เหมือนกัน
สำหรับเรื่องการกินอาหาร แม้นเจ้าปลาอินซิกนิส จะเป็นปลาที่กินไม่เลือกหรือจะบอกว่ามันกินได้หลากหลายทั้งพืช อาหารสด และอาหารสำเร็จรูป แต่ก็ขอแนะนำหากคุณเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดควรใช้อาหารประเภทมีส่วนผสมของผักหรือพวกสาหร่ายจะดีกว่า และอาจจะเสริมด้วยอาหารสดอย่างหนอนแดงบ้างก็ได้ ควรให้สลับกันเพื่อปลาจะได้รับสารอาหารครบถ้วนและไม่เกิดอาการเบื่ออาหารอินซิกนิสจะเป็นปลาที่ค่อนข้างก้าวร้าวกับปลาพวกเดียวกัน ดังนั้นหากต้องการเลี้ยงอินซิกนิส หลายๆตัวในตู้เดียวกันควรใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่ และสำหรับเพื่อนร่วมตู้ที่อยู่กับเจ้าปลาตัวนี้ก็ควรเป็นปลาใหญ่สักหน่อยอย่างเช่น อะโรวาน่า หรืออาจจะเลือกปลากลุ่มกระเบนน้ำจืด ปลาตระกลู knifefish เช่นปลากราย ปลาผีดำหรือแบล็คโกสท์ รวมถึง peaceful cichlids หรือปลาหมอสีที่รักสงบ
สำหรับการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ผมยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนนัก เพราะโดยธรรมชาติปลาชนิดนี้จะเดินทางย้ายถิ่นปีละสองครั้ง เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝนและอาจจะอพยพอีกครั้งหลังจากนั้นราว 3-4 เดือน เพื่อมายังแหล่งอาหาร ระหว่างการเดินทางเพื่อไปวางไข่ปลาพวกนี้อาจจะว่ายน้ำไปไกลหลายร้อยกิโลเมตรและในบางครั้งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและสีสันได้เหมือนเช่นปลาแซลมอน
สำหรับปลา Semaprochilodus จัดเป็นปลาฝูง( shoal )ส่วนใหญ่สามัญและพบแพร่หลายในทวีปอเมริกาใต้ แต่ส่วนใหญ่คนพื้นเมืองถือว่าพวกนี้เป็นปลาเนื้อ นั่นคือพวกมันโดนเอาไปทำเป็นอาหารซะมากกว่าที่จะเอามาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
เอาล่ะครับคิดว่าน่าจะพอเพียงและเป็นประโยชน์บ้างสำหรับคนที่สนใจและอยากรู้เรื่องปลา อินซิกนีส ปลาที่มีฉายาเยอะจริงๆ