ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรคของปลาสวยงาม จุดขาว

โรคจุดขาว เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับปลาสวยงามของคุณง่าย เรามารู้จักกันดีกว่า เกิดจากปรสิตชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Ichthyophthirius multifiliis ปรสิตชนิดนี้อยู่ในกลุ่ม ciliated protozoan คือมีขนรอบๆเซลล์ของมัน เราจะเรียกชื่อโรคที่เกิดจากเชื้อตัวนี้สั้นๆ ง่ายๆว่า อิ๊ค (Ich, Ick) หรือ โรคจุดขาว (white spot disease) นั่นเองครับ เชื้ออิ๊คนี่ มีขนาดประมาณ 0.5-1 มม. เลยทีเดียว ซึ่งเป็นขนาดที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าชัดเจนครับ ซึ่งระยะดังกล่าวที่มองเห็นได้นี่ เป็นระยะโตเต็มวัยของเชื้ออิ๊ค ซึ่งจะพบอยู่บนร่างกายของปลาแทบทุกส่วนเลยครับ เมื่อเราส่องกล้องดูเชื้ออิ๊ค ลักษณะเด่นที่จะระบุตัวเชื้อได้ ก็คือ เชื้อมีลักษณะกลม มีขนขนาดเล็กรอบๆเซลล์ และมีนิวเคลียส โค้งงอเป็นรูปเกือกม้า


 ระยะของเชื้อมีอยู่ 3 ระยะ 

1.เชื้ออิ๊คในระยะโตเต็มวัยเราเรียกว่า Trophont นี้จะแทรกเข้าไปอาศัยอยู่ในระหว่างชั้นเนื้อเยื่อของปลาเคราะห์ร้ายทั้งในบริเวณผิวหนัง ครีบ เหงือก ดวงตา ฯลฯ จนโตเต็มที่ ระยะเวลาที่เชื้ออิ๊คจะเกาะอยู่บนตัวปลา กินเวลาตั้งแต่ 4-40 วัน ทั้งนี้ขึ้นกับอุณหภูมิน้ำ ยิ่งอุณหภูมิน้ำสูง มีแนวโน้มว่า เชื้อจะเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น และมีอายุสั้นลง

2.ช่วงต่อมาเซลล์ดังกล่าวจะหลุดออกมา เราเรียกระยะนี้ว่า Tomont ตกลงสู่พื้นตู้ ระหว่างนั้น จะสร้างลูกหลานขึ้นมามากมายหลายร้อยเซลล์ เป็นเซลล์เล็กๆอยู่ในตัวเซลล์แม่ซึ่งมีลักษณะเป็น Cyst โดยจะสร้างเมือกขึ้นมาเป็นกำแพงหุ้มเซลล์หนามาก เป็นระยะที่เซลล์มีความทนทานต่อสารเคมีและสิ่งแวดล้อมสูงมาก และซีสต์จะแตกออกเมื่อเซลล์แม่แก่เต็มที่ 

3.เซลล์ลูกที่เกิดมาเราเรียกว่า Tomite (theronts) นั้น ก็จะว่ายน้ำได้อย่างอิสระ (free swimming) และต้องหาปลาเกาะให้ได้ภายใน 48 ชั่วโมงเพื่อจะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย หรือ Trophont ต่อไป (ที่อุณหภูมิน้ำประมาณ 75-79 องศาฟาเรนไฮด์) ไม่งั้น เซลล์ลูกดังกล่าวก็จะตายไป อายุของเซลล์ลูกที่ว่ายน้ำได้โดยอิสระนี่ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิน้ำ โดยมีแนวโน้มว่า ยิ่งอุณหภูมิสูงขึ้น เชื้อก็จะมีอายุสั้นลง ตัวอ่อนของเชื้อในระยะนี้ เป็นระยะที่อ่อนแอที่สุด และเป็นระยะเป้าหมายในการใช้ยาและสารเคมีต่างๆในการทำลายเชื้อครับ


อาการของโรค 

เชื้ออิ๊คนั้น เมื่อโตเต็มวัยจะเข้าเจาะทำลายเนื้อเยื่อปลาโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังในทุกส่วน ครีบ ดวงตา และซี่เหงือก ดังนั้น อาการที่ปลาจะแสดงออกมาก็คือ การหายใจหอบ ถี่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน หรือ แสดงอาการลอยหัว ขึ้นมาหายใจเหนือผิวน้ำ เนื่องจากเหงือกถูกทำลายไป ทำให้มีพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนก๊าซน้อยลง ผลคือทำให้ปลาต้องหายใจถี่ขึ้นและต้องการอากาศมากขึ้นนั่นเอง ปลาจะมีอาการซึม สีซีด ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง ไม่สนใจอาหาร ไม่กระตือรือร้นในแบบที่เคยเป็น ปลาจะแสดงอาการว่ายน้ำสั่นๆ สะบัดๆ ชอบเอาตัวถูกับพื้นตู้ หรือวัสดุต่างๆภายในตู้บ่อยผิดสังเกตุ เนื่องจากพยายามขจัดอิ๊คให้หลุดออกไปนั่นเอง เมื่อปลามีอาการหนักขึ้น เชื้อเจริญมากขึ้น เราจะสามารถมองเห็นเป็นจุดขาวๆ คล้ายผงแป้ง กระจายอยู่ทั่วตัวได้อย่างชัดเจน อาการจะมากจะน้อย ชัดเจน ไม่ชัดเจน ขึ้นกับระยะและความรุนแรงของโรค และความแข็งแรงของปลาแต่ละตัวครับ ปลาอาจจะแสดงอาการของจุดขาวชัดเจน คือมีจุดขาวขึ้นเต็มตัว แต่ยังกินอาหารปกติอยู่ก็ได้ หรือปลาอาจแค่ซึมๆ ไม่กินอาหาร แต่ไม่สามารถมองเห็นจุดขาวเลยสักจุดก็เป็นได้ครับ ดังนั้น การวินัจฉัยโรค ต้องดูหลายๆอาการประกอบกัน ตลอดจนดูสภาพแวดล้อมให้ออกด้วย ยิ่งรักษาได้ทันท่วงที ก็ยิ่งมีโอกาสหายได้ง่ายขึ้นครับ ในปลาที่เป็นอิ๊คนานๆ อาการหนักๆ แต่ยังไม่ตาย มักจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเกิดขึ้นครับ เพราะว่า แผลที่อิ๊คเข้าเจาะทำลายนั้น ง่ายต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในน้ำทั่วไป โดยจะมีอาการบวมแดง เป็นจ้ำเลือดตามตัว มีอาการเปื่อยยุ่ย ของครีบ และปลาจะขับเมือกออกมามากผิดปกติอย่างเห็นได้ชัดครับ



วิธีป้องกัน 

โรคจุดขาวนั้น เป็นโรคที่ป้องกันยากครับ เนื่องจากเชื้อจะพบอยู่แทบทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นในน้ำ อาหาร ปลาเหยื่อ ตะกอน ชั้นหิน ระบบกรอง หรือแม้แต่ในปลาที่แสดงอาการปกติก็ตาม เรียกได้ว่า ยังไงนักเลี้ยงปลาทุกคนต้องได้เจอกับมันแน่นอนครับ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราจะพอทำได้ ในการป้องกันก็คือ การหลีกเลี่ยงอาหารสดโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะในฤดูแบบนี้ครับ เลี่ยงได้เลี่ยงไปเลยจะดีกว่า หรือถ้ารักปลามาก กลัวปลาไม่ชอบอาหารเม็ด ก็ควรทำความสะอาดอาหารสด ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นหนอนแดงแช่แข็งก็ตาม ด้วยการล้างด้วยน้ำด่างทับทิม ประมาณ 60 ppm ครับ หรือจะแช่ไว้สัก 10 นาทีก็ได้ แล้วล้างน้ำเปล่าหลายๆรอบก่อนให้ปลากิน นอกจากนั้น โรคนี้ยังติดต่อไปยังตู้อื่นๆได้ง่ายมาก เพียงแค่น้ำหยดเดียว ก็มีตัวอ่อนของอิ๊คมากมายครับ ดังนั้น ระวังเรื่อง กระชอน หรือวัสดุุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะนำพาน้ำไปยังตู้อื่นๆด้วยนะครับ อีกทั้งควรหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำ ดูดตะกอน และสิ่งหมักหมม ทำความสะอาดใยแก้ว และหินปูพื้นบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ เพื่อกำจัด ซีสต์ของอิ๊คนั่นเอง เลี้ยงปลาให้สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ที่สุดครับ ปลาจะไม่แสดงอาการแม้มีเชื้อก็ตาม การป้องกันที่ได้ผลมากอีกอย่างหนึ่ง คือ การติดฮีตเตอร์ครับ โดยตั้งไว้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสตลอดเวลา จะช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องอุณหภูมิแกว่งได้เป็นอย่างดี อีกทั้งทำให้เชื้ออ่อนแอลงด้วยครับ การป้องกันนั้น ควรทำหลายๆวิธีควบคู่กันเท่าที่จะทำได้นะครับ ป้องกันก็แล้ว ยังจะเป็นอีกก็ต้องรักษากันแหละครับ ในการรักษา มีหลายวิธีด้วยกัน บางครั้ง บางวิธี อาจเหมาะสมกับในบางสถานการณ์ บางครั้ง ต้องใช้หลายๆวิธีร่วมกัน ฯลฯ การตัดสินใจ ขึ้นอยู่กับปัญหาเฉพาะหน้าที่คุณเจอครับ ไม่มีวิธีไหนดีที่สุดครับ ดังที่ผมพยายามย้ำอยู่บ่อยๆนั่นเอง ถ้าปลายังกินอาหารอยู่ก็ให้แต่พอดีนะครับ ปลาจะได้ไม่โทรม และไม่มีอาหารตกค้างครับ



วิธีการรักษา 

1. การเพิ่มอุณหภูมิน้ำ
โดยใช้ฮีตเตอร์นั่นเองครับ 1 วัตต์ ต่อน้ำ 1 ลิตร เป็นอัตราส่วนกำลังไฟที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมอุณหภูมิน้ำในตู้ เราต้องทำให้น้ำเลี้ยงปลา มีอุณหภูมิประมาณ 30 องศาเซลเซียสให้ได้ครับ แต่อย่าให้เกิน 32 องศาเซลเซียสนะครับ อุณหภูมิในระดับนี้ จะทำให้เชื้ออ่อนแอลง มีอายุสั้นลง และเป็นการเร่งให้เชื้อเข้าสู่ระยะ Tomite ซึ่งเป็นระยะที่อ่อนแอที่สุดได้เร็วยิ่งขึ้นอีกด้วยครับ

2. การเปลี่ยนถ่ายน้ำและการทำความสะอาดตู้
การเปลี่ยนถ่ายน้ำนั้น จำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาโรคอิ๊ค เนื่องจาก เชื้ออิ๊ค ในระยะ Tomite นั้น จะว่ายน้ำได้อย่างอิสระ และมีจำนวนมากมาย การเปลี่ยนถ่ายน้ำจึงเป็นการกำจัดตัวอ่อน ดังกล่าวออกไปจากตู้เราได้โดยตรง อีกทั้งยังเป็นการกำจัดของเสียในตู้ กำจัดยาที่หมดอายุ ทำให้ปลาแข็งแรงสดชื่นขึ้นได้อีกด้วยครับ การเปลี่ยนถ่ายน้ำ ควรทำทุกวัน วันละ 50 เปอร์เซ็นต์ น้ำที่นำมาเปลี่ยนควรปราศจากคลอรีน และมีคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำเก่าครับ แต่ไม่ใช่ เน่าเหมือนกันนะ นอกจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำแล้วการทำความสะอาดกรวดปูพื้น หรือ ระบบกรอง ก็จำเป็นอย่างยิ่งนะครับ เพราะว่า เชื้ออิ๊ค ในระยะ Tomont จะตกลงสู่ก้นตู้ และจะสร้างซีสต์ขึ้น และจะอาศัยอยู่ในชั้นหินกรวดนี่แหละครับ มากมายหลายหมื่นเซลล์ ดังนั้น เราจะเก็บมันไว้ทำไมล่ะ เอาออกไป ทางที่ดี ไม่ควรปูหินด้วยซ้ำไปครับเวลาปลาป่วย หรือ ไม่ก็ย้ายไปในตู้พยาบาลซะเลย เอาตู้โล่งๆนะครับ กรองฟองน้ำสักอันจะดีมากๆเลยล่ะ

 3. การใช้ยาและสารเคมี

มาลาไคท์กรีน และ ฟอร์มาลีน 
สารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรคจุดขาวได้ดีที่สุด ก็คือ การใช้มาลาไคท์กรีน ร่วมกับฟอร์มาลีน นี่แหละครับ โดยเราจะใช้มาลาไคท์กรีนในอัตราส่วน 0.1 ppm ร่วมกับ ฟอร์มาลีน 25 ppm โดยใช้การแช่ยา ร่วมกับการเปลี่ยนน้ำทุกวัน ครั้งละ 50 เปอร์เซนต์และใส่ยาเพิ่ม ให้ได้ความเข้มข้นเท่าเดิม จะได้ผลในการรักษาดียิ่งขึ้นครับ
ยาที่มีขายในท้องตลาดและใช้ได้ผลดี ก็คือ ยาซุปเปอร์อิ๊ค ของไวท์เครน และยาเตทตร้าไวท์สปอท ครับ โดยส่วนผสมหลักๆของยาดังกล่าว ก็คือมาลาไคท์กรีน และฟอร์มาลีน ในอัตราส่วนข้างต้นนั่นเอง แต่ผมจะแนะนำให้ใช้ของเตทตร้าจะดีกว่าเนื่องจาก เตทตร้า จะใช้ มาลาไคท์กรีนที่มีความเป็นพิษต่ำ เนื่องจากมีโลหะหนัก จำพวกสังกะสีปนอยู่น้อยกว่า มาลาไคท์กรีนเกรดต่ำ ราคาถูกนั่นเอง ส่วน พวกยา มาลากรีน F , ไบโอน๊อก หรือ ยี่ห้ออื่นๆ มักใช้ไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากผสมตัวยาหลายหลายเกินจำเป็น อีกทั้งใช้สารเคมีที่มีคุณภาพ และความบริสุทธิ์ต่ำอีกด้วย การใช้ยา มาลาไคท์กรีน หรือฟอร์มาลีน ตัวใดตัวหนึ่ง ในการรักษาโรคอิ๊คจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรครับ ไม่แนะนำ แต่ในการแช่ระยะสั้นนั้น เราอาจใช้ฟอร์มาลีนในความเข้มข้นถึง 250 ppm หรือ มาลาไคท์กรีน 1 ppm ในการแช่ปลาระยะสั้นประมาณ 30 นาที โดยให้อากาศเต็มที่ก็อาจช่วยได้ แต่เมื่อจำเป็น ข้อควรระวังในการใช้ยามาลาไคท์กรีน และ ยาที่มีส่วนผสมของมาลาไคท์กรีน คือ อย่าให้โดนส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเรานะครับ เพราะเป็นสารก่อมะเร็ง อีกทั้ง ยังเป็นพิษต่อปลาหลายๆชนิดอีกด้วย เช่น ปลากลุ่มแคทฟิช ปลาหมู (Loach) ปลาหนังต่างๆ ปลาเสือตอ อโรวาน่า จะแพ้ยามาลาไคท์กรีนค่อนข้างมากครับ กล่าวคือ จะทนความเข้มข้นของมาลาไคท์กรีนได้ต่ำกว่าปลาอื่นๆ นั่นเอง ดังนั้น การใช้ยาในกลุ่มปลาเหล่านี้ ขอให้ใช้มาลาไคท์กรีนที่มีความบริสุทธิ์สูง และลดความเข้มข้นลงครึ่งหนึ่ง หรือว่าแช่ในระยะสั้นลงก็จะดีครับ 

คอปเปอร์ซัลเฟต 
คอปเปอร์ซัลเฟต นั้น ก็เป็นสารเคมีอีกตัวนึง ที่พอจะกำจัดเชื้ออิ๊คได้ครับ โดยใช้ความเข้มข้นที่ 100 ppm คอปเปอร์ซัลเฟตนั้นจะมีพิษน้อยกว่า มาลาไคท์กรีน และฟอร์มาลีน อีกทั้งยังช่วยในการดรอปแพลงก์ตอนพืชได้อีกด้วย การใช้คอปเปอร์ซัลเฟต ส่วนใหญ่ เราจะใช้ในกรณีที่มีปลาเป็นจำนวนมากๆ อยู่ในบ่อปูน หรือ บ่อดิน การใช้คอปเปอร์ซัลเฟตนั้น มีข้อควรระวังอยู่อย่างหนึ่งก็คือ ไม่ควรใช้ในน้ำที่มีค่า อัลคาไลน์ต่ำกว่า 50 ppm นะครับ เพราะว่าคอปเปอร์ซัลเฟต จะมีความเป็นพิษสูงขึ้น เมื่อน้ำมีค่าอัลคาไลน์ต่ำลงครับ เราจะใช้ คอปเปอร์ซัลเฟตร่วมกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำเช่นเดียวกับ การใช้มาลาไคท์กรีน และฟอร์มาลีนครับ

ด่างทับทิม 
ด่างทับทิมนั้น จะมีความเป็นพิษต่ำกว่า คอปเปอร์ซัลเฟตมากครับ เราคงทราบดีว่า ด่างทับทิมนั้นใช้ล้างทำความสะอาดอาหารที่เรารับประทานได้ นอกจากนั้นแล้ว ด่างทับทิม ยังจะช่วยเพิ่ม ออกซิเจนให้กับน้ำได้อีกด้วย การใช้ด่างทับทิมในการรักษาอิ๊คนั้น เราจะใช้ความเข้มข้นประมาณ 2-6 ppm ด่างทับทิมนั้น เมื่อละลายน้ำจะได้สีม่วง และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในเวลา 8-10 ชั่วโมง หรือน้อยกว่านั้น ขึ้นกับปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำ เราใช้ด่างทับทิมร่วมกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำเช่นเคยครับ

เกลือ 
เกลือทุกคนคงรู้จักดีครับ แนะนำให้ใช้เกลือเม็ดที่มีขายทั่วไป ไม่ควรใช้เกลือสำหรับปลาทะเล หรือเกลือที่มีสารฟอกขาว หรือ ผสมไอโอดีน เพราะไม่จำเป็นต่อปลาน้ำจืดครับ เกลือจะช่วยในขบวนการแลกเปลี่ยนไอออนของปลา ทำให้ปลาสดชื่นแข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังทำให้ปลาขับเมือกออกมาต่อต้านการเกาะของอิ๊คได้ดียิ่งขึ้นด้วยครับ

ยาปฏิชีวนะ 
ยาปฏิชีวนะนั้น ไม่สามารถฆ่าเชื้ออิ๊คได้ครับ แต่เราจะใช้ก็ต่อเมื่อ เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน จากการเจาะทำลายของเชื้ออิ๊ค หรือใช้เพื่อป้องกันการติดแบคทีเรียแทรกซ้อน ยาที่นิยมใช้ก็ได้แก่ ออกซีเตทตร้าซัยคลิน เตทตร้าซัยคลิน คลอแรมเฟนิคอล กานามัยซิน แอมม๊อกซี่ซิลิน พวกนี้ ใช้ในความเข้มข้น 20-35 ppm แล้วแต่ความรุนแรงของอาการครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปกรณ์ที่จำเป็น ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม

อุปกรณ์ที่จำเป็น  ต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม การเลี้ยงปลาตู้นั้น        มีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อย่างมาก  อีกทั้งในปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ ในการเลี้ยงปลาตู้ให้เลือกหลากชนิด  ดังนั้นเราจึงควรไตร่ตรองและคิดให้ดีว่าอุปกรณ์ชิ้นใดจำเป็น  หรือไม่ต่อการเลี้ยงปลาตู้  การใส่อุปกรณ์หรือสิ่งประดับมากมายลงในตู้นั้นนับว่าเป็นอันตรายต่อปลาอย่างยิ่ง  เพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรเน้นถึงความสวยงามในเรื่องของการประดับตู้ปลามากกว่าการมีชีวิตอยู่ของปลา  อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงควรพิจารณาก็คือ  การดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ  ให้มีประสิทธิภาพ  และ  มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน  ทั้งนี้ก็เพื่อดำรงชีวิตอยู่ของปลาที่น่ารักของเรานั่นเอง       1.  ตู้ปลา     ก่อนที่เราจะเลือกซื้อตู้ปลานั้น  เราต้องคำนึงถึงชนิดและขนาดของปลาที่จะเลี้ยงว่ามีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใด  ถ้าจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดจะเลี้ยงปลากัดหรือปลาเงินปลาทอง  ก็สามารถเลือกตู้ที่มีขนาดเล็กได้  แต่ถ้าจะเลือกเลี้ยงปลาที่มีลำตัวยาวอย่างเช่นปลาอะโรวาน่าต้องใช้ตู้ที่มีขนาดใหญ่เพื่อให้ปลาว่ายน้ำได้สะดวก      เมื่อซื้อตู้ปลาตามขนา

ปลาอินทรีเน็ต

อินซิกนิส ตะเพียนหางสวยจากลุ่มน้ำอะเมซอน เมื่อวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา หลายคนคงจะไปเที่ยวต่างจังหวัด จูงมือลูกๆหลานๆหรือบางคนอาจจะเกี่ยวก้อยคนรู้ใจเดินเล่นรับลมหนาวอยู่บนยอดดอย นอนดูดาวแล้วนับถอยหลังเริ่มต้นปีใหม่กันกระหนุงกระหนิง คิดแล้วผมก็อดที่จะอิจฉาไม่ได้ เพราะไม่มีโอกาสได้ทำแบบที่กล่าวมาเลยสักอย่าง วันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมาผมทำตัวเป็นกบจำศีลอยู่กับบ้านไม่อยากออกไปไหน ใครมาชวนก็ไม่ไป ไม่อยากจะบอกว่าเงินไม่มี(ฮา) แต่ก็ใช่ผมจะไม่หาที่เที่ยวเอาเลยในช่วงวันหยุดยาวๆแบบนี้ เพราะผมไปเดินเล่นที่ตลาดธนบุรีหรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า “สนามหลวง2” ไปในครั้งนี้ผมเองก็ได้ปลาติดไม้ติดมือกลับมาบ้านหลายตัวอยู่เหมือนกัน รวมถึงตู้ปลาอีกหนึ่งชุด เดินเล่นไปเรื่อยๆสบายๆเพราะว่าวันหยุดยาวๆแบบนี้ร้านค้าส่วนใหญ่จะปิดและคนมาเดินก็น้อย ไม่เบียดเสียดนี่ล่ะสวรรค์ของผม ผมเดินมาหยุดอยู่ที่ร้านขายปลาร้านหนึ่ง และกำลังเลือกซื้อปลาหมอสีตัวน้อยๆและปลาหมูลายเฆมและหมูอินโด ขณะนั้นเองหูผมก็ได้ยินเสียงลูกค้าท่านหนึ่งที่มากับภรรยาและทารกน้อย(ทารกน้อยจริงๆเพราะอายุไม่น่าจะเกินสามเดือน

ปลาสวยงาม ที่น่าเลี้ยง

ปลาสวยงาม  ที่น่าเลี้ยง  ปลาที่มีลำตัวยาวไม่เกิน  5  เซนติเมตร ปลานีออนดำ  (BLACK  NEON  TETRA)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  3  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวสีน้ำตาล  บริเวณข้างลำตัวมีแถบลายสีขาวเรืองแสง  และมีพื้นดำคาดตามลำตัวจากใต้แผ่นเหงือกยาวจรดโคนหาง  ขอบตาด้านบนสีแดง           -  ปลาตัวผู้จะมีขนาดเล็กและเพรียวกว่าตัวเมีย  และมีสีสันสดใสกว่า           -  นีออนดำเป็นปลารักสงบ  ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง  ตื่นตกใจง่าย           -  ควรเลี้ยงรวมเป็นฝูงใหญ่  หรืออาจเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันเพื่อจะได้ไม่ถูกปลาอื่นทำร้าย ชอบอยู่ในน้ำที่ใสสะอาด  และมีพุ่มไม้น้ำหรือสาหร่ายให้แหวกว่าย           -  ชอบกินอาหารสดมากกว่าอาหารสำเร็จรูป  แต่อาหารสำเร็จรูปก็ใช้เลี้ยงได้เช่นกัน           -  ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่  วางไข่ครั้งละประมาณ  200  ฟอง  ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ  1  วัน           ปลาหางนกยูง  (MILLIONS  FISH)           -  มีลำตัวยาวประมาณ  4-6  เซนติเมตร           -  ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง  พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลอม

ปลารัมมี่โนส

รัมมี่โนส คนที่ตั้งชื่อปลาตัวเล็กๆหน้าตาคล้ายปลาซิวชนิดนี้ว่า “รัมมี่โนส เตตร้า” หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า “รัมมี่โนส” นั้น นอกจากจะช่างคิดแล้ว ยังต้องเป็นคนรวยอารมณ์ขันแน่ๆ ทำไมน่ะหรือ? หากมองเผินๆ ปลาอย่างรัมมี่โนสดูเป็นปลาที่ไม่มีอะไรน่าสนใจ ยิ่งถ้าใครได้เห็นตอนที่เพิ่งใส่พวกมันลงไปในตู้ใหม่ๆคงต้องส่ายหัวกันทุกราย เพราะนอกจากจะไร้สีสันจนถึงขั้นจืดสนิทแล้ว ยังไม่มีจุดเด่นเอาเสียเลย แต่ถ้าลองปล่อยให้พวกมันใช้เวลาปรับตัวในตู้อีกสักหน่อย คนที่เคยเห็นในตอนแรกอาจต้องร้องด้วยความประหลาดใจว่า นี่หรือคือปลาที่ฉันเคยเห็น เพราะนอกจากส่วนหน้าที่แดงเด่นขึ้นมาผิดหูผิดตาเป็นสีเชอร์รี่สดแล้ว หางยังมีลายสีขาวสลับดำให้ดูเก๋ไก๋ไปอีกแบบ ยิ่งถ้าได้อยู่ในตู้ที่เต็มไปด้วยพรรณไม้น้ำสีเขียวชอุ่ม สีของปลาชนิดนี้ก็จะยิ่งตัดกันมากขึ้นอีกหลายเท่า ทำให้คนที่นิยมเลี้ยงพรรณไม้น้ำทั้งหลายต่างนิยมนำปลาชนิดนี้ไปเลี้ยงเพื่อเพิ่มสีสันให้กับตู้ไม้น้ำใบงามของตน ถึงแม้ปลาชนิดนี้จะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแม่น้ำเนโกรและเมตา ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของมหานทีอย่างอะเมซอนที่เข้าถึงได้ยาก แต่ปลาจำนวนมากก็ถูกรวบรวมจากธรรมชาต